home ผู้จัดทำ หน้าที่ 1 หน้าที่ 2 หน้าที่ 3 หน้าที่ 4 หน้าที่ 5
หน้าที่ 6 หน้าที่ 7 หน้าที่ 8 หน้าที่ 9 หน้าที่ 10
หน้าที่ 11 หน้าที่ 12 หน้าที่ 13 หน้าที่ 14 หน้าที่ 15
หน้าที่ 16 หน้าที่ 17 หน้าที่ 18 หน้าที่ 19 หน้าที่ 20

2. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (เวลาเปิด-ปิด 08.30 - 16.00 น.) คติ "แก้วแหวนเงินทองไหลมา" กิจกรรม ไหว้พระแก้วมรกต พระพุทธรูปสำคัญใน ูมิ าคเอเชีย เป็นศูนย์กลางความศรัทธาไทย - ลาว เพื่อความเป็นสิริมงคล " ไหว้พระแก้วมรกต แก้วแหวน เงินทองไหลมาเทมาตลอดปี " สถานที่ตั้ง อยู่ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร การเดินทาง เดินทางโดยรถประจำทาง สาย 1, 3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 53, 59, 64, 80, 82, 91,201, 203 รถปรับอากาศ สาย 501, 503, 508, 512

ประวัติความเป็นมา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรียกกันเป็นสามัญว่า วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นอาณาบริเวณ ทางด้านหน้า มีประตูสวัสดิโส า ซึ่งเป็นประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังเป็นทางเข้าพระอาราม สามารถติด ต่อกับเขตพระราชฐานชั้นกลางได้ทางประตูดุสิตศาสดา ประวัติความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวังและกรุงรัตนโกสินทร์ ตามประเพณีการสร้างพระอารามในพระราชฐานสมัยอยุธยา โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และเป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศล ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจากกรุงธนบุรีมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๗ สถานที่ตั้ง บริเวณสนามหลวง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร การเดินทาง เดินทางโดยรถประจำทาง สาย ๑, ๓, ๖, ๙, ๑๕, ๑๙, ๒๕, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๓๙, ๔๓, ๔๔, ๔๗, ๕๓, ๕๙, ๖๐, ๖๔, ๖๕, ๗๐, ๘๐, ๘๒, ๙๑, ๑๒๓, ๒๐๑, ๒๐๓ รถปรับอากาศ สาย ปอ.๑, ๖, ๗, ๘, ๑๒, ๒๕, ๓๘, ๓๙, ๔๔. ทางเรือ ท่าช้าง, ท่าพระจันทร์ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. และเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. บัตรเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติคนละ ๒๐๐ บาท ส่วนคนไทยไม่ต้องเสียค่าเข้าชม รายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๒๒๒๒-๐๐๙๔, ๐-๒๒๒๒-๒๒๐๘

<แผนผัง> แผนผัง ายในวัดพระแก้ว ๑. พระอุโบสถ ๒. ศาลาราย ๑๒ หลัง ๓. หอพระคันธารราษฎร์ ๔. หอระฆัง ๕. หอราชพงศานุสร ๖. หอพระโพธิธาตุพิมาน ๗. หอราชกรมานุสร ๘. รูปฤษีนั่ง ๙ .ปราสาทพระเทพบิดร ๑๐. พระเจดีย์ ๒ องค์ ๑๑. พระมณฑป ๑๒. พระศรีรัตนเจดีย์ ๑๓. รูปจำลองปราสาทนครวัด ๑๔. พระราชานุเสาวรีย์ที่ ๑,๒,๓ ๑๕. พระราชานุเสาวรียที่ ๔ ๑๖. พระราชานุเสาวรีย์ที่ ๕ ๑๗. พระราชานุเสาวรีย์ที่ ๖,๗,๘,๙ ๑๘. หอพระมณเฑียรธรรม ๑๙. วิหารยอด ๒๐. หอพระนาก ๒๑. พระปรางค์ ๘ องค์ ๒๒. พระระเบียง

ประวัติ การสถาปนาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) การสถาปนาวัดนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้ทำเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทร์เป็นศูนย์กลางที่สำคัญ ล้อมรอบด้วยพระระเบียง ทำนองเดียวกับการมีพระระเบียงล้อมรอบพระสถูปเจดีย์ในสมัยอยุธยา มีศาลาราย ๑๒ หลังรอบพระอุโบสถ สร้างหอระฆังขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ นอกจากนั้นทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ มีหอพระไตรปิฎกประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองที่โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาขึ้น หอพระไตรปิฎกนี้ต้องอยู่กลางสระน้ำ ตามธรรมเนียมของการสร้างหาไตรทั่วไปในสมัยนั้น เรียกว่า หอพระมณเฑียรธรรม มีพระเจดีย์ทอง ๒ องค์ สร้างอุทิศถวายพระราชบิดาและพระราชมารดา