นี่คือสื่อการเรียนรู้อีกขั้นหนึ่งของวิชาฟิสิกส์  ที่จะทำให้คุณไม่รู้สึกเบื่อ  กับการเรียนวิชาฟิสิกส์อีกต่อไป  เพราะเรามีสื่อดี ๆ ให้คุณเรียนรู้นอกห้องเรียน ทั้งเนื้อหา แบบทดสอบ และข้อสอบในแบบต่าง ๆ มาให้ศึกษาและทดสอบกัน... เรียนสนุก ฉลาดคิด พร้อมเทคนิคไปกับ  SHINE...

 

     กระแสไฟฟ้า

     แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
     การนำไฟฟ้า
     กระแสไฟฟ้าในตัวนำ
     กฎของโอห์มและความต้านทาน
     สภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า
     ไดโอด
     แรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์
     วงจรและเทคนิคการวิเคราะห์วงจร
     เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
     พลังงานไฟฟ้าและกำลัง
     วงจรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

















 

   Homepage  » เนื้อหา »  แรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า

ความต่างศักย์ไฟฟ้า  (electrical potential difference)

 
      
ความต่างศักย์ (Potential difference)  คือ ปริมาณในฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานในการย้าย
  วัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด     โดยต้านแรงที่มากระทำ    คำนี้มักใช้เป็นคำย่อของคำว่า   ความต่างศักย์ไฟฟ้า 
  (
electrical potential difference) กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ความต่างศักย์ คือ ความแตกต่างของปริมาณหนึ่ง
  ระหว่างจุดสองจุดในสนามเวกเตอร์อนุรักษ์   ตัวอย่างเช่น ...
        ในกลศาสตร์     ความต่างศักย์โน้มถ่วง   ระหว่างจุดสองจุดบนโลกเกี่ยวข้องกับพลังงาน   ในการย้ายวัตถุจาก
  จุดหนึ่งไปยังอีกจุดภายใต้สนามโน้มถ่วงของโลก  มีหน่วยเป็น จูลต่อกิโลกรัม
        ในวิศวกรรมไฟฟ้า    ความต่างศักย์ไฟฟ้า  คือ  พลังงานในการย้ายประจุไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดภายใต้
สนามไฟฟ้าสถิต
  มีหน่วยเป็น  จูลต่อคูลอมบ์ หรือ โวลต์
        ในระบบของไหล  ความต่างศักย์ คือ ความแตกต่างของความดัน มีหน่วยเป็น พาสคัล
        ในระบบอุณหภูมิ  ความต่างศักย์ คือ ความแตกต่างของอุณหภูมิ  มีหน่วยเป็น  เคลวิน

          จากนิยามของแรงเคลื่อนไฟฟ้า  ความต่างศักย์ภายนอกเซลล์  และความต่างศักย์ภายในเซลล์

         กำหนดให้

                           R       =         ความต้านทานที่ต่อกับเซลล์ไฟฟ้า(โอห์ม)
                           r         =         ความต้านทานภายในของเซลล์ไฟฟ้า(โอห์ม)
                           E       =         แรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้า(โวลต์)
                          VR     =         ความต่างศักย์ไฟฟ้าภายนอกเซลล์(โวลต์)
                          Vr       =         ความต่างศักย์ภายในเซลล์(โวลต์)

         จะได้ว่า
                                    E             =              VR   +   Vr   (เมื่อ  V   =   IR)
                                    E             =              IR   +   Ir
                                    E             =              I(R  +  r)
         ดังนั้น

         ถ้ามีเซลล์ไฟฟ้า (E) หลายเซลล์  มีตัวต้านทานหลายตัว  เขียนสมการได้ดังนี้

   

         เมื่อ
                                    SE             =         แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวม
                                    S(R + r)    =         ความต้านทานภายนอกและภายในรวม 
                                      I               =         กระแสไฟฟ้าในวงจร

         ข้อสังเกต   ระแสไฟฟ้า (I) ที่ผ่านในวงจรไฟฟ้า ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจากเซลล์ไฟฟ้า จะมีทิศทาง
  ออกจากขั้วบวกของเซลล์ไฟฟ้าและเข้าสู่ขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้า

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.