นี่คือสื่อการเรียนรู้อีกขั้นหนึ่งของวิชาฟิสิกส์  ที่จะทำให้คุณไม่รู้สึกเบื่อ  กับการเรียนวิชาฟิสิกส์อีกต่อไป  เพราะเรามีสื่อดี ๆ ให้คุณเรียนรู้นอกห้องเรียน ทั้งเนื้อหา แบบทดสอบ และข้อสอบในแบบต่าง ๆ มาให้ศึกษาและทดสอบกัน... เรียนสนุก ฉลาดคิด พร้อมเทคนิคไปกับ  SHINE...

 

     กระแสไฟฟ้า

     แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
     การนำไฟฟ้า
     กระแสไฟฟ้าในตัวนำ
     กฎของโอห์มและความต้านทาน
     สภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า
     ไดโอด
     แรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์
     วงจรและเทคนิคการวิเคราะห์วงจร
     เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
     พลังงานไฟฟ้าและกำลัง
     วงจรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
















 

   Homepage  » เนื้อหา »  ไดโอด

        
 ไดโอด   เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป      ที่จำกัดทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า
มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว   และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม    ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอด
เป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์  เช่น ใช้เป็น
อุปกรณ์กรองแรงดันไฟฟ้าในวงจรภาคจ่ายไฟ  เป็นต้น

 ไดโอดตัวแรก   เป็นอุปกรณ์หลอดสุญญากาศ  (vacuum  tube  หรือ  valves)  แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไป
ส่วนใหญ่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ   สารกึ่งตัวนำ   เป็นสารที่มีคุณสมบัติระหว่างตัวนำและฉนวน  เช่น   ซิลิกอน   หรือ
เจอร์เมเนียม 
โดยที่อุณหภูมิต่ำ  แรงยึดเหนี่ยวระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนค่อนข้างมาก จึงไม่มีอิเล็กตรอนอิสระ

ไดโอด   เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ  p-n   สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้
ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode ; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโทด
(Cathode; K)  ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n
 

     ชนิดของสารกึ่งตัวนำ  เนื่องจากสารกึ่งตัวนำที่บริสุทธิ์  จะมีอิเล็กตรอนอิสระน้อย กระแสไฟฟ้าที่ผ่านจึงมีน้อยถ้าต้องการให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก   ต้องทำการเจือปนอะตอมของธาตุอื่นลงไปในสารเหล่านั้น   เรียกว่าสารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังมีสารกึ่งตัวนำแบบสารประกอบ

    
สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท

    
1.  สารกึ่งตัวนำประเภท  N - type    เป็นสารกึ่งตัวนำ     ที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของ
สารหนู
        ทำให้มีอิเล็กตรอนอิสระขึ้นมาหนึ่งตัว      ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ในผลึก     จึงยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้
 เช่นเดียวกับตัวนำทั่วๆ ไป
    
2.  สารกึ่งตัวนำประเภท  P - type     เป็นสารกึ่งตัวนำ   ที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของ
อะลูมิเนียม
 
  ทำให้เกิดที่ว่างเรียกว่า  Hole  ขึ้น  อิเล็กตรอนที่อยู่ข้าง  Hole จะเคลื่อนที่ไปอยู่ใน  Hole ทำให้ดูคล้ายว่า  Hole  เคลื่อนที่ได้ในทิศทางตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน  จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.