ต่อมาในระยะหลังได้เกิดเพลิงไหม้หอพระมณเฑียรธรรมจึงได้โปรดเกล้าฯให้สร้างที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ในตำแหน่งเดิม โดยถมสระน้ำที่อยู่ล้อมรอบหอพระมณเฑียรธรรม สร้างอาคารขึ้นใหม่เรียกว่า พระมณฑป รวมทั้งได้ขยายเขตวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปทางทิศเหนือ และสร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ และเป็นที่บอกหนังสือพระด้วย นอกจากนั้นยังสันนิษฐานว่าโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระขึ้น ๒ พอเรียงกันในแนวเดียวกับหอพระมณเฑียรธรรมหลังที่สร้างขึ้นใหม่ได้แก่ หอพระนาก ประดิษฐานพระนาก และพระวิหารขาวหรือหอพระเทพบิดรประดิษฐานพระเทพบิดร ซึ่งเป็นเทวรูปพระเจ้าอู่ทองจากวัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาแปลงเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงิน พร้อมทั้งสร้างพระปรางค์ ๘ องค์ขึ้นที่หน้าวัดนอกพระระเบียง นอกจากสถาปนาอาคารต่างๆ ในพระอารามแล้ว ยังทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ๒ ชุด คือเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน สมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหรือปฏิสังขรณ์อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สันนิษฐานว่าคงจะเป็นช่วงที่อาคารต่าง ๆ ยังอยู่ในส าพดี ไม่จำเป็นต้องบูรณะแต่ประการใด สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระมณฑปเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งปรับปรุงหอพระทั้ง ๒ หลัง หลังหนึ่งคือพระวิหารขาวเรียกว่า พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด ประดิษฐานพระเทพบิดรและพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงนับถือศรัทธา อีกหลังหนึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี แต่เรียกตามความเคยชินว่า หอพระนาก และได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระปรางค์ ๘ องค์ ตามที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไว้ พร้อมทั้งสร้างกำแพงแก้วโอบล้อมพระปรางค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งลานวัดเป็นต้นว่า ก่อ ูเขา ทำแท่นที่นั่ง กระถางต้นไม้ และตั้งตุ๊กตาหินรูปต่างๆ เป็นเครื่องประดับพระอาราม พร้อมทั้งปั้นยักษ์ยืนประตูจำนวน ๖ คู่กันหน้าเข้าหาพระอุโบสถ นอกจากการปฏิสังขรณ์พระอารามแล้วยังทรงสร้างพระพุทธรูปรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถและสร้างเครื่องทรงพระแก้วสำหรับฤดูหนาวเพิ่มขึ้นด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้มีพระราชประสงค์จะสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ เพราะทรงเห็นว่าพระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อยู่ต่ำกว่าพระมณฑปที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทขึ้นที่ด้านหน้าพระมณฑป เพื่อจะประดิษฐานองค์พระแก้วมรกตและสร้างพระเจดีย์ทรงลังกา แบบพระมหาเจดีย์ที่วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ด้านหลังของพระมณฑปในแนวแกนเดียวกัน ตามแบบการสร้างพระวิหารและพระพุทธเจดีย์ในสมัยอยุธยา แต่ด้วยเหตุที่พระมณฑปมีฐานสูงถึง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์ให้สูงเสมอกับฐานชั้นที่ ๓ ของพระมณฑป สร้างเป็นฐานร่วมเรียกว่า ฐานไพที ด้วยเหตุที่มีการถมฐานให้กว้างใหญ่ขึ้นในลักษณะนี้ ทำให้ฐานนั้นยาวเกินกว่าพระระเบียง จึงต้องขยายพระระเบียงออกไปทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก โอบอ้อมเอาพระปรางค์หน้าวัดไว้ ๒ องค์ ในการขยายพระระเบียงครั้งนี้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูที่พระระเบียงขึ้นทั้ง ๒ ด้านที่ขยายไปใหม่ โดยด้านทิศตะวันออกทำเป็นซุ้มมียอดทรงมงกุฎและมีเกยทั้ง ๒ ข้าง ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นซุ้มไม่มียอด มีเกยข้างเดียว นอกจากนั้นการที่พระองค์ทรงธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในสมัยที่ทรงพระผนวช