logo.png

วรรณกรรม

Homeผู้จัดทำภาพโรงเรียนมาทำแบบฝึกกันก่อนนิทานน่ารู้วรรณกรรมทำแบบทดสอบกันใหม่

 anisquare19_blue.gif

 

 anisquare19_green.gif

 

 anisquare19_orange.gif

 

 anisquare19_yellow.gif

 

 anisquare19_blue.gif

 

 anisquare19_green.gif

 

 anisquare19_orange.gif

 

 anisquare19_yellow.gif

 

 anisquare19_blue.gif

 

 anisquare19_green.gif

 

    วรรณกรรมสำหรับเด็ก

 

                 วรรณกรรม  หมายถึง   หนังสือ   เอกสารที่มีลักษณะเป็นศิลปกรรม   มีสาระเนื้อหาที่ผู้เรียนสื่อความมายังผู้อ่านซึ่งหมายถึง  งานเขียนทุกชนิด  วรรณกรรมจึงเป็นผลงานที่เกี่ยวกับหนังสือที่มีรูปแบบต่าง ๆ  มีภาษาและเนื้อหาสาระเหมาะกับวัยที่ศึกษาจุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้อ่านได้ฝึกทักษะในการอ่าน  ได้แนวคิดในการประพฤติปฏิบัติและได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่าน
                 วรรณกรรมสำหรับเด็กแต่เดิมเรามักเรียก    “ คติชาวบ้าน ”   ซึ่งหมายถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่นิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วคน  ภาษาที่ใช้เหมาะกับวัยของเด็ก  เมื่อเด็กสนใจแล้วก็จะค้นหามาอ่านเอง   หรือมิฉะนั้นก็อ่านโดยการจูงใจของครู  ผู้ปกครอง
                 
กล่าวกันว่ายุคทองของวรรณกรรมเด็กนั้นเริ่มตั้งแต่  พ.ศ. 2501 – 2515  หลังจากนั้นก็หยุดชะงักลง  เพราะเราหานักเขียนอาชีพทางนี้ได้ยาก  เพราะระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 

                 ในยุคปัจจุบันเราจึงมุ่งที่จะรวมพลังความคิดหาทางที่จะส่งเสริมงานวรรณกรรม  งานส่งเสริมภาษา  เช่น สมาคมส่งเสริมภาษาและหนังสือเด็กแห่งประเทศไทยตั้งขึ้นเพื่อความเข้าใจอันดี  เกี่ยวกับวรรณกรรมเด็กและวรรณกรรมผู้ใหญ่   แต่อย่างไรก็ตาม  ผลงานบางเรื่อง    เด็กก็อ่านได้ผู้ใหญ่ก็อ่านดี    เป็นวรรณกรรมที่เหมาะทั้ง 2  วัย    เช่น   หนังสือชุดสามเกลอของ   ป. อินทรปาลิต    เป็นต้นวรรณกรรมสำหรับเด็กโดยทั่วไป  มักมุ่งสอนเด็กให้แนวคิดต่าง ๆ  ทั้งทางตรงและทางอ้อม  มุ่งปลูกฝังแนวประพฤติปฏิบัติ  เช่น

1.  บทกล่อมเด็ก  บทปลอมเด็กและบทเด็กเล่น
                 เด็กจะเคยได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่ทารกโดยไม่รู้ความหมาย
  แต่ท่วงจังหวะทำนองทำให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน  เป็นลักษณะร้อยกรองง่าย ๆ  ที่ว่ากันจนคล่องปากและถือว่าเป็นประเพณีอันดีงาม  ในด้านการให้ความอบอุ่นแก่เด็ก  และผลพลอยได้ก็คือ  ได้รับความรัก  เกิดความนิยมในร้อยกรองโดยไม่รู้ตัวบทกล่อมเด็กในแต่ละท้องถิ่นจะไม่เหมือนกัน  แต่ใจความเนื้อหาสาระแสดงให้เห็นถึงความรัก  ความอบอุ่นที่ได้จากผู้ใหญ่  พ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  เป็นอย่างมาก
2.
  นิทานชาวบ้าน
             นิทานชาวบ้าน
  เป็นเรื่องที่เล่าถ่ายทอดมาช้านาน   ต่อมาได้มีการเขียนตามเรื่องราวที่เล่ากันมา    ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะนิทานชาวบ้าน  ได้หลายประการคือ
            -  นิทานปรัมปรา  เป็นนิยายเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ที่แฝงคุณธรรม  บางเรื่องก็ยืดยาว  สลับซับซ้อน  มักไม่มีแหล่งที่มา  เช่น  เรื่องนางสิบสอง  เจ้าหญิงนิทรา  ปลาบู่ทอง  ฯลฯ
            -  นิทานประจำถิ่น  เป็นเรื่องเล่าที่แฝงความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของสัตว์  ธรรมชาติ  และประวัติวีรบุรุษ  เช่น  เรื่องดาวลูกไก่  ท้าวแสนปม  ขอมดำดิน  ผีสางนางไม้  เจ้าพ่อเจ้าแม่  ปู่โสมเฝ้าทรัพย์  ฯลฯ
            -  เทพนิยาย  เป็นนิทานเกี่ยวกับเทพเจ้า  นางฟ้า  ผู้คุ้มครองโลก
            -  นิทานชวนเพ้อฝัน  สัตว์  ต้นไม้  หรือสภาพแวดล้อมทั้งหลายพูดได้  เช่น  นิทานอิสป
            -  นิทานชวนขัน  เป็นนิทานที่ดูแล้วไม่ค่อยจะเป็นเรื่องเป็นราวไม่น่าเป็นไปได้เช่นตาบอดกับหูหนวก   หัวล้านนอกครูชายขี้ลืม   เป็นต้น

            นิทานพื้นบ้าน  นอกจากจะเป็นตำนานและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านแล้ว   ยังเป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์อย่างมาก    เช่น  ตำนานเขาวงพระจันทร์  ตำนานพระพุทธชินกร  ไกรทอง  พญาวงพญาทาน  เป็นต้น

 

 parade.gif

 

จัดทำโดย  ผจงจิต  เถินมงคล
โรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ   ถนนพระราม 6 เขตพญาไท  กรุงเทพมหานคร
 Copyright(c) 2005  Miss  Pajongjit  Thearnmongkol  All  right  reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2548

www.thaigoodview.com Version 14.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2005 www.thaigoodview.com. All rights reserved