สังข์ศิลป์ไชย

 

Homeเรื่องราวส่วนตัวบทนำไกรทองสังข์ทองมณีพิชัยคาวีไชยเชษฐ์สังข์ศิลป์ไชยบทสรุปสุดท้ายขอขอบคุณ
สังข์ศิลป์ไชย ๒ 

 

           สังข์ศิลป์ไชยเป็นบทละครนอกพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ครั้นพระองค์ยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  เรื่องนี้จึงแตกต่างจากบทละครนอกทั้ง 3 เรื่องในด้านของผู้ที่พระราชนิพนธ์ โดยทั้ง  ๕ เรื่องที่เป็นบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

           สังข์ศิลป์ไชยเป็นเริ่มต้นเรื่องราวโดยท้าวเสนากุฏครองเมืองปัญจาล มีขนิษฐาชื่อนางเกสรสุมณฑา อยู่มาวันหนึ่ง นางเกสรสุมณฑาถูกท้าวกุมภัณฑ์เจ้าเมืองอราชผู้เป็นยักษ์ลักตัวไป ท้าวเสนากุฏออกติดตามไปพบธิดาทั้ง ๗ คนของเศรษฐี ก็พอพระทัย จึงขอนางทั้งเจ็ดมาเป็นบาทบริจาริกา ต่อมานางไกรสรซึ่งเป็นคนรับใช้ของนางประทุมมาธิดาองค์ที่ ๗ และเป็นบาทบริจาริกาอีกคนหนึ่งมีลูกลักษณะเป็นราชสีห์มิใช่มนุษย์จึงได้ชื่อว่าสิงหรา ส่วนนางทั้งเจ็ดต่างก็มีโอรส ทุกคน เฉพาะโอรสของนางประทุมผู้เป็นน้องคนสุดท้องนั้นเกิดมามี สังข์ ศร และพระขรรค์ติดมาด้วยจึงได้ชื่อว่า สังข์ศิลป์ชัย (สังข์ คือหอยสังข์ ศิลป์ คือ ศิลป์ศรชัย คือ พระขรรค์ชัยศรี) นางผู้พี่ทั้งหกเห็นโอรสของนางประทุมมีบุญญาธิการผิดกับโอรสของตนก็เกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรให้พยากรณ์ว่าเป็นกาลกิณี ท้าวเสนากุฏจึงทรงขับพระสังศิลป์ไชยและสิงหราพร้อมด้วยมารดาออกจากเมือง

           เหล่านี้เป็นเนื้อเรื่องเพียงตอนต้นที่แสดงให้เห็นจึงความแตกแยกหรือเกิดความไม่สมบูรณ์ขึ้นในครอบครัว ปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวเกิดความแตกแยกนี้ก็มีความเหมือนกับบทละครนอกทั้ง ๕ เรื่องที่ได้กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นสังข์ทอง  คาวี   ไชยเชษฐ์  ไกรทอง  และมณีพิชัย  โดยเรื่องนี้พื้นฐานของปัจจัยที่แท้จริงก็เกิดจากกิเลสภายในใจของมนุษย์เอง ก็คือ ความอิจฉาริษยา  ที่นางผู้พี่ทั้ง ๖ คนอิจฉาน้องที่ได้ดีกว่า ทำให้ครอบครัวจะต้องแตกแยก จนนางต้องถูกขับไล่พร้อมบาทบริจาริกาอีกคน คือนางไกรสร ที่ออกลูกเป็นสิงหรา แต่ปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวต้องแตกแยกนี้ก็ยังถูกถ่ายทอดมายังรุ่นลูก ทำให้พี่น้องต้องถึงขนาดที่จะคิดฆ่ากันด้วยความอิจฉา ที่สังข์ศิลป์ชัยสามารถไปช่วยนางเกสรสุมณฑาและนางศรีสุพรรณซึ่งเป็นลูกสาวของนางกับท้าวกุมภัณฑ์ โดยถูกพ่อที่เล่นสกาแพ้พระยานาคยกให้พระยานาคออกมาได้ ทำให้พี่ทั้ง ๖ ที่รับอาสาท้าวเสนากุฏผู้เป็นพระราชบิดามารับนางเกสรสุมณฑาผู้เป็นน้อง แต่ทั้ง ๖ จึงหลอกให้สังข์ศิลป์ชัยไปช่วยและกลับจะฆ่าทิ้งเสีย เพราะต้องการได้หน้า และกลัวที่จะต้องถูกทำโทษ ไม่ว่าจะโดยหนทางใดก็ตาม จึงเข้ามาสู่บทละครนอกในตอนที่ ๑ คือ สังข์ศิลป์ชัยตกเหว กล่าวคือ

