นี่คือสื่อการเรียนรู้อีกขั้นหนึ่งของวิชาฟิสิกส์  ที่จะทำให้คุณไม่รู้สึกเบื่อ  กับการเรียนวิชาฟิสิกส์อีกต่อไป  เพราะเรามีสื่อดี ๆ ให้คุณเรียนรู้นอกห้องเรียน ทั้งเนื้อหา แบบทดสอบ และข้อสอบในแบบต่าง ๆ มาให้ศึกษาและทดสอบกัน... เรียนสนุก ฉลาดคิด พร้อมเทคนิคไปกับ  SHINE...

 

     กระแสไฟฟ้า

     แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
     การนำไฟฟ้า
     กระแสไฟฟ้าในตัวนำ
     กฎของโอห์มและความต้านทาน
     สภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า
     ไดโอด
     แรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์
     วงจรและเทคนิคการวิเคราะห์วงจร
     เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
     พลังงานไฟฟ้าและกำลัง
     วงจรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
















 

   Homepage  » เนื้อหา » วงจรและวิธีการวิเคราะห์วงจร

  ความต้านทานที่ต่อแบบวิทสโตนบริดจ์ (Wheatstone  Bridge)

       
ถ้าต่อความต้านทานแล้วไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานสายกลาง คือ R5  เรียก  ความต้านทานลักษณะนี้ว่า  “การต่อแบบวิทสโตนบริดจ์”  (Wheatstone  Bridge)

            จากวงจร  เป็นวิทสโตนบริดจ์   ดังนั้น  ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทาน  R5   

          จากกฎของโอห์ม

                                                  V          =       IR

          จะได้

                                                  Vax      =       Va   -   Vx        =         I1R1                  .....… ( 1 )

                                                  Vay      =       Va   -   Vy        =         I2R4                  .....… ( 2 )

          และ

                                                  Vxy      =       Vx   -   Vy        =         IR5        =       0

                                                   Vx       =       Vy 

          ดังนั้น  สมการ  ( 1 )  =  ( 2 ) ;

                                        Va  -  Vx         =        Va   -   Vy

                                             I1R1          =        I2R4                  .....… ( 3 )
          และ
                                               I1R2          =        I2R3                  .....… ( 4 )

          สมการ  ( 3 ) / ( 4 )  จะได้
 
                                                  
                                            R1R3        =             R2R4


          
แสดงว่า …   วงจรไฟฟ้าที่จัดต่อเป็นวิทสโตนบริดจ์    เมื่อผลคูณของความต้านทานที่อยู่ตรงข้ามมีค่าเท่ากัน   
จึงเขียนวงจรไฟฟ้าใหม่ได้ดังรูป ...

          จะเห็นว่า ... ศักย์ไฟฟ้าที่จุด  เท่ากับศักย์ไฟฟ้าที่จุด  y แน่นอน  ดังนั้น  ถ้ามีความต้านทาน  หรือ  แอมมิเตอร์  หรือลวดตัวนำ   มาโยงระหว่าง  กับ  y   ย่อมไม่มีความหมาย   คือ   เอาออกได้เลย   โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลง  เรียกลักษณะนี้ว่า  Wheatstone  Bridge

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.