ระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ
         ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น  ตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบันนี้มีหลาย ๆ  ตัว  ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงระบบปฏิบัติที่มีใช้กันอยู่โดยเริ่มจากระบบปฏิบัติการที่ชื่อ  MS-DOS  ก่อน

         1. ระบบปฏิบัติการ  MS-DOS  (Microsoft-Disk  Operating  System)
              ระบบปฏิบัติการ