เทพอีรอส

...ได้กล่าวมาแล้วว่าเทวีอโฟร์ไดที่ให้ประสูติบุตรธิดาดับเทพเอเรส 3 องค์ ธิดาคือ นางเฮอร์โมไอนีนั้น ได้อ ิเษกกับแคดมัสเจ้ากรุงธีบส์ ส่วนบุตรคือ คิวพิด กับแอนทีรอส คิวพิดนั้นคือกามเทพของโรมัน ชาวกรีกเรียกว่า อีรอส อีรอสหรือคิวพิดซึ่งเป็นบุตรของอโฟร์ไดที่กับเอเรสนี้ เป้นคนละองค์กับอีรอสหรือคิวพิดที่อุบัติขึ้นแต่ครั้งสร้างโลก และการกล่าวขวัญถึงดดยทั่ว ๆไป ก็มักจะหมายถึงอีรอสซึ่งเป็นบุตรของอโฟร์ไดที่กับเอเรสองค์นี้


นอกจากเทพอพอลโลแล้ว อีรอสเป็นที่ถือกันว่าประกอบด้วยรูปลักษณะงามที่สุดในบรรดาเทพทั้งหลาย ปรัชญาเมธีเพลโตกล่าวความอุปอุปไมยเกี่ยวกับเทพองค์นี้ไว้ว่า "กามเทพ-คือ อีรอส-ย่อมเข้าสิงหัวใจคนก็จริง แต่ก็ไม่ทุกหัวใจไป ด้วยว่าที่ใดมีความแข็งกระด้างเธอก็ผละหนี เกียรติคุณอันล้ำเลิศของเธอนั้นอยู่ที่ว่า เธอหา อาจที่จะทำผิด หรือยอมให้ผู้ใดทำผิดไม่ แม้กำลังบังคับก็ไม่สามารถจะหักเธอได้ลง"

ว่ากันว่า ตำนานของเทพอีรอสผู้นี้ นักกวีชาวกรีกรุ่นก่อนมิได้แต่งขึ้น ต่อมากวีฮีสิออดได้แต่งให้มีเทพองค์นี้ เกิดขึ้น แต่มิใช่โอรสของเทวีอโฟร์ไดที่เลย เป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นตำนานของเทพผู้นี้จึงเป็นนักกวี ชาวโรมันเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น และจะมีเฉพาะตำนานของโรมันเท่านั้นที่มีเรื่องราวของเทพองค์นี้ปรากฏอยู่


ตามตำนานที่ยอมรับทั่วไปกล่าวว่า อีรอสเป็นเทพ"ติดแม่" เป็นที่สุด เมื่อมีเทวีอโฟร์ไดที่อยู่ณ ที่ใดอีรอสก็ปรากฏอยู่ ณ ที่นั้นด้วย อันเป็นข้อเปรียบถึงธรรมดาแห่ง ความงามและกามวิสัยนั่นเอง อีรอสถือลูกศรแห่ง กามฉันท์กับคันธนูน้อยเป็นอาวุธ สำหรับยิงเสียบหัวใจของเทพและมนุษย์ให้เกิดความปรารถนาเร่าร้อนไปด้วยความ พิศวาส โดยที่ในชั้นเดิมเธอเป็นเด็กเยาว์อยู่เป็นนิตย์ไม่มีวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องมีเทพน้อยอีกองค์ หนึ่งอุบัติขึ้นเพื่อเป็นเพื่อนเล่นและบริวารของเธอ เรียกว่า แอนทีรอส กำเนิดของแอนทีรอสนั้นมีตำนานเล่าไว้ดังนี้

..เมื่อไม่เห็นอีรอสเจริญวัยขึ้นเสียเลย อโฟรไดที่ปราร กับธีมิส เทวีแห่งความยุติธรรมว่า อีรอสบุตรของเธอ ทำอย่างไรจึง จะเลี้ยงดูเธอให้โตขึ้นได้ ธีมิสชี้แจงว่า เหตุที่อีรอสไม่เติบโต ก็เพราะเธอขาดเพื่อนเล่นแก้เหงา ถ้ามีน้องเกิดขึ้นสักองค์หนึ่ง เธอคงจะ โตขึ้นอีกมาก ต่อมาในไม่ช้าแอนทีรอสก็เกิดขึ้น  ายหลังแต่นั้นอีรอสก็เติบโตแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว (ถึงกระนั้นรูปคิวพิดหรืออีรอส ที่เขียนและแกะสลักกันขึ้นทั่วไปก็ไม่พ้นรูปเด็ก) แอนทีรอสนอกจากจะเป็นเพื่อนเล่นของอีรอสแล้ว ยังถือกันว่าเป็นเทพบันดาลให้มี การรักตอบด้วย


