หน้า 5

฿จังหวัดสุรินทร์฿

หน้าบ้าน ผู้จัดทำ หน้า1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 หน้า 6 หน้า 7 หน้า 8 หน้า 9 หน้า 10

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกันเกรา

ต้นไม้ประจำจังหวัด: กันเกรา

คำขวัญ:"สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม"

สุรินทร์ เป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนล่าง เป็นชุมชนเก่า แก่ตั้งแต่สมัยขอม ในปี พ.ศ. 2306 ปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยา หัวหน้าหมู่บ้านได้ย้ายผู้คนมาตั้งบ้านเรือนใหม่ที่ บ้านคูประทายซึ่งเป็นตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน และเปลี่ยน ชื่อเป็น เมืองประทายสมันต์ โดยมีพระสุรินทรภักดีศรี ณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองคนแรก และได้รับการเปลี่ยนชื่อ เป็น เมืองสุรินทร์เมื่อ พ.ศ. 2329 สุรินทร์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 457 กิโลเมตร มีพื้นที่ รวม 8,124 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็นอำเภอต่าง ๆ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอรัตนบุรี อำเภอสนม อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอสังขะ อำเภอลำดวน อำเภอบัวเชต อำเภอสำโรงทาบ

เทศกาลงานประเพณี:งานแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์เป็นดินแดนที่มีช้างมากมาแต่โบราณ ชาวเมืองในอดีตหรือที่เรียกว่า "ส่วย" ได้จับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้เป็นพาหนะและขนส่ง การควบคุมบังคับขี่ช้างของชาวสุรินทร์ได้ เคยทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมาแล้ว และเมื่อ "การแสดงของช้าง" ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2503 นั้นทำให้จังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศ กำหนดจัดงานขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นงานประจำปี ระดับชาติ แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกมาร่วมชมงานนี้ เป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่ นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยและจังหวัดสุรินทร์ การแสดงของช้างประกอบด้วยการแสดง คล้องช้าง การชักเย่อระหว่างช้างกับคน ช้างแข่งฟุตบอล ช้างเต้นระบำ ขบวนพาเหรด ขบวน ช้างศึกรวมทั้งการแสดงศิลปะพื้นเมือง เช่น รำเรือมอัมเร และเซิ้งบั้งไฟ

สถานที่น่าสนใจ:อุทยานพนมสวาย หมู่บ้านช้าง หมู่บ้านทำเครื่องเงินและทอผ้าไหม ปราสาทศีขรภูมิ

อุทยานพนมสวาย ห่างจากตัวเมือง 14 กิโลเมตร ตามทางไปอำเภอปราสาทและแยกขวาอีก 6 กิโลเมตร เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มี 3 ยอดคือ ยอดเขาชาย (พนมเปราะ) สูง 210 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิรินทรมงคล พระพุทธรูปใหญ่สีขาว ยอดที่สองคือ ยอดเขาหญิง (พนมสรัย) ยอดที่สามคือ เขาคอก (พนมกรอล) ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ชาวสุรินทร์ใช้เป็นที่แสวงบุญ ชาวสุรินทร์จะมีประเพณีขึ้นเขาพนมสวาย ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันเป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณ

หมู่บ้านช้าง อยู่ที่บ้านตากลาง ตำบลโคกกระโพ ตามทางหลวงหมายเลข 214 (จอมพระ-ท่าตูม) ถึงกม. 36 เลี้ยวซ้ายไปอีก 22 กิโลเมตร ชาวบ้านตากลางดั้งเดิมหรือที่เรียกว่า ส่วย มีอาชีพในการคล้องช้างป่า ฝึกช้าง และเลี้ยงช้าง ปัจจุบันมี พิพิธภัณฑ์ช้าง จัดแสดงโครงกระดูกช้างที่สมบูรณ์ อวัยวะต่าง ๆ ของช้าง อุปกรณ์การคล้องช้าง การเลี้ยงช้างของ ชาวกูย หรือส่วย ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของช้างสุรินทร์

