หน้าที่8

การจัดตั้งสหกรณ์แบบอเนกประสงค์

หน้าบ้าน ผู้จัดทำ หน้า 1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 หน้า 6 หน้า 7 หน้า 8 หน้า 9 หน้า 10

การจัดตั้งสหกรณ์แบบอเนกประสงค์ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น นอกจากเกษตรกรจะสามารถรวมตัวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้แล้ว ยังเป็นการป้องกันมิให้พ่อค้าคนกลางเข้ามาเอารัดเอาเปรียบได้ เพราะเมื่อรวมตัวกันได้ดีย่อมมีอำนาจในการต่อรอง และสมาชิกสหกรณ์นั้นเองก็จะมีความรักใคร่กลมเกลียวกันดี หาไม่แล้วกิจการสหกรณ์ย่อมไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น และในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการใช้ระบบสหกรณ์ออกไปให้แพร่หลายทั่วประเทศ เพราะวิธีการของสหกรณ์นั้นเองจะเป็นรากฐานที่ดีของระบอบประชาธิปไตยอย่างสำคัญ เนื่องจากสอนให้คนรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน ให้มีการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารสหกรณ์ ตลอดจนได้รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับด้วยกันเป็นส่วนรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสมาชิกสหกรณ์กลุ่มต่างๆ เป็นประจำ และแต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ก็จะพระราชทานแนวทางและข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ อันเป็นขวัญกำลังใจอย่างยิ่งแก่สมาชิกสหกรณ์กลุ่มต่างๆ ที่ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระราชดำริและข้อแนะนำต่าง ๆในการดำเนินงาน

คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนคนเอเชียส่วนใหญ่ทั่วไป ชาวนาไทยที่ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักเป็นเกษตรกรนั้นเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ชาวนาเองกลับต้องซื้อข้าวมาบริโ คในราคาแพง ซึ่งขัดแย้งกันกับอาชีพที่ทำอยู่เป็นอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงทรงห่วงใยต่อฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา และจากการที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรอย่างสม่ำเสมอ ได้ทรงซักถามทุกข์สุข รับสั่งถามถึงอาชีพ การทำมาหากินของราษฎร ก็ทรงตระหนักว่าชาวนาส่วนใหญ่มีหนี้ติดตัวเป็นประจำ เพราะขาดเงินทุนต้องไปกู้ยืมเงินจากนายทุนมาลงทุนปลูกข้าว ปีใดฝนฟ้าเป็นใจตกต้องตามฤดูกาล ปีนั้นก็ได้ผลผลิตดี ถ้าปีใดเกิด าวะฝนแล้งหรือฝนตกมากไปอุทก ัย ปีนั้นก็อาจจะเสียหายหมดตัว หรือไม่ก็อาจจะได้ผลผลิตน้อย ไม่สามารถนำผลิตไปจำหน่ายนำเงินไปชำระหนี้ได้ และบ่อยครั้งที่ถูกเร่งรัดหนี้สิน ประกอบกับไม่มียุ้งฉางที่จะจัดเก็บรักษาข้าวเอาไว้ขายในตอนราคาข้าวราคาดี ก็จำเป็นต้องขายข้าวเปลือกไปในราคาถูกตามที่พ่อค้าคนกลางจะกำหนด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า การที่จะช่วยเหลือชาวนาได้ก็จะต้องทำให้ชาวนานั้นเข้าใจและรู้วิธีการรวมกลุ่มกันในรูปแบบสหกรณ์ทำการสีข้าวเปลือกเอง หรือตั้งตัวแทนกลุ่มทำการสีข้าวที่เป็นผลผลิตของตนสำหรับไว้บริโ คในครัวเรือของแต่ละครอบครัวให้พอเพียงที่จะบริโ คได้ตลอดปีเสียก่อนเมื่อมีเหลือจากการบริโ คในครัวเรือนแล้วจึงค่อยนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัว แทนที่จะต้องนำข้าวเปลือกไปจ้างผู้อื่นให้สีให้ ซึ่งหากดำเนินการตามพระราชดำริได้อย่างนี้ก็จะเป็นการช่วยเหลือชาวนาได้ทางหนึ่ง เหตุนี้จึงโปรดฯให้จัดสร้างโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เมื่อสร้างเสร็จได้เสด็จลง ณ โรงสีข้าวตัวอย่าง ทรงเปิดกิจการสีข้าวเมื่อวันที่ ๘ พฤษ าคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ โรงสีข้าวตัวอย่างที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้มีการพัฒนาการกรรมวิธีการสีข้าวให้มีประสิทธิ าพมากขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด และได้พัฒนาการกรรมวิธีการสีข้าวให้มีประสิทธิ าพมากขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด และได้เปิดให้เกษตรกรและผู้ที่มีความสนเข้าชมกิจการได้ เพื่อที่เกษตรกรผู้สนใจสามารถจะนำเป็นแบบดำเนินการได้เอง ซึ่งเป็นแก้ปัญหาให้ชาวนาได้ส่วนหนึ่งสมดังพระราชประสงค์ที่ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อชาวนานั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว และจักได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนาในพิธีเปิดการชุมนุมผู้นำกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๓ ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ ความตอนหนึ่งว่า "...ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากเป็นอุปสรรคอยู่มิใช่น้อย จำเป็นต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิธีการต่างๆด้วย จึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน...ในการชุมนุมครั้งนี้... จึงใคร่จะขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังคำบรรยาย ทำความเข้าใจในวิธีการใหม่ๆให้แจ่มแจ้งทุกๆข้อ...จะได้นำวิชาการใหม่ๆนี้ไปใช้ปรับปรุงการทำนาของสมาชิกในกลุ่มให้ได้ผลดียิ่งขึ้น..." พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบอยู่ในพระราชหฤทัยเป็นอย่างดีว่าสังคมไทยของเรานั้นมีรากฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม แม้ในปัจจุบันนี้ส าพของสังคมไทยที่แท้จริงก็ยังคงดำเนินอยู่เช่นนั้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังคงมีอาชีพหลักในการทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกพืชผัก คือยังคงดำรงชีพด้วยการทำการเกษตรนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชหลักที่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเป็นผู้ผลิตอยู่ ในอดีตข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในลำดับต้นๆของสินค้าส่งออกของประเทศไทยที่ทำเงินตราเข้าประเทศได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในข้อนี้อย่างดียิ่งดังที่กล่าวมาแล้ว เหตุนี้จึงสนพระราชหฤทัยที่จะศึกษาทดลองปลูกมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔ โดยเสด็จลง ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา เพื่อทรงหว่านข้าวในแปลงนาสาธิตเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ ทำการทดลงปลูกข้าวโดยวิธีการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนต่างๆกัน จากนั้นก็เฝ้าทอดพระเนตรการเจริญงอกงามของเมล็ดข้าวที่ทรงหว่านไว้ ทรงเก็บข้อมูลทุกระยะนับแต่เมล็ดข้าวเริ่มงอกจนสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตลอดจนถึงการนวดข้าว เพื่อจะได้ทรงเปรียบเทียบได้ว่าการใส่ปุ๋ยให้ข้าวในอัตราส่วนใดจึงจะให้ผลผลิตได้มากที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงสามารถรับสั่งได้ว่าทรงเคยทดลองทำนามาบ้างแล้วดังพระราชดำรัสที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้แล้วข้างต้น และตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นต้นมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนหนึ่งที่เก็บเกี่ยวจากแปลงนาสาธิตจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ไปใช้ในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล และมีพิธีทำนองเดียวกันนี้อีกหลายประเทศในทวีปเอเชีย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าพระราชพิธีนี้มีแต่พิธีพราหมณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เพิ่มพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีทางพุทธศาสนาผนวกเข้าเป็นพระราชพิธีต่อเนื่องกัน รวมเป็นพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นับว่าเป็นประเพณีที่สำคัญของชาติอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๙ แล้วก็ว่างเว้นไป จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันมีพระราชดำริให้ฟื้นฟูขึ้นใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ ให้ต้องตามโบราณราชประเพณี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดจนเป็นการบำรุงขวัญและเพิ่มพูนกำลังใจแก่เกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีนี้สืบต่อมาทุกปี และยังพระราชทานพระมหากรุณาให้บรรดาเกษตรกรได้เข้าเผ้าทูลละอองธุลีพระบาทในสวนจิตรลดาเมื่อเสร็จการพระราชพิธีที่ท้องสนามหลวงด้วย เช่น เมื่อวันที่ ๗ พฤษ าคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้นำ สหกรณ์การเกษตรสหกรณ์นิคม และสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ความตอนหนึ่งว่า "...