ได้ทรงพบพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ พระเจดีย์โบราณและพระปรางค์โบราณ เมื่อทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจึงได้นำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุ เช่นสร้างพระมณฑปยอดปรางค์ ประดิษฐานพระเจดีย์โบราณบนฐานไพทีเดียวกันกับหอพระคันธารราษฎร์ และประดิษฐพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ที่หน้าหอ สร้างพระโพธิธาตุพิมานประดิษฐานพระปรางค์โบราณ ตั้งอยู่ระหว่างหอพระราชพงศานุศรและหอพระราชกรมานุสร ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นลักษณะประจำของสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่มักจะทรงสร้างอาคารหลายหลังบนฐานไพทีเดียวกัน นอกจากนั้นได้ทรงนำแบบอย่างของลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยามาใช้ เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์แบบทรงลังกา นำแบบอย่างการวางพระวิหารลงหน้าพระเจดีย์ในแนวแกนเดียวกัน นำยอดปรางค์มาใช้กับพระพุทธปรางค์ปราสาท พระโพธิธาตุพิมานและพระมณฑปยอดปรางค์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแผนผังและรูปแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากการสร้างอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ที่บนลานทักษิณของพระมณฑปยังโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบจำลองนครวัดจากประเทศเขมรมาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และให้ประชาชนชมว่าเป็นของแปลก สมัยรัชกาลที่ ๕ การก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้กระทำขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะพระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะและปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ พร้อมกับการสมโ ชพระนครครอบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบุษบกตราแผ่นดินขึ้นที่ฐานไพทีของพระมณฑปรวม ๓ องค์ เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่อมาในปลายรัชกาลได้เกิดเพลิงไหม้เครื่องบนของพระพุทธปรางค์ปราสาท จึงโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน สมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระพุทธปรางค์ปราสาทและตกแต่งเครื่องประดับ ายใน พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร ประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ทั้ง ๕ พระองค์ ในการบูรณะปราสาทพระเทพบิดรครั้งนี้ได้ชะลอพระเจดีย์ทองทั้ง ๒ พระองค์เลื่อนไปไว้ที่มุมด้านทิศตะวันออก รื้อซุ้มประตูและบันไดชั้นฐานประทักษิณปราสาทพระเทพบิดรด้านทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ทำบันไดใหม่ปูด้วยหินอ่อน รวมทั้งบันไดด้านที่ตรงกับพระศรีรัตนเจดีย์ด้วย นอกจากนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพนมหมาก ขึ้นที่กำแพงแก้วรอบฐานไพที พร้อม ๆ กับการรื้อซุ้มประตูและบันไดดังกล่าวแล้ว ส่วนที่บันไดทางเข้าพระอุโบสถทั้งด้านหน้าและหลังก็โปรดเกล้า ฯ ให้แก้ขั้นบันไดให้เตี้ยลงและปูพื้นใหม่ด้วยหินอ่อน สมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ รวมทั้ง าพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครอบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ การบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้ได้ยึดถือหลักการว่า ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ไปตามแบบเดิม เพียงแต่แก้ไขเปลี่ยนแแปลงวัตถุและวิธีการก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักวิชาการสมัยใหม่ เพื่อให้อาคารมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น สมัยรัชกาลที่ ๘ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นบางส่วน เช่นการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงเป็นต้น สมัยรัชกาลปัจจุบัน ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างทั่วทั้งพระอาราม เพื่อเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ พร้อม ๆ กับการบูรณะในครั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบุษบกตราแผ่นดิน ขึ้นอีก ๑ องค์ที่ฐานไพทีทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระบรมราชสัญลักกษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

