หน้าที่2

การทำฝนหลวง

หน้าบ้าน ผู้จัดทำ หน้า 1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 หน้า 6 หน้า 7 หน้า 8 หน้า 9 หน้า 10

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้ และทรงศึกษาอย่างจริงจังลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การ ชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านความสำคัญและประ โยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ใช่เพื่อพระองค์เท่านั้น แต่ทรงใช้เพื่อประชาชนของพระองค์ พัฒนาประเทศเพื่อให้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ทรงใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา ที่นำความทุกข์ยากมาแก่ราษฎร เช่น การทำฝนหลวง การ สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำก็โดยเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ของประชาราษฎร์ ด้านการศึกษาพระองค์ทรงให้การสนับสนุน จัดตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยในสารานุกรมฯ เล่มที่ 11 ก็มีเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่มากมาย เช่น วิวัฒนา การของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การพัฒ นาอักษรไทยในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทรงให้การสนับสนุนเงินทุนการศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียม เพื่อออกอากาศการเรียน การ สอนและรายการทางการศึกษา ณ โรงเรียนวังไกล กังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการ ทำให้นักเรียนในส่วน ูมิ าคหรือชนบท ได้มีโอ กาศรับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณ าพไม่ด้อย กว่าโรงเรียนที่มีคุณ าพและได้มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำ าคตะวันออกบรรลุวัตถุประสงค์ และมีแผนงานโครงการที่เป็นระบบ กระจายทั่วทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำด้วย วิธีการที่หลากหลายโดยมีกรอบเวลาและเป้าหมายร่วมกัน จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการเป็น 4 ด้าน เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำมูล ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน

1.การทำฝนหลวง

2.การขุดเจาะบ่อบาดาล

3.การผันน้ำจากนอกลุ่มน้ำ

4.การผันน้ำจากประเทศข้างเคียง

กลยุทธ์ที่ 2 การเพิ่มแหล่งเก็บกับน้ำ

1.การปลูกป่าและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ

2.การพัฒนาฝายต้นน้ำลำธาร

3.การพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ

4.หนองน้ำธรรมชาติ

5.การทำแก้มลิง

6.การพัฒนาสระน้ำขนาดเล็กและในไร่นา

กลยุทธ์ที่ 3 การเติมและกระจายน้ำ

1.การจัดการน้ำประปาให้ทุกหมู่บ้าน

2.การพัฒนาระบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำ ายในลุ่มน้ำ

3.การพัฒนาระบบเติมน้ำและลำเลียงน้ำ(จากแหล่งน้ำหลักไปยังแหล่งน้ำขนาดเล็กหรือสระน้ำในไร่นา)

4.การพัฒนาระบบชลประทาน

กลยุทธ์ที่ 4 การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิ าพ

1.การปรับปรุงระบบชลประทาน

2.การป้องกันอุทก ัยในพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชน และพื้นที่เศรษฐกิจ

3.การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและรักษาคุณ าพน้ำ

4.ตรวจสอบ วิเคราะห์ ความปลอด ัยเขื่อน

5.ระบบติดตาม คาดการณ์และเตือน ัยน้ำท่วม

วิธีการทำฝนหลวง

1. เทคโนโลยีฝนหลวง เทคโนโลยีฝนหลวงเป็นเทคนิค หรือ วิชาการที่เกี่ยวกับการดัดแปลงส าพอากาศ โดยเน้นการทำฝน เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และ/หรือ เพื่อให้ฝนตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ (Rain redistribution) สำหรับป้องกันหรือบรรเทา าวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนั้น เป็นวิชาการที่ใหม่สำหรับประเทศไทยและของโลก ข้อมูลหลักฐาน (evidence) ที่ใช้พิสูจน์ยืนยัน เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนักวิชาการและผู้บริหารระดับสูง ถึงผลปฏิบัติการฝนหลวงทั้งทางด้านกาย -  าพ (Physic) และด้านสถิติ (Statistic) มีน้อยมาก ดังนั้น ในระยะแรกเริ่มของการทดลองและวิจัย กรรมวิธีการปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงติดตามผลการวางแผนการทดลองปฏิบัติการ การสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งโดยใกล้ชิด ทรงหาความรู้และประสบการณ์จากนักวิชาการที่ทรงคุณวุฒิทางด้านอุตุนิ- ยมวิทยา โดยได้รับสั่งให้เชิญ พล.ร.ท.สนิท เวสารัชนันท์ ร.น. อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา พล.ร.ต.พิณ พันธุทวี ร.น. พร้อมด้วยนักวิชาการอื่นๆ มาเป็นคณะทำงานถวาย -ความคิดเห็น วิเคราะห์ผลปฏิบัติการที่ทางคณะปฏิบัติการฝนหลวง ได้ทดลองสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทำรายงานเสนอเป็นประจำ