ที่ท่านทั้งหลายได้มีโอกาสได้เข้าร่วมในพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในวันนี้ ซึ่งถ้าคิดไปก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าทั่วโลกนี้ดูเหมือนจะมีต่อเมืองไทยที่มีพิธีของส่วนกลางเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เกษตร... ชาวเกษตรกรทั้งหลายย่อมทราบดีว่าความเป็นมงคลนี้สำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานของการเกษตร..." ความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างถ่องแท้ว่า ประเทศไทยนั้นหากจะพัฒนาไปให้ถูกทิศทางแล้ว ก็ควรมุ่งเน้นพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพราะจากการที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน ูมิ าคต่างๆ ได้ทอดพระเนตรพบว่าทั้งส าพ ูมิอากาศและส าพ ูมิประเทศของประเทศไทยนั้น เหมาะสมกับ าคเกษตรอุตสาหกรรมมากกว่า าคอุตสาหกรรม ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเกษตรกร ก็จะทรงมุ่งเน้นที่จะแนะนำให้เกษตรเหล่านั้นทำเกษตรกรรมโดยใช้หลักวิชาการให้ถูกต้อง กับทรงแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีพื้นๆที่เหมาะสมแก่เกษตรกรของแต่ละท้องถิ่น โดยให้พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด หรือถ้าไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่จะต้องอาศัยการนำเข้าหรือที่ประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตหรือประดิษฐ์ขึ้นใช้เองได้เลยก็จะยิ่งเป็นการดีจะทรงแนะนำให้เกษตรกรที่เป็นชาวนาปลูกพืชชนิดอื่นหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วเพื่อเป็นการเพิ่มคุณ าพของดินให้ดีขึ้น หรือที่เป็นเกษตรกรทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ก็ทรงแนะนำให้ปลูกพืชชนิดต่างๆคละกันไป เพื่อลดความเสี่ยงหากพืชชนิดหนึ่งชนิดใดไม่ได้ผล ก็จะยังมีพืชชนิดอื่นที่ปลูกไว้ทดแทนได้ และหากเป็นไปได้ก็ให้เลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปด้วย อย่างน้อยก็จะได้ประโยชน์จากมูลสัตว์นั้นมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับบำรุงพืชที่เราปลูก การทำการเกษตรกรรมอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำเกษตรกรดังที่กล่าวมานี้ เป็นการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพราะหากเกษตรกรยังไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าไปมากกว่านี้ได้เกษตรกรเหล่านั้นก็จะไม่เดือดร้อน เพราะยังสามารถทำการเกษตรที่พออยู่พอกินพอใช้ ายในครัวเรือนของตนต่อไปได้และถ้าได้ผลผลิตมาก เหลือจากการกินการใช้ในครัวเรือนแล้ว ก็ยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวต่อไป แต่ถ้าเกษตรกรรายใดมีความขยันหมั่นศึกษามีการค้นคว้าหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอๆ คอยติดตามคอยติดต่อสอบถามและมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการให้ความรู้และแนะนำการดำเนินงานตามหลักวิชาการอยู่แล้ว เกษตรกรรายนั้นก็สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้นได้ถึงระดับ าคเกษตรอุสาหกรรมที่สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ ดังนั้นการอยู่อย่างเฉลียวฉลาดตามนัยแห่งพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือใช้สติปัญญาใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีว่า ควรจะทำอย่างไรที่ไม่เป็นการเกินกำลังของตน คือไม่ทำอะไรเกินตัวนั่นเอง ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังถดถอย ผู้ที่ไม่ได้เดือดร้อนจากวิกฤตการณ์นี้ ก็คือผู้ที่ปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริมาตั้งแต่แรก ที่ทรงแนะนำให้ทำเพื่อพออยู่พอกินพอใช้ตามกำลังแห่งตนเสียก่อน และได้ทรงเน้นให้เห็นชัดอีกครั้งเมื่อพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ตอนหนึ่งว่า "คนเขานึกว่าประเทศไทยจะเป็นเสือตัวเล็กๆแล้วก็เป็นเสือตัวโตขึ้น เราไปเห่อว่าจะเป็นเสือ ความจริงเคยพูดเสมอ....