เรื่องของเทพ อีรอสกับนาง ไซคิ ซึ่งจะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดเรื่องหนึ่งในเทพปกรณัมกรีกโรมัน ด้วย เป็นเรื่องที่จับใจและให้คติน่าคิดหลายทำนอง สุดแต่ผู้อ่านผู้ฟังจะคิดเห็นตามอัธยาศัย โดยเฉพาะเรื่องนี้เป็นเรื่องรักของเทพอีรอส เอง ผู้มีฤทธิ์จะบันดาลให้ใครรักใครก็ได้ประการหนึ่ง และชื่อนาง ไซคิ (Psyche) ตัวเอกของเรื่องนั้นก็เผอิญเป็นคำเดียวกันกับ คำที่หมายถึง จิตใจหรือดวงวิญญาณอีกประการหนึ่งด้วย หรืออาจกล่าวว่า เทพปกรณัมกรีกอุปโลกน์นางไซคิให้หมายแทนลักษณะของ ดวงวิญญาณก็ได้ บรรยายตามเรื่องที่เล่าในปกรณัมนั้นว่า


ในกาลครั้งหนึ่ง กษัตริย์องค์หนึ่งของกรีกมีธิดา 3 องค์ ล้วนทรงสิริโฉมงามสะคราญ แต่ความงามของ 2 องค์พี่รวมกันจะเทียม เท่าด้วยความงามองค์น้องสุดก็หาไม่ ธิดาองค์หลังสุดนี้ทรงนามว่า ไซคิ เป็นเจ้าของความงามอัน ลือเลื่องเฟื่องฟุ้งยิ่งนัก ถึงกับใคร ๆ พา กันยกย่องเทิดทูนจนลือกระทำบูชาเทวีอโฟร์ไดที่ เจ้าแม่แห่งความงามเสีย เป็นเหตุให้ศาลของเจ้าแม่เงียบเหงาวังเวง แท่นที่บูชา เจ้าแม่ก็ว่างเปล่าหาผู้ใดจะเข้าไปบวงสรวงมิได้ แม้แต่แขกเมืองก็ พากันผ่านศาลเจ้าแม่ไปชมความงามของไซคิกันหมดสิ้น เจ้าแม่ ริษยานวลอนงค์ยิ่งนัก คิดใคร่จะแกล้งนางไซคิให้ตกต่ำ ด้วยความอัปยศ เพื่อมิให้คนทั้งปวงยกย่องเทิดทูนและใฝ่ฝันถึงนางอีกต่อไป เจ้าแม่จึงเรียกอีรอสเทพบุตรมาบอกความ ประสงค์ของเจ้าแม่ให้ทราบ โดยสั่งให้อีรอสไปทำให้นางไซคิหลงรักสัตว์อุบาทว์ทรลักษณ์สัก คนหนึ่ง อีรอสกระทำตามเจ้าแม่สั่ง แต่ผลปรากฏใน ายหลังกลับกลายเป็นว่า "สัตว์อุบาทว์ทรลักษณ์" ที่ไซคิจะต้อง หลงรักนั้นได้แก่ อีรอสเอง ! ในอุทยานของเจ้าแม่อโฟร์ไดที่มีน้ำพุอยู่ 2 แอ่ง แอ่งหนึ่งเป้นน้ำหวาน อีกแอ่งเป็นน้ำขม น้ำพุหวานเป็นน้ำสำหรับ บันดาลความ ชื่นบาน ส่วนน้ำขมสำหรับบันดาลความขมขื่นระทมใจ ในครั้งแรกอีรอสตักน้ำพุทั้งสองชนิดบรรจุกุณโฑ ชนิดละใบ นำไปยังห้องที่ไซคิ หลับอยู่ อีรอสเอาน้ำขมในกุณโฑประพรมลงบนโอษฐ์ไซคิแล้ว จึงเอาปลายศรบันดาลความ พิศวาสสะกิดสีข้างของนางในบัดดลไซคิก็ สะดุ้งตื่น ถึงแม้ว่าอีรอสจะมิได้ปรากฏองค์ให้นางเห็น แต่ด้วยอารามลืมองค์ เธอจึงทำศรสะกิดองค์เธอเองด้วย เพราะตกใจและเธอก็ตก ห้วงรักนางไซคิด้วยอำนาจศรของเธอเองตั้งแต่บัดนั้น เธอเอาน้ำพุหวานรดลงบนเรือนผมของไซคิ แล้วก็ผละผินบินออกจากที่นั้นไป