2. กรรมวิธีการทำฝนหลวง กรรมวิธีการทำฝนหลวงในประเทศไทยที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบัน สรุปได้ ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อเมฆ

เป็นการดัดแปรส าพอากาศเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดเมฆ โดยการโปรยสารเคมีผลละเอียดของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในท้องฟ้าโปร่งใสที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ผงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี จะทำหน้าที่เสริมประสิทธิ าพของแกนกลั่นตัวในบรรยากาศ (Cloud Condensation Nuclei) เรียกย่อว่า CCN
ทำให้กระบวนการดูดซับความชื้นในอากาศให้กลายเป็นเม็ดน้ำเกิดเร็วขึ้นกว่าธรรมชาติ และเกิดกลุ่มเมฆจำนวนมาก ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเป็นเมฆก้อนใหญ่ในเวลาต่อมา

ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน

เป็นการดัดแปรส าพอากาศ เพื่อเร่งหรือเสริมการเพิ่มขนาดของเมฆและขนาดของเม็ดน้ำในก้อนเมฆ จะปฏิบัติการเมื่อเมฆที่ก่อตัวจากขั้นตอนที่ 1 หรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ก่อยอดสูงถึงระดับ 10,000 ฟุต โดยการโปรยสารเคมีผลแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต ผงแคลเซี่ยมคลอไรด์ซึ่งมีคุณสม บัติดูดความชื้นได้ดี จะดูดซับความชื้นและเม็ดน้ำขนาดเล็กในก้อนเมฆให้กลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารแคลเซี่ยมคลอไรด์เมื่อละลายน้ำ ความร้อนที่เกิดขึ้นจะเพิ่มอัตราเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้น (Updraft) ในก้อนเมฆ ทั้งขนาดเม็ดน้ำที่โตขึ้นและความเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้นที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยเร่งกระบวนการชนกันและรวมตัวกัน (Collision and coalescence process) ของเม็ดน้ำ ทำให้เม็ดน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้นในก้อนเมฆ และยอดเมฆพัฒนาตัวสูงขึ้น ในขั้นนี้ เมฆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและก่อยอดสูงขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการทรงตัวของบรรยากาศในแต่ละวัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ในบางวันเมฆจะไม่สามารถก่อยอดสูงเกินระดับอุณห ูมิจุดเยือกแข็ง ( 0 องศาเซลเซียส) หรือประมาณ 18,000 ฟุต เรียกว่า เมฆอุ่น (Warm Cloud) ในบางวันเมฆจะสามารถก่อยอดขึ้นไปสูงกว่าระดับอุณห ูมิจุดเยือกแข็ง เช่น ถึงระดับ 20,000 ฟุต เรียกว่า เมฆเย็น (Cold Cloud) ซึ่ง ายในยอดเมฆจะประกอบด้วยเม็ดน้ำเย็นจัด (Super cooled droplet) ที่มีอุณห ูมิต่ำถึง - 8 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่สาม : โจมตี

เป็นการดัดแปรส าพอากาศ เพื่อเร่งให้เมฆเกิดเป็นฝน ซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธี ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเมฆ และชนิดของเครื่องบินที่มีอยู่ ดังนี้

วิธีที่ 1 \"โจมตีเมฆอุ่น แบบแซนด์วิช\"

ถ้าเป็นเมฆอุ่น เมื่อเมฆแก่ตัว ยอดเมฆจะอยู่ที่ระดับ 10,000 ฟุต หรือสูงกว่าเล็กน้อย และเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย จะทำการโจมตีโดยวิธี Sandwich คือ ใช้เครื่อง บิน 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (Nacl) ทับยอดเมฆ หรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือ ไม่เกิน 10,000 ฟุต อีกเครื่องหนึ่งโปรยผงยูเรีย (Urea) ที่ฐานเมฆ ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา เมฆจะเริ่มตกเป็นฝนลงสู่พื้นดิน

วิธีที่ 2 \"โจมตีเมฆเย็น แบบธรรมดา\"

