ส่วนประกอบของตา
Homeส่วนประกอบของตาทำไมตาเห็นสีได้สายตาไม่ปกติเห็นรูปผิดไป


 

  นัยน์ตาของคน มีลักษณะกลมอยู่ในเบ้าตา มีส่วนประกอบดังนี้

   1. กระจกตา (Comea) เป็นเนื้อเยื่อโปร่งใสอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา กระจกตาทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าไปสู่ภายใน
   2.
ม่านตา (Iris) เป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาลหรือสีฟ้า ตามเชื้อชาติ ม่านตาทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะที่จะผ่านไปสู่เลนส์ตา ม่านตาสามารถเปิดกว้างมากน้อยตามความสว่างของแสง ถ้าแสงสว่างมากม่านตาจะเปิดน้อย แสงสว่างน้อยม่านตาจะเปิดกว้าง
   3.
พิวพิล (Pupil) เป็นสีดำอยู่ตรงกลางนัยน์ตา ซึ่งเรียกว่า รูม่านตา พิวพิล ทำหน้าที่เป็นช่องให้แสงผ่านไปสู่เลนส์ตา
   4.
เลนส์ตา (Lens) เป็นเลนส์นูนที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา เลนส์ตาทำหน้าที่โฟกัสภาพให้ไปตกบนเรตินา
   5.
จอตา (Retina) เป็นเยื่อชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพ จอตาประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือเซลล์รูปแท่ง (Rod cell) กับเซลล์รูปกรวย (Cone cell)
       การทำงานของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปแท่งทำหน้าที่รับแสงทำให้มองเห็นรูปร่างของวัตถุต่างๆ ได้
       การทำงานของเซลล์รูปกรวย เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่รับสีทำให้มองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เซลล์รูปกรวยจะทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างมาก
   6.
โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตา เป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุด จึงเป็นบริเวณที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด
   7. จุ
ดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเลือดผ่านเข้าสู่นัยน์ตาไม่มี เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยเลย ดังนั้นถ้าแสงตกบริเวณนี้เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย
       วิธีหาจุดบอดแสง
       1) ใช้มือซ้ายถือกระดาษที่มีเครื่องหมายสีเหลี่ยมทางซ้ายและกากบาททางขวา
       2) เหยียดแขนออกไปจนสุด
       3) ใช้มือขวาปิดตาขวา
       4) เพ่งดูกากบาทด้วยตาซ้าย โดยไม่ชำเลืองดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยม
       5) เลื่อนกระดาษให้ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ สังเกตเครื่องหมายว่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่

Copyright(c) 2002 Yuwadee -Lublae. All rights reserved.

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264