เวลาผ่านไป ไซคิก็ยิ่งเหงาเปล่าเปลี่ยวใจไม่มีผู้ใดใฝ่ฝันจะขอวิวาห์ด้วย สายตาคนทั้งหลายยังคงตะลึงลาน ในรูปโฉมและ คำคนยังแจ้วจำนรรจาสรรเสริญนางยังมีอยู่ แต่มิมีใครสู่ขอนางเป็นคู่ชีวิต เนื่องจากใคร ๆ ก็พากันเกรง นางอยู่สุดเอื้อมเหมือน กันหมด พี่สาวทั้งสองของนางได้แต่งงานไปแล้วกับเจ้ากรีกต่างนคร ส่วนไซคิยังคงอยู่เดียว เปลี่ยวใจต่อมาอีกเป็นเวลานาน จนบิดามารดาของนางเกิดปริวิตกเกรงว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีความบกพร่องอะไร สักอย่างหนึ่ง ซึ่งตนได้กระทำลงไปโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เทพเจ้าโกรธถึงบันดาลโทษให้ปรากฏเช่นนี้ ท้าวเธอจึง บวงสรวงเสี่ยงทายคำพยากรณ์แห่งเทพอพอลโล และได้รับคำพยากรณ์ว่า นางจะได้คู่ครองเป็นมนุษย์ปุถุชนก็หาไม่ คู่ครองของนางใน ายหน้านั้นคอยนางอยู่แล้วบนยอดเขาขุนเขา เป็นอมนุษย์ซึ่งไม่มีมนุษย์หรือเทพองค์ใดจะขัดขืน หรือต้านทานได้


คำพยากรณ์นี้เป็นเหตุให้เกิดความเศร้าสลดแก่คนทั้งหลายและบิดามารดาของนางไซคิอย่างหาที่เปรียบมิได้ แต่ตัวนางเอง หาย่อท้อไม่ นางกลับเห็นว่า เมื่อวาสนา ชะตากรรมของนางจะต้องเป็นเช่นนั้นก็ตาม บิดามารดาของนางจึงจัดแจงส่งนางขึ้นไป บนยอดเขา ประกอบด้วยขบวนแห่แหนดั่งแห่ศพฉะนั้น ฝูงคนทั้งปวงที่ตามขบวนแห่ก็ ล้วนแต่เศร้าหมอง มีใจคอห่อเหี่ยวอาลัย เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว บิดามารดาของนางและคนทั้งปวงก็พากันกลับ พร้อมด้วยใจละห้อยละเหี่ยยิ่งกว่าตอนขาไปอีก


นางไซคิยืนถอนสะอื้นด้วยความใจหายและว้าเหว่โดยลำพังตนอยู่บนชะง่อนหิน ในบัดดลเทพเสฟไฟรัสเจ้าแห่งลมตะวันตกก็บรรจงโอบอุ้มร่างไซคิขึ้นจากยอดเขา และหอบนางให้เลื่อนลอยลงสู่สถานแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยติณชาติเขียวขจี ห้อมล้อม ด้วยนานารุกขพฤกษาชาติร่มรื่น นางเหลียวมองดูรอบข้างเห็นที่แห่งหนึ่งประกอบด้วย ซุ้มไม้ซึ้งตาดูชอบกล นางจึงเยื้องกรายเข้าไป เห็นธารน้ำพุใสไหลรินดังธารแก้วผลึก และถัดจากนั้นไปมีตำหนักหนึ่งตั้งตระหง่านตระการตา ไซคิค่อยมีใจเบิกบานและอาจหาญ ขึ้น จึงเดินเข้าไปในตำหนัก  ายในตำหนักล้วนแล้วด้วยทัศนา าพอันวิจิตร หาที่เปรียบมิได้ในบรรดาที่มีในมนุษย์โลก แต่ไม่มีสิ่ง มีชีวิตใด ๆ ปรากฏอยู่ในที่นั้นเลย


คิวปิด คือ เทพแห่งความรัก

home ผู้จัดทำ เทพีอาเธน่า เทพีอาเทมิส เทพอีรอส เทพีเอรอส เทพแพน
เทพฮาเดส เทพซีอุส เทพีวีนัส เทพีดิมิเทอร์ เทพีฮีรา เทพฮีพีสทัส เทพโปเซดอน

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 13 กุม าพันธ์ 2550