ถ้าเป็นเมฆเย็นและมีเครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว เมื่อเมฆเย็นพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆ ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณห ูมิระหว่าง -8 ถึง 12 องศาเซลเซียส มีกระแสอากาศไหลขึ้นสูงกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ตำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสม อนุ าคของสาร Agl จะทำหน้าที่เป็นแกนเยือกแข็ง (Ice Nuclei) และเมื่อสัมผัสกับเม็ดน้ำเย็นจัดในบอดเมฆ จะทำให้เม็ดน้ำเหล่านั้นกลายเป็นน้ำแข็งและคายความร้อนแฝงออกมา ซึ่งความร้อนดังกล่าวจะเป็นพลังงานผลักดันให้ยอดเมฆเจริญสูงขึ้นไปอีก และมีการชักนำอากาศชื้นเข้าสู่ฐานเมฆเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเม็ดน้ำที่กลายเป็นน้ำแข็ง จะมีความดันไอที่ผิวต่ำกว่าเม็ดน้ำเย็นจัด ทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำไปเกาะที่เม็ดน้ำแข็ง และเม็ดน้ำแข็งจะเจริญเติบโตได้เร็วเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และจะล่วงหล่นลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งจะละลายเป็นเม็ดน้ำฝน เมื่อผ่านชั้นอุณห ูมิเยือกแข็งลงมาที่ฐานเมฆ และเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน

วิธีที่ 3 \"โจมตีเมฆเย็น แบบซูเปอร์แซนด์วิช\"

หากเป็นเมฆเย็น และมีเครื่องบินครบทั้งชนิดเมฆอุ่นและเมฆเย็น เมื่อเมฆเย็นพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการผสมผสานวิธีที่ 1 และ 2 ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ เครื่องบินเมฆเย็นจะยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆ ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ส่วนเครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง จะโปรยสารเคมีโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆ (ประมาณ 9,000 - 10,000 ฟุต) และเครื่องบินเมฆอุ่นอีก 1 เครื่อง จะโปรยสารเคมีผงยูเรียที่ระดับชิดฐานเมฆ ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา วิธีการนี้จะทำให้ประสิทธิ าพในการเพิ่มปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น และเทคนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่า SUPER SANDWICH

ขั้นตอนที่สี่ : เพิ่มฝน

การโจมตีเมฆในขั้นตอนที่ 3 ทั้งสามวิธี อาจจะทำให้ฝนใกล้จะตกหรือเริ่มตกแล้ว ขั้นตอนที่ 4 นี้ จะเร่งการตกของฝนและเพิ่มปริมาณน้ำโดยการโปรยเกล็ดน้ำแข้งแห้ง (Dry ice) ที่ระดับใต้ฐานเมฆประมาณ 1,000 ฟุต เกล็ดน้ำแข็งแห้งซึ่งมีอุณห ูมิต่ำถึง -78 องศาเซลเซียส จะปรับอุณห ูมิของบรรยากาศระหว่างฐานเมฆกับพื้นดินให้เย็นลง ทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ฝนจะตกในทันที หรือที่ตกอยู่แล้ว จะมีอัตราการตกของฝนสูงขึ้น ลดอัตราการระเหยของเม็ดฝนขณะล่วงหล่นลงสู่พื้นดิน และทำให้ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้นและหนาแน่นยิ่งขึ้น

3. กรรมวิธีการทำฝนหลวง

การออกปฏิบัติการแต่ละครั้ง จะดำเนินการเมื่อได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร, สมาชิกส าผู้แทนราษฎร, ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือประสานงานโดยตรงกับคณะปฏิบัติการฝนหลวง

•  าคเหนือ สนามบิน จ.แพร่, สนามบิน จ.เชียงใหม่
•  าคอีสาน สนามบินกองบิน 1 จ.นครราชสีมา, สนามบิน จ.ขอนแก่น
•  าคกลาง สนามบินกองบิน 2 จ.ลพบุรี, สนามบินกองบิน 4 จ.นครสวรรค์
•  าคใต้ตอนบน สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน, สนามบินค่ายธนัรัตน์ อ.ปราณบุรี หรือสนามบินกองบิน 53 จ.ประจวบคีรีขันธ์

โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้

• จำนวนพื้นที่พืชผลทางเกษตรกรรม จะต้องไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่
• ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบถึงพืชผลทางเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง และไม่ต้องการน้ำ

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com