โครงสร้างของหัวใจ

รูปภาพของ msw8385



 หัวใจ

หัวใจ (Heart) ในกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะสำหรับการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในหัวใจซึ่งสร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ

หัวใจวางตัวอยู่ในบริเวณส่วนกลางของช่องอก ในบริเวณที่เรียกว่า เมดิแอสไตนัมส่วนกลาง (middle
mediastinum) ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกขนาบข้างด้วย
ปอด และมีหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดอาหารวางอยู่ใต้หัวใจ
นอกจากนี้หัวใจยังถูกห่อหุ้มโดยเยื่อบางๆ เรียกว่า
เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างการเต้นของหัวใจ
นอกจากนี้หัวใจยังมีระบบหลอดเลือดเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า
ระบบหลอดเลือดหัวใจ (coronary system) ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง

ในศัพท์ทางการแพทย์
หัวใจและโครงสร้างที่เกี่ยวกับหัวใจจะใช้คำ
Cardio- มาจาก kardia
ซึ่งหมายถึงหัวใจใน
ภาษากรีก

โครงสร้างและพื้นผิวของหัวใจ

สำหรับในร่างกายมนุษย์
หัวใจจะวางตัวอยู่ใน
ช่องอกและ เยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย
ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ หัวใจจะมีน้ำหนักประมาณ
250-350 กรัม
และมีขนาดประมาณสามในสี่ของกำปั้น แต่ในกรณีของผู้ป่วย
โรคหัวใจโต (cardiac hypertrophy) น้ำหนักของหัวใจอาจมากถึง
1000 กรัม หัวใจคนเรานั้นมี4ห้องคือ2ห้องบนและ2ห้องล่าง

บนพื้นผิวของหัวใจจะมีร่องหัวใจ (cardiac grooves) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางตัวของหลอดเลือดหัวใจ ร่องหัวใจที่สำคัญได้แก่

  • ร่องโคโรนารี่ (Coronary grooves) หรือร่องเอตริโอเวนตริคิวลาร์ (atrioventricular groove) เป็นร่องที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบน
    (
    atria) และหัวใจห้องล่าง
    (
    ventricle) ร่องนี้จะเป็นที่วางตัวของแอ่งเลือดโคโรนารี่ (coronary sinus) ทางพื้นผิวด้านหลังของหัวใจ
  • ร่องอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ด้านหน้า (Anterior interventricular groove) เป็นร่องที่แบ่งระหว่างหัวใจห้องซ้ายและหัวใจห้องขวาทางด้านหน้า
    และจะมีแขนงใหญ่ของ
    หลอดเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย (left coronary artery) วางอยู่
  • ร่องอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ด้านหลัง (Posterior
    interventricular groove)
    เป็นร่องที่แบ่งหัวใจระหว่างห้องซ้ายและห้องขวาทางด้านหลัง
    ส่วนใหญ่จะพบว่ามีแขนงของ
    หลอดเลือดแดงโคโรนารี่ด้านขวา (right coronary artery) วางอยู่ ผนังหัวใจ

ผนังของหัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น
ได้แก่

  • ผนังหัวใจชั้นนอก (Epicardium) เป็นชั้นที่ติดต่อกับเยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน (Visceral layer of pericardium) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรง
  • ผนังหัวใจชั้นกลาง (Myocardium) เป็นชั้นที่มีความหนามากที่สุด
    และประกอบด้วย
    กล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด
  • ผนังหัวใจชั้นใน (Endocardium) เป็นชั้นบางๆที่เจริญมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด 

 ห้องหัวใจ

โครงสร้างภายในของหัวใจห้องขวา

โครงสร้างภายในของหัวใจห้องซ้าย

หัวใจจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ห้อง (heart chambers) และทิศทางการไหลของเลือดเข้าสู่แต่ละห้องจะถูกควบคุมโดยลิ้นหัวใจ (cardiac valves) ทำให้เลือดไม่ไหลย้อนเมื่อมีการบีบตัวและคลายตัว
ในที่นี้จะกล่าวถึงห้องของหัวใจตามลำดับของการไหลของเลือดภายในหัวใจ

หัวใจห้องบนขวา
(
Right
atrium)

หัวใจห้องบนขวามีหน้าที่รับเลือดที่มาจากหลอดเลือดดำใหญ่ซุพีเรียเวนาคาวา (superior vena cava) ซึ่งรับเลือดมาจากร่างกายส่วนบน
และ
หลอดเลือดดำใหญ่อินฟีเรียร์เวนาคาวา (Inferior vena cava)รับเลือดมาจากร่างกายช่วงล่าง
ผนังของหัวใจห้องนี้ค่อนข้างบาง โดยเฉพาะทางด้านที่ติดกับหัวใจห้องบนซ้าย จะมีรอยบุ๋มที่เรียกว่า
ฟอซซา โอวาเล
(Fossa ovale) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนทั้งสองห้องระหว่างที่อยู่ใน
ครรภ์ โดยปกติจะไม่มีช่องเปิดใดๆ แต่ในกรณีที่รอยบุ๋มดังกล่าวนี้ยังคงเหลือช่องเปิดอยู่
อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจผิดปกติได้ เลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา
ผ่านทาง
ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve)

