ประเพณีผูกเสี่ยว

 

 

ประเพณีแข่งเรือยาวประเพณีแต่งงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเพณีแสกต้นสากประเพณีแห่เทียนพรรษาประเพณีแห่ปราสาทผึ้งประเพณีไหลเรือไฟประเพณีกินดองประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประเพณีบุญบั้งไฟประเพณีบุญผะเหวดประเพณีขึ้นบ้านใหม่ประเพณีผีตาโขนประเพณีผูกเสี่ยวประเพณีฮีตสิบสอง  คองสิบสี่ประเพณีแต่งแก้

 

 

 

ผู้จัดทำ 
ภาคเหนือ 
ภาคกลาง 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ภาคใต้ 
ผู้จัดทำ 

 

ผูกเสี่ยว

     เนื่องจากคนอีสานมีการคบกันอยู่สองระดับ คือ คบกันเป็นเพื่อนฝูงระดับธรรมดาทั่วไป เรียกว่า "เป็นหมู่กัน" และถ้าคบกันในระดับที่สนิทแนบแน่นเป็นพิเศษ มีความรักผูกพันจนถึงขั้นพึ่งพาอาศัยและตายแทนกันได้ เรียกว่า "เป็นเสี่ยวกัน" การได้เป็นเสี่ยวกันนั้น ต้องผ่านขั้นตอนและพิธีผูกเสี่ยวก่อนจึงจะถือว่า "เป็นเสี่ยวแท้" อนึ่งการเป็นเสี่ยวกันนั้น เป็นได้ทั้งชายและหญิง เกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกันได้มีคำผะหยาบทหนึ่งกล่าวไว้ให้รู้ถึงสภาพการผูกมิตร และขยายมิตรภาพให้เป็นวงกว้างขวางออกไปของคนอีสานว่า "บ่มีผมให้ตื่มซ้อง บ่มีพี่น้องให้ตื่มเสี่ยวสหาย" แปลว่า ถ้ามีผมน้อยให้หาผมปลอมมาเสริม และถ้ามีพี่น้องจำนวนน้อยต้องผูกเสี่ยวหาสหายไว้เพิ่ม ด้วยเหตุนี้ การผูกเสี่ยว จึงเป็นการเสริมขยายมิตรภาพให้กว้างขวางออกไปของคนในสังคม ยิ่งมีคู่เสี่ยวมากเท่าใดยิ่งทำให้ประชาชนในสังคมนั้นเกิดความรัก ความผูกพันและความเป็นพี่เป็นน้องกันเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เพราะพ่อแม่ลูกเมียและพี่น้องของเสี่ยวแต่ละคู่จะต้องรักใคร่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เปรียบประหนึ่งเป็นพี่น้องร่วมสายญาติกันทั้งสิ้น

จัดทำโดย

นางสาววิยะดา แก้วประเสริฐศรี นางสาวกิ่งดาว แก้วนารี นางสาววิมลนุช กิตติดำรงชัย

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

Copyright(c) 2006 Ms.Wiyada Kaewprasertsri Ms.Kingdao Kaewnaree Ms.Wimonnuch Kittidumrongchai. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com