เศรษฐกิจการค้า

 

 

พรรคการเมือง 
รัฐธรรมนูญ 
สถานการณ์ปัจุบัน 
เศรษฐกิจการค้า 

 เศรษฐกิจการค้า

                   อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.6     ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 67.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ    รายได้ประชาชาติต่อหัว 22,867 ดอลลาร์สหรัฐ อัตราการว่างงาน ร้อยละ 4.6

อุตสาหกรรมหลัก        ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษ ปุ๋ย ซีเมนต์ แผ่นเหล็ก อลูมิเนียม

เกษตรกรรมหลัก          เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ผลิตภัณฑ์นม ขนแกะ ผักและผลไม้

ประเทศคู่ค้าสำคัญ       ออสเตรเลีย EU สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน (ตามลำดับ)

สินค้าเข้า                    รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า น้ำมัน พลาสติก

สินค้าออก                   ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ เครื่องจักร และอาหารทะเล

การค้าในภาคบริการ นิวซีแลนด์ส่งออกสินค้าบริการคิดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม โดยเน้นการท่องเที่ยว  และการศึกษานานาชาติเป็นสำคัญ ในปี 2546 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับแรก มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 3.9   นโยบายทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ (ปี 2517 - ปัจจุบัน)

เศรษฐกิจภายในประเทศ 

ปี 2517 - 2525     ภาวะเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์มีการเจริญเติบโตที่ต่ำมาก (ไม่ถึง 1%ต่อปี) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยปีละ 15% และมีการว่างงานสูงมาก

ปี 2527 - 2530    พรรคแรงงานใช้นโยบายเศรษฐกิจที่แข็งกร้าวเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ผลของการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดทำให้ พรรคแรงงานประสบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง

ปี 2531 - 2537    พรรค National คงมุ่งเน้นนโยบายรัดเข็มขัด พยายามลดหนี้สินสาธารณะ ตัดค่า ใช้จ่ายต่างๆ และมีนโยบายให้ธนาคารกลาง (Reserve Bank) ลดอัตราเงินเฟ้อให้ เหลือเพียง 2% ภายในปี 2536 ซึ่งธนาคารกลางสามารถทำได้สำเร็จในปี 2537 (จากเดิม 15% ลดลงเหลือ 2%) ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเติบโตอย่างช้าๆ

ปี 2538 - 2541     เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นมากจนรัฐบาลสามารถที่จะลดภาษีเงินได้และสามารถให้เงินอุดหนุนด้านสาธารณสุขและการศึกษาได้กว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ การวางนโยบายงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล สำหรับปี 2538/39 เป็นการวางนโยบายภายใต้กฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางด้านการคลัง (Fiscal Responsibility Act 1994) อย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ยังเข้มงวดกวดขันด้าน ค่าใช้จ่าย และเป็นผลให้งบประมาณแผ่นดินเกินดุลอยู่กว่า 3 พันล้านดอลลาร์ นิวซีแลนด์ ในปี 2539 และ 2540

ปี 2542 - 2545    พรรค Labour ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน     2542   และ กรกฎาคม 2545   นาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีได้ปรับแนวนโยบายเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอยด้วยการเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้กลับคืนสู่ลำดับต้นๆ   ในการจัดอันดับการพัฒนาของกลุ่มประเทศ  OECD  รวมทั้งลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตร  และต้องการให้เศรษฐกิจมีรากฐานอยู่บนการสร้างสรรค์นวัตกรรม (innovative) โ ดยสามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและราคาสูง

ปี 2545-ปัจจุบัน    ตั้งแต่ปี 2545 นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด  ทั้งในระดับภูมิภาคและในกลุ่มประเทศ OECD โดยในปี 2546 เศรษฐกิจมีขยายตัว ถึงร้อยละ 4 ใน  ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงไม่ฟื้นตัวภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีจนถึงปัจจุบัน คาดว่าในปี 2547 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.4 โดยภาคการส่งออกจะขยายตัวมากขึ้นและการนำเข้าลดลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเคยเติบโตมากในช่วงปี 2545-2546 อาจจะชลอตัวลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและการลดจำนวนการโยกย้ายถิ่นฐาน นอกจากนี้ บริษัทธุรกิจต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ที่แข็งค่าสามารถนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบในราคาที่ถูกลง การส่งออกจะขยายตัวโดยได้รับผลพวงจากภาวะการค้าโลกที่ดีและราคาผลผลิตโลกดีขึ้น แม้ว่าอาจจะเสียเปรียบในเรื่องราคาสินค้ารวมทั้งจำนวนผลผลิตการเกษตรลดลงเนื่องจากได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมเมื่อต้นปี 2547 นิวซีแลนด์จะได้รับผลดีในด้านการท่องเที่ยวจากการที่เงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าด้วย ซึ่งจะทำให้นิวซีแลนด์อยู่ในสถานะได้ดุลการบริการ ต่อไปอีกในปี 2547-2548

จัดทำโดย
นางสาวอมรรัตน์ สิงห์สุทธิโสทร
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c ) 2006  Ms. Amornrat  Singsuthisotorn .  All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com