หัวใจห้องล่างขวา
(
Right
ventricle)

หัวใจห้องล่างขวาจะอยู่ทางด้านหน้าสุดของหัวใจ
และพื้นผิวทางด้านหลังของหัวใจห้องนี้จะติดกับ
กะบังลม หัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา
แล้วส่งออกไปยัง
ปอด ผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี่เซมิลูนาร์ (pulmonary semilunar valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี
(pulmonary arteries) ที่ผนังของหัวใจห้องที่จะมีแนวของกล้ามเนื้อหัวใจที่สานต่อกัน
และมีเอ็นเล็กๆที่ควบคุมลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ซึ่งเรียกว่า คอร์ดี เทนดินี่

(chordae tendinae) ซึ่งทำหน้าที่ยึดลิ้นหัวใจไตรคัสปิดไม่ให้ตลบขึ้นไปทางหัวใจห้องบนขวา
ระหว่างการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง ดังนั้นจึงป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

หัวใจห้องบนซ้าย
(
Left
atrium)

หัวใจห้องบนซ้ายมีขนาดเล็กที่สุดในห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง
และวางตัวอยู่ทางด้านหลังสุด โดยหัวใจห้องนี้จะรับเลือดที่ได้รับ
ออกซิเจนจากปอดผ่านทางหลอดเลือดดำพัลโมนารี
(pulmonary veins) และจึงส่งผ่านให้หัวใจห้องล่างซ้ายทางลิ้นไมตรัล (Mitral
valve)

 หัวใจห้องล่างซ้าย
(
Left ventricle)

หัวใจห้องล่างซ้ายจัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุด
ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปยังทั่วทั้งร่างกายผ่านทาง
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic semilunar valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)

 ลิ้นหัวใจ

ภาพตัดตรงของหัวใจ
แสดงผนังของหัวใจและตำแหน่งของลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจเป็นแผ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรงที่ยื่นออกมาจากผนังของหัวใจ
เพื่อควบคุมทิศทางการไหลของเลือดภายในหัวใจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียว
โดยอาศัยความแตกต่างของ
ความดันโลหิตในแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจที่สำคัญได้แก่

  • ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve) มีสามกลีบ (cusps) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา
  • ลิ้นไมตรัล (Mitral valve) มีสองกลีบ
    บางครั้งจึงเรียกว่า
    ลิ้นหัวใจไบคัสปิด (bicuspid valve) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย
  • ลิ้นหัวใจพัลโมนารี่เซมิลูนาร์ (pulmonary semilunar valve) มีสามกลีบ
    อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic semilunar valve) มีสามกลีบ อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ ใกล้ๆกับโคนของลิ้นหัวใจนี้จะมีรูเปิดเล็กๆ ซึ่งเป็นทางเข้าของเลือดที่จะเข้าสู่ระบบหลอดเลือดหัวใจ 

 ระบบนำไฟฟ้าของหัวใจ

ภาพวาดแสดงเอวีโนด
และแนวของบันเดิล ออฟ ฮิส

คุณสมบัติประการหนึ่งที่น่าสนใจของหัวใจ
คือการที่
กล้ามเนื้อหัวใจสามารถ กระตุ้นการทำงานได้ด้วยตัวเอง
โดยอาศัยระบบนำไฟฟ้า (
conduction system) ภายในผนังของหัวใจ โครงสร้างที่สำคัญของระบบนำไฟฟ้าของหัวใจได้แก่

  • ไซโนเอเตรียลโนด (Sinaoatrial node) หรือเอสเอโนด (SA node) เป็นกลุ่มของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่มีการเปลี่ยนรูปไปเป็นเซลล์ของระบบนำ ไฟฟ้า
    โดยอยู่ในผนังของหัวใจห้องบนขวา

    เอสเอโนดทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นในการส่งกระแสไฟฟ้าไปตามกล้ามเนื้อหัวใจ ห้องบน ด้วยความถี่ประมาณ 60-70 ครั้งต่อนาที
  • เอตริโอเวนตริคิวลาร์โนด (Atrioventricular node) หรือเอวีโนด (AV node) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง โดยจะรับกระแสไฟฟ้าที่ส่งมาตามหัวใจห้องบน แล้วจึงนำกระแสไฟฟ้าส่งลงไปยังหัวใจห้องล่างผ่านทางเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ใน ผนังกั้นหัวใจห้องล่างขวาและล่างซ้าย
    ซึ่งเรียกว่า
    บันเดิล ออฟ ฮิส (Bundle of His) และนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจห้องล่างทางเส้นใยปัวคินเจ (Purkinje fiber) นอกจากนี้ในกรณีที่เอสเอโนดไม่สามารถกระตุ้นหัวใจได้
    เอวีโนดจะทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นแทน

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 347 คน กำลังออนไลน์