สิ่งสำคัญ ายในวัด หอพระมณเฑียรธรรม หอพระมณเฑียรธรรม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของพระอุโบสถ ใกล้กับพระวิหารยอด ตรงข้ามกับหอพระนาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นไว้กลางสระน้ำทางทิศเหนือ ของพระอุโบสถใน พ.ศ. ๒๓๒๖ เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทอง ที่พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สังคายนาขึ้น แต่หอพระมณเฑียรธรรมหลังนี้ ได้ถูกเพลิงไหม้หมด ในวันสมโ ชพระไตรปิฎกนั้นเองใน พ.ศ. ๒๓๓๑ จึงไม่มีหลักฐานทางสถาปัตยกรรมใด ๆ เหลืออย นอกจากวิเคราะห์จากลักษณะที่ตั้ง และประโยชน์ใช้สอยว่า หอพระมณเฑียรธรรมหลังนี้ สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทอง และยังใช้เป็นที่บอกหนังสือแก่พระ ิกษุสามเณร และยังเป็นที่พักราชบัณฑิตอีกด้วย จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาคารขนาดใหญ่พอ สมควร เพื่อให้เพียงพอกับประโยชน์ใช้สอยดังกล่าว อีกประการหนึ่งอาคารนี้สร้างในสระน้ำ จึงสันนิษฐานว่าคงจะเป็นอาคารโครงสร้างไม้ยกพื้นสูงเหนือระดับน้ำ มีระเบียงรอบตามแบบหอพระไตรปิฎกซึ่งสร้างในสระน้ำทั่ว ๆ ไป อีกทั้งการก่อสร้างในสมัยนั้น ถึงแม้จะมีความสามารถในการใช้โครงสร้างแบบก่ออิฐถือปูน แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการก่อสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนในน้ำมาก่อน หลังจากที่หอพระมณเฑียรธรรมเพลิงไหม้ไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่ โดยย้ายที่ไปสร้างที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทรงส่งช่างมาสมบทสร้างถวาย หลังจากนั้นจึงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับครูเดิมและฉบับอื่น ๆ รวมทั้งเป็นที่บอกหนังสือพระ ิกษุสามเณร และที่พักของราชบัณฑิตอีกด้วย ในสมัยต่อมายังปรากฏหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ก็ได้ทรงศึกษาพระบาลีที่หอพระมณเฑียรธรรมองค์นี้ด้วย ในช่วงตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๖ ปรากฏว่าได้มีการซ่อมแซมหอพระมณเฑียรธรรมในส่วนที่ชำรุดเสียหายทั้ง ายนอกและ ายใน แต่ไม่ปรากฏการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทั้งจิตรกรรมและสถาปัตยกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เมื่อฉลองพระนครรอบ ๑๕๐ ปี การบูรณะครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนตัวไม้ กระเบื้องมุงหลังคา และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายให้ดีเหมือนเดิม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ เปลี่ยนสะพานหนูเป็นเฟอโรคอนกรีต เสารับขื่อหน้าบันใส่แกนเหล็ก พื้นเฉลียงและบันไดโดยรอบปูหินอ่อนใหม่ นอกจากนั้นได้นำบานประตูมุกลายกระหนกคู่หนึ่งซึ่งอยู่ในพิพิธ ัณฑสถานแห่งชาติ มาเป็นบานประตูกลาง ของหอพระมณเฑียรธรรมแทนบานประตูลายรดน้ำเดิม บานประตูมุกคู่นี้เดิมอยู่ที่วัดบรมพุทธาราม จึงหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาได้นำมาทำเป็นบานประตูใหญ่ซุ้มยอดปราสาทของพระอุโบสถวัดศาลาปูน และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้นำมาเก็บไว้ที่พิพิธ ัณฑสถานแห่งชาติ เป็นบานประตูที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เมื่อฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ตั้งแต่หลังคาจนถึงฐาน แต่เป็นการเปลี่ยนตัวไม้ เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายให้ดีเหมือนเดิม

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com