ประวัติศาสตร์

 

Homeผู้จัดทำประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัยกรุงศรีอยุธยากรุงธนบุรีกรุงรัตนโกสินทร์
เรื่องของชนชาติไทย1 
เรื่องของชนชาติไทย2 
ภูมิศาสตร์ไทย 
ไทยก่อนสุโขทัย 
อาณาจักรต่างๆ 

   

               

                          พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ประวัติศาสตร์ของไทยในเอเซียอาคเนย์ จึงได้เริ่มจดบันทึกเป็นหลักฐานแน่นอนโดยคนไทยมาแต่ยุคนั้น                แม้ตำนานของไทยเผ่าต่าง ๆ จะกล่าวย้อนหลังไป ก่อนตั้งจุลศักราช  (พ.ศ. ๑๑๘๒) บ้าง แต่ก็ไม่อาจยึดถือศักราชเป็นของแน่นอนได้ เรื่องราวของไทยเผ่าต่าง ๆ พอจะยึดเป็นหลักได้ก็               ประมาณ พ.ศ. ๑๗๕๐ เป็นต้นมา ฉะนั้น เรื่องของชนชาติไทยก่อนหน้านั้น  ยิ่งนานขึ้นไปเท่าใด  ก็เป็นเรื่องสันนิษฐานมากยิ่งขึ้นไปตามลำดับ   การเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยมีหลาย               ความเห็น  เช่น

      ความเห็นที่ ๑

               ไทยอพยพจากเหนือลงใต้ มีความเห็นว่า ไทยอพยพจากภูเขาอัลไตในใจกลางทวีปเอเซียลงมายังน่านเจ้า แล้วอพยพต่อลงมายังประเทศไทย นักประวัติศาสตร์บางคนไม่เชื่อในความเห็นนี้

      ความเห็นที่ ๒

                ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์  มาเลเซีย และอินโดนีเซียอพยพจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาถึงประเทศไทย แล้วเลยต่อขึ้นไปถึงจีน เรื่องนื้ ทฤษฎีภาษาศาสตร์ของ  "เบเนดิกส์"  สนับสนุนอยู่ เช่น          คำว่าฟิลิปปินส์ ปะตาย แปลว่า ตาย ,อากู แปลว่า กู ,คาราบาว  แปลว่า กระบือ เป็นต้น  นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ วิธีการของเบเนดิกส์ เพราะนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเทียบกับ         ไทยแทนที่จะสานคำกลับไปว่า เมื่อ ๑๒๐๐ ปีมาแล้ว คำไทยควรจะเป็นอย่างไร และคำฟิลิปปินส์ควรจะเป็นอย่างไร แล้วจึงนำมาเทียบกันได้

      ความเห็นที่ ๓

             ไทยอยู่ในประเทศไทยมาหลายพันปี  และมีคนไทยกระจายอยู่ทั่วไปใน อินเดีย พม่า จีน ไทย ลาว และ เวียดนาม บางคนถือว่าบ้านเชียงก็เป็นคนไทย แต่ยังไม่มีผู้ใดเคยพิสูจน์ว่า   วัฒนธรรม    ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงเหมือนกับวัฒนธรรม ของคนไทยในปัจจุบันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอ้างความเห็นของกอร์แมนว่า    โครงกระดูกคน     บ้านเชียงคล้ายกับกระดูกมนุษย์ที่อยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิก  อีกประการหนึ่ง จารึกในแหลมทองเป็นอักษรมอญ  ภาษามอญมาจนถึงประมาณ  พ.ศ.๑๗๓๐  ไม่เคยมีจารึกภาษาไทยเขียนด้วยอักษร     ใด ๆ ก่อนจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเลย

      ความเห็นที่ ๔

                    ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ นานาชาติส่วนใหญ่สนับสนุนความเห็นของศาสตราจารย์ "เก็ดนีย์"   ว่า ถิ่นกำเนิดของภาษาไทยอาจจะอยู่ตามเส้นเขตแดนระหว่าง มณฑล        กวางสีของจีนกับเมืองแถง หรือเดียนเบียนฟูในเวียดนาม หรือไม่ก็อยู่ ข้างบนหรือข้างล่างใกล้เส้นแบ่งเขตแดนนี้ ศาสตราจารย์เก็ดนีย์อาศัยทฤษฎีว่า ภาษาเกิดที่ใด จะมีภาษาท้องถิ่นมากหลายชนิด        เกิดขึ้น    แถบบริเวณนั้น เพราะอยู่มานานจนแตกต่างกันออกไป พวกจ้วงที่อยู่ในกวางสีห่างกันเพียง ๒๐ กิโลเมตร ยังพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่ภาษาถิ่นต่าง ๆ ของลาว ไทยและพม่า ไม่ค่อยแตกต่างกัน        ยังฟังกันรู้เรื่อง ภาษาอังกฤษในเกาะอังกฤษมีภาษาถิ่นมากมาย แต่ในสหรัฐอเมริกาพูดกันเข้าใจทั้งทวีป

 

จัดทำโดย
นางสาวศศิประภา ศรีวิไลเวช
นางสาวสาวิตรี เวชสมุทรวารี
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2006 Ms.Sasiprapa Sriviraivad Ms.Savitree Vajsarmutwaree. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com