          เมื่อนั้น  

ทั้งหกให้คิดริษยา

ต่างซุบซิบกันจำนรรจา

ใครมีปัญญาจงเร่งคิด

แม้นสังข์ศิลป์ชัยได้ไปเฝ้า  

เห็นเราหกคนไม่พ้นผิด

ขนมทำมาให้ใส่ยาพิษ

มันไม่กินเหมือนจิตที่คิดไว้”

 

         ศรีสันท์จึงว่าไปทันที

วันนี้สิงหราหาอยู่ไม่

ไปเที่ยวหาอาหารที่ในไพร

ทิ้งสังข์ศิลป์ชัยไว้พลับพลา

เราจะยียวนชักชวนมัน

ไปเก็บพรรณผลไม้บนภูเขา

ผลักตกเหวให้มรณา  

จึงกลับมาพาพระอาไป”

            จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าตัวละครที่ได้รับอิทธิพลของปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวแตกแยกอย่าง ศรีสันท์จึงมีแต่ความอิจฉาริษยา ไม่มีความรักน้อง รักแต่ตนเองทั้งที่ตัวเองเป็นที่คนโตที่ควรจะรัก และดูแลน้อง ๆ แต่กิเลสในใจที่ถูกปลูกฝังจึงทำให้ครอบครัวต้องมีการแตกแยกเกิดขึ้น จนกระทั่งส่งผลให้นิสัยของศรีสันท์เองก็เป็นคนที่อิจฉาริษยา และมักที่จะเอาตัวรอดอยู่เสมอ เช่น  ในตอนที่นางศรีสุพรรณทูลต่อท้าวเสนากุฏว่า ขณะเดินทางกลับมายังเมืองถูกศรีสันท์ลวนลามอย่างไรบ้าง และนางเกสรสุมณฑาเองก็ยังย้ำชัดและยืนยันในคำพูดของลูกสาว แต่ทว่าศรีสันท์กับพูดจาแก้ตัว คือ

                                                  

          เมื่อนั้น

ทั้งหกตกใจขยับหนี

ศรีสันท์ร้องทูลไปทันที

ซึ่งอาว่าทั้งนี้ไม่มีจริง

แต่แรกเถียงที่ข้อลูกไปรับ

ประเดี๋ยวใจไพล่กลับเป็นสุงสิง

แกล้งปรักปรำซ้ำเติมด้วยชังชิง

ถ้าเป็นจริงเหมือนว่าจงฆ่าฟัน

เมื่อครั้งเดินทางมากลางป่า

ข้ากลัวอาจะรังเกียจเดียดฉันท์

มิได้ใกล้เคียงเจ้าสุพรรณ

ลูกรักษาตัวมั่นถึงชั้นนี้

น้อยจิตคิดคิดแล้วน่าสรวล

ที่ว่าข้าลามลวนไม่ควรที่

อันชู้เมียลูกไม่พอใจมี

จะบวชเสียมิดีหรือบิดา”

 

 

จัดทำโดยครูชนัตตา ปุยงาม
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี เขตบางกรวย นนทบุรี
Copyright(c)2009 Ms.Chanatta Puingam. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

thaigoodview.com ปีที่ 10
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com