หน้า 7

#จังหวัดเชียงราย#

หน้าบ้าน ผู้จัดทำ หน้า1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 หน้า 6 หน้า 7 หน้า 8 หน้า 9 หน้า 10

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพวงแสด

ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาสะลองคำ

คำขวัญประจำจังหวัด: เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างหมายหมายถึงนิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะเคยได้ใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ

ประวัติ :จังหวัดเชียงราย หรือ เมืองเชียงราย เดิมอยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสน มีประวัติการสร้างเมืองเมื่อ พ.ศ. 1600 ต่อมาพ่อขุนเม็งรายยกทัพมาประทับ ที่เมืองกู่เต้า ช้างชัยมงคลของพระองค์เกิดหายไป พระองค์ได้ทรง ออกตามหา ไปจนถึง ดอยจอมทองบริเวณ ริมฝั่งแม่น้ำกก พระองค์ทรงเห็นถึงความอุดม สมบูรณ์ของดินแดนในแถบนี้ จึงได้สร้างเมืองขึ้น และทรงขนานนามว่า เมืองเชียงราย และอพยพผู้คนมาอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้ครับ ต่อมาอาณาจักรล้านนา เสียแก่พม่า เมืองเชียงรายจึงเป็นเมืองขึ้นของพม่าด้วย และต่อมาได้กลับกลายมาขึ้นต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบมาจนทุกวันนี้ครับ

อาณาเขต:ทิศเหนือ ติดต่อกับ พม่า ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพะเยา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันอออก ติดต่อกับ ลาว จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 785 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11,678.4 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง และมีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำกก และแม่น้ำอิง อากาศในจังหวัดเชียงรายจะค่อนข้างอบอุ่น แต่ในฤดูหนาวจะหนาวจัด จังหวัดเชียงรายแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ และ 4 กิ่งอำเภอ คือ 1.อำเภอเมือง 2.อำเภอเชียงของ 3.อำเภอเทิง 4.อำเภอพาน 5.อำเภอแม่จัน 6.อำเภอเชียงแสน 7.อำเภอแม่สาย 8.อำเภอแม่สวย 9.อำเภอเวียงป่าเป้า 10.อำเภอป่าแดด 11.อำเภอเวียงชัย 12.อำเภอพญาเม็งราย 13.กิ่งอำเภอเวียงแก่น 14.กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง 15.กิ่งอำเภอขุนตาล 16.กิ่งอำเภอแม่ลาว

ของดีประจำจังหวัด:ผ้าไหม พรม สินค้าไทลื้อ เครื่องปั้นดินเผา ผ้าทอพื้นเมือง เครื่องประดับเงิน เครื่องเงิน เครื่องไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมือง แหนม หมูยอ

เทศกาล:งานพ่อขุนเม็งราย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หาดเชียงราย โดยมีประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านมา ร่วมงาน ได้แก่ จีน ลาว และพม่า มีการแสดงทางวัฒนธรรม การออกร้านจำหน่าย สินค้าที่ระลึก และนิทรรศการของหน่วยงานหลายแห่ง

งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟัง เทศน์ จากนั้นมีการแสดงดนตรีพื้นบ้าน พอรุ่งเช้าของวันแรม 1 ค่ำ จะมีการตัก บาตรอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงเดินทางกลับ

เทศกาลลิ้นจี่และของดี เมืองเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม บริเวณศาลากลางจังหวัด โดยจัดเป็นตลาด นัดลิ้นจี่ มีการประกวดลิ้นจี่ และผลิตผลทางเกษตร การประกวดขบวนรถและธิดา ลิ้นจี่

ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ธิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร อีกทั้ง ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม

แหล่งท่องเที่ยว:อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงราย บริเวณทางแยกที่จะไปอำเภอแม่จัน พ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวะ เป็นโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พุทธศักราช 1781 หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงราย เป็นเมืองหลวง แทนหิรัญนครเงินยาง และเสด็จสวรรคตในปีพุทธศักราช 1860

ไร่แม่ฟ้าหลวง เป็นมูลนิธิ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่างิ้ว ตำบลรอบเวียง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 4 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางผ่านหน้าค่ายเม็งรายมหาราชไปทางวัดฮ่องลี่ สำหรับที่มาครั้งแรกนั้นได้มีโครงการให้การศึกษาแก่ชาวเขาในลักษณะเดินสอนเกิดขึ้น ต่อมาเปลี่ยนแนวความคิด ที่จะนำชาวเขาเข้ามาทำการศึกษาในตัวเมือง โดยเข้าศึกษาในโรงเรียนทั่วไป เพื่อที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้กลับไปให้ความรู้แก่ชุมชนเดิมต่อไป หลังจากนั้นได้ถวายโครงการ ดังกล่าวแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฯ และจัดตั้งเป็นมูลนิธิไร่แม่ฟ้าหลวงขึ้น

พระตำหนักดอยตุง อยู่บริเวณกิโลเมตร 12 ทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน เพื่อทรงงานของสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระตำหนักเป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงผสมผสาน ระหว่างศิลปะล้านนา กับชาเลย์ของสวิส มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่าง เป็นลวดลายต่างๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ

หมู่บ้านชาวเขา ระหว่างทางขึ้นสู่ยอดดอยตุง มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้สะดวก เช่น หมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอ และจีนฮ่อ นอกจากนี้ยังมีแหล่งขายสินค้า หัตถกรรมของชาวเขาอยู่บริเวณ กม. ที่ 14 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายชาวเขา และเครื่องเงิน ซึ่งนักท่องเที่ยวมักแวะซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก

ทะเลสาบเชียงแสน เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ในท้องที่ตำบลโยนก ห่างจากเชียงแสน 5 กิโลเมตร ตามทางสายเชียงแสน-แม่จัน จะมีทางแยกซ้ายบริเวณ กม.ที่ 27ไปอีก 2กิโลเมตร ในฤดูหนาวจะมีฝูงนกน้ำอพยพมาอาศัยที่ทะเลสาบแห่งนี้ ริมทะเลสาบมีร้านอาหารและที่พัก

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com