ว่า การจะเป็นเสือหรือไม่นั้นมันไม่สำคัญ สำคัญที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจ มีความเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน คืออุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง..." พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงมีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในชนบทเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะราษฎรที่มีอาชีพทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก เพราะนับวันลูกหลานของราษฎรเหล่านี้ต่างก็พากันทิ้งถิ่นฐาน ูมิลำเนาเดิมเดินทางเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในเมืองใหญ่ เพราะแออัดไปด้วยผู้คนแล้ว  าคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดต่างๆที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ก็พลอยว่างคนทำงานไปด้วย เหตุนี้ถ้าสังเกตให้ดีๆก็จะพบว่าทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเกษตรกรใน ูมิ าคใดก็ตาม ก็จะทรงแนะนำให้เกษตรกรเกิดความท้อถอยในการประกอบอาชีพทางการเกษตร จะทรงให้กำลังใจและโปรดฯให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปช่วยเหลือให้ความรู้ทางวิชาการ สำหรับทำเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตดียิ่งขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้จะได้ไม่คิดจะละทิ้งถิ่นฐานที่อยู่ของตน แล้วตั้งหน้าตั้งตาแต่จะเดินทางเข้าไปหางานทำในเมือง แทนที่จะทำเกษตรกรรมให้พอมีพอกินตามอัต าพของตน ซึ่งไม่มีทางที่จะอดตายไปได้ ตรงกันข้ามกับการเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่ ที่จะมาจาก ายนอกได้ แต่การพัฒนานั้นก็จะต้องสอดคล้องกันกับความสามารถที่จะรับได้ของบรรดาเกษตรกรและตามความต้อการของชุมชนนั้นๆด้วย ไม่ใช่ไปยัดเยียดให้ในขณะที่ชุมชนของตนเข้มแข็ง ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเป็นแนวทางให้แก่กลุ่มชาวไร่ผักในพระบรมราชูปถัม ์ ณ ตำบลเขาใหญ่ อำเ อชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ไว้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษ าคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ ตอนหนึ่งว่า "...ถ้าแต่ละคนมีความขยันหมั่นเพียร ทางราชการและผู้มีวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่ทางราชการก็จะช่วย แล้วความเดือดร้อนต่างๆก็บรรเทาไป ไม่ให้เป็นทุกข์..." สำหรับในส่วนวิชาการนั้น เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "...นักบริหารการพัฒนามี าระสำคัญในการที่จะต้องเป็นผู้นำและตัวการควบคุมการพัฒนาบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง สู่ทิศทางและส าพที่ทุกฝ่ายพึงปรารถนา..จะต้องมีความรอบรู้และความเข้าใจอันกระจ่างและเพียงพอในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับส าพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด รวมทั้งระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรม และความรู้สึกนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จด้วย จังจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้.." ในประเทศไทยนั้น ผู้ที่รู้อย่างลึกซึ้งถึงส าพ ูมิประเทศและ ูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ และรู้ว่าในพื้นที่นั้นๆ ควรจะทำเกษตรกรรมแบบใดจึงจะเหมาะสมนั้น คงจะไม่มีผู้ใดที่จะรู้ได้เท่าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ เพราะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุก ูมิ าคเพื่อทอดพระเนตรทุกข์สุขของราษฎร จึงทรงทราบเป็นอย่างดีว่าในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วยตามส าพของทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ได้มีความรู้ถึงความเหมาะสมของการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ของตน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลือกสถานที่ที่เหมาะสมแล้วจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นใน ูมิ าคต่างๆรวม ๖ ศูนย์

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com