หมู่บ้านทำเครื่องเงินและทอผ้าไหม อยู่ที่ตำบลเขวาสินรินทร์ การเดินทางใช้เส้นทาง สุรินทร์-จอมพระ ทางหมายเลข 214 ถึงกม. 14-15 แยกขวาไปอีก 4 กิโลเมตร หมู่บ้านแถบนี้จะทำเครื่องเงินและทอผ้าไหมลวดลายสวยงาม สำหรับส่งร้านค้าและจำหน่ายแก่นักท่อง เที่ยว รวมถึงบ้านโชคและบ้านสะดอซึ่งอยู่ถัดไปด้วย

ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง บริเวณ กม. 34-35 ทางหลวงหมายเลข 226 เป็นปรางค์หมู่ห้าองค์บนฐานเดียวกัน ปรางค์องค์ กลางสูง 32 เมตร มีลวดลายสลักหินตามเสาประตูและทับหลัง สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 17

สินค้าของที่ระลึก:ผ้าไหม เครื่องเงิน ตะกร้าหวาย หัวผักกาดหวาน

ปราสาทหินบ้านพลวง ที่ตั้ง บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร ตามถนนสายสุรินทร์ - ปราสาท - ช่องจอม (ทางหลวงหมายเลข 214) มีทางแยก ซ้ายมือเข้าไปอีก 900 เมตร ตรงกิโลเมตร ที่ 34-35 ลักษณะปราสาท ปราสาทบ้านพลวงได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยวิธีอนัสติโลซิส คือ การรื้อ ตัวปราสาทลง เสริมความมั่นคง และประกอบขึ้นใหม่ ดังเดิม ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้ เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บน ฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก มีประตูทางเข้า อยู่ด้านหน้า เพียงด้านเดียว ส่วนด้านอื่น อีก 3 ด้านทำเป็น ประตูหลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และมีอิฐเป็นวัสดุร่วมก่อสร้าง ในส่วนบน ของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม จำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบ ถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดิน เดิมคงเป็นที่ตั้ง ของแหล่งชุมชนมาก่อน บริเวณรอบองค์ปราสาท ได้รับการตกแต่งไว้อย่าง สวยงาม ลักษณะของ ทับหลังที่พบส่วนมาก สลักเป็นรูป พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ภายในซุ้ม เหนือหน้ากาล แลบลิ้นออกมา เป็นรูปสามเหลี่ยม มีแขน 2 แขน กำลังยึดท่อนพวงมาลัย ที่คายออกมาจากปาก ซึ่งอยู่ทางด้าน ทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ ส่วนทางด้านทิศเหนื่อ สลักเป็นรูปพระกฤษณะฆ่านาค สันนิฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้ คงสร้างขึ้น สำหรับพระอินทร์ นอกจากนี้ ช่างมักสลัก เป็นรูปสัตว์ เรียงเป็นแนว เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิงและวัว เป็นต้น อยู่บนทับหลัง สำหรับหน้าบัน ด้านทิศตะวันออก สลักเป็นรูปพระกฤษณะ ยกภูเขาโควรรธนะ และเช่นเดียวกัน จะมีรูปสลักเป็นรูปสัตว์เล็กๆ นอกกรอบหน้าบัน อันน่าจะแสดงถึง ความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำต่างๆ อยู่มาก ที่ผนังด้านหน้า มีรูปทวารบาล ยืนกุมกระบอง อยู่ข้างละ 1 คน ลักษณะของ ปราสาทหินองค์นี้ คล้ายกับ ปรางค์น้อย บนเขาพนมรุ้ง ลวดลายเป็นลักษณะ ศิลปะขอบ แบบบาปวน กำหนดอายุ ได้ว่า อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 จากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่มผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ ทางด้านข้าง ขององค์ปรางค์ เหลืออยู่มาก ทำให้สันนิษฐานว่า แผนผังที่แท้จริง ของปราสาทแห่งนี้ น่าจะประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ สร้างเรียงกัน แต่อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ ตามผัง หรืออาจถูกรื้อออกไป อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นได้

ปราสาทภูมิโปน ที่ตั้ง บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ การเดินทาง จากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สุรินทร์ - สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะ เข้าทางหลวง หมายเลข 2124 (สังขะ - บัวเขด) ตรงต่อไป จนถึง ชุมชนบ้านภูมิโปน ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาท ตั้งอยู่ริมถนน ด้านซ้ายมือ ลักษณะปราสาท ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com