ประเพณีแห่นก

 

 

ประเพณีชิงเปรตประเพณีกินเจประเพณีแห่นกประเพณีการเดินเต่าประเพณีการแข่งเรือประเพณีการแข่งว่าวประเพณีให้ทานไฟประเพณีการแข่งโพนประเพณีสารทเดือนสิบประเพณีลากพระประเพณีงานเสด็จพระแข่งเรือประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุประเพณีลอยเรือประเพณีเพลงบอก

 

  

 

ผู้จัดทำ 
ภาคเหนือ 
ภาคกลาง 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ภาคใต้ 
ผู้จัดทำ 

 

แห่นก

       แห่นกช่วงเวลา จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริงหรือจัดเพื่อเป็นการแสดงคารวะแสดงความจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือหรือโอกาสต้อนรับแขกเมืองหรือจัดขึ้นเพื่อการประกวดเป็นครั้งคราวความสำคัญเป็นประเพณีพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งได้กระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์พิธีกรรมนกที่ใช้ในประเพณีแห่นก นิยมทำ ๔ ตัว คือ๑. นกกาเมาะซูรอหรือนกการะสุระ ชาวพื้นเมืองเรียก "นกทูนพลู" หรือตามสันนิษฐานคือ "นกการเวก" นั่นเอง ถือว่าเป็นนกสวรรค์ที่สวยงามและชั้นสูง๒. นกกรุดาหรือนกครุฑ นกนี้เชื่อว่ามีอาถรรพ์ ผู้ทำมักเกิดอาเพศเจ็บไข้ได้ป่วย ปัจจุบันจึงไม่นิยมจัดทำเข้าขบวนแห่๓. นกบือเฆามาศหรือนกยูงทอง เป็นนกที่มีหงอนสวยงามมาก๔. นกบุหรงหรือนกสิงห์ มีรูปร่างคล้ายราชสีห์ เมื่อประดิษฐ์นกเสร็จ มีการสวมหัวนก จะจัดเป็นพิธี อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีประกอบด้วย ผ้าเพดานสำหรับขึงหัวนก ๑ ผืน ขนาด ๑ ตารางเมตร ข้าวเหนียวสมางัต ๑ พาน ขนมดอดอย ๑ จาน ข้าสาร (ย้อมสีเหลือง) ๑ จาน แป้ง น้ำหอม กำยาน เทียน ทอง เงิน เงินค่าบูชาครู ๑๒ บาท และใช้ใบอ่อนของมะพร้าว ๒ - ๓ ใบ เครื่องบวงสรวงจะนำไปวางเบื่องงหน้าหัวนก ผู้ประกอบพิธีจุดเทียน เผากำยานแล้วท่องคาถา เป็นอันเสร็จพิธีการจัดขบวนแห่นกประกอบด้วยขบวนต่าง ๆ ดังนี้ขบวนแรก ได้แก่ เครื่องประโคมสำหรับประโคมดนตรี นำหน้าขบวนนก ประกอบด้วย คนเป่าปี่ชวา ๑ คน กลองแจก ๑ คู่ ฆ้องใหญ่ ๑ ใบ ถัดมาเป็นขบวนบุหรงสิรี(บายศรี) ผู้ทูนบายศรีต้องเป็นสตรีที่ได้รับเลือกเฟ้นจากผู้ที่มีเรือนร่างได้สัดส่วน แต่งกายด้วยเสื้อผ้าหลากสีตามประเพณีท้องถิ่น พานบายศรี ใช้พานทองเหลือง ใช้จำนวนคี่ขบวนที่สอง เป็นผู้ดูแลนก แต่งกายนักรบมือถือกริซนำหน้านก ซึ่งจะเลือกจากผู้ชำนาญการร่ายรำซีละ กริซ รำหอกขบวนที่สาม เป็นขบวนนก ๔ ตัว จำนวนคนหามนกแล้วแต่ขนาดและน้ำหนักของนกขบวนที่สี่ เป็นขบวนกริซ ขบวนหอก ผู้ร่วมขบวนแต่งกายอย่างนักรบสมัยโบราณสาระแสดงถึงความสามัคคี ความพร้อมเพรียง และเป็นการอนุรักษ์สืบทอดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นต่อไป

จัดทำโดย

นางสาววิยะดา แก้วประเสริฐศรี นางสาวกิ่งดาว แก้วนารี นางสาววิมลนุช กิตติดำรงชัย

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

Copyright(c) 2006 Ms.Wiyada Kaewprasertsri Ms.Kingdao Kaewnaree Ms.Wimonnuch Kittidumrongchai. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com