ศิลปกรรม
Homeก่อนสมัยสุโขทัยสมัยสุโขทัยสมัยอยุธยาสมัยกรุงธนบุรีกรุงรัตนโกสินทร์แบบทดสอบ ชุดที่ 1แบบทดสอบ ชุดที่ 2

         

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
รัชกาลที่ 4  ถึงพ.ศ.2475 
หลังพ.ศ. 2475 

 

สถาปัตยกรรม นิยมสร้างแบบตะวันตกประยุกต์แบบไทย เช่น รัชกาลที่ 4 สร้างพระอภิเนาว-นิเวศน์ พระราชวังสราญรมย์ และพระนครคีรีเขาวัง จังหวัดเพชรบูรณ์

  • รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม มหาดไทย พระราชวังบางปะอิน อยุธยาซึ่งสร้างเลียนแบบพระราชวังแวร์ซายส์ของฝรั่งเศส พระราชวังสวนดุสิต พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งวิมานเมฆอาคารที่เป็นแบบตะวันตก คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แต่หลังคาเป็นแบบไทย
  • รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ตึกคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประติมากรรม ได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตกมาก เช่น พระบรมรูปทรงม้า รูปปั้นสุนัขย่าเหล เป็นต้น

จิตรกรรม ได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสาน เช่น รัชกาลที่ 4 งานเขียนภาพที่ให้ความรู้สึกแบบทรรศนีย์วิสัย ( Perspective ) คือ มีระยะใกล้ไกลแบบสามมิติ จิตรกรคนแรก ที่เริ่มวาดภาพแบบนี้คือ ภิกษุ ขรัวอินโข่ง แห่งวัดราชบูรณะ ภาพสำคัญที่ขรัวอินโข่งวาด คือ ภาพพระราชพิธี 12 เดือน

  • รัชกาลที่ 5 ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนภาพเวสสันดรชาดกในพระอุโบสถ วัดราชาธิวาสกรุงเทพ และภาพพระเจ้าเสือเสด็จทรงช้างข้ามบึงหูกวาง
  • รัชกาลที่ 6 จิตรกรเอก คือ พระอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) เขียนภาพฝาผนังพระปฐมเจดีย์องค์ใหม่เป็นรูปเทพชุมนุม

นาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ มีการแสดงที่พลิกแพลงและพัฒนามาจากการขับเพลงสวดมลายูเรียกว่า ลิเก มีการแสดงดนตรีแบบคอนเสิร์ต ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้องเพลง และละครพูด

วรรณกรรม ที่นิยมมากคือ บทละครพูด และบทละครร้องในรัชกาลที่ 6 มีงานแปลและงานแต่งได้แก่ ศกุนตลา มัทนะพาธา หิโตปเทศ กามนิต มีงานแปล ได้แก่ ความพยายามของแม่วัน และ มีนิตยสารออกมามากมาย รวมทั้งนวนิยายและเรื่องสั้นต่างๆ

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

  1. ปัจจัยภายนอก คือ การแพร่หลายของวิทยาการตะวันตก และการเผยแผ่ขยายอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจตะวันตก อังกฤษและฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านในขณะนั้น
  2. ปัจจัยภายใน คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้การผลิตในภาคเกษตรกรรมจากแบบยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าส่งออก ที่ดินและแรงงานมีความสำคัญมากขึ้น มีแรงงานชาวจีนอพยพเข้ามาแทนที่แรงงานไพร่ ทำให้ไพร่มีเวลาเป็นอิสระมากขึ้น มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

 

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงประเทศครั้งสำคัญให้เป็นแบบตะวันตกในทุกด้าน ทรงปฏิรูปสังคมโดยการยกเลิกระบบไพร่และเลิกทาสด้วยความราบรื่น เพราะพระองค์ทรงแก้ปัญหาด้วยจริยธรรมและคุณธรรม โดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อมีเวลาให้เจ้าขุนมูลนายได้เตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งเจ้านายต่างก็พอใจในนโยบายการแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

 

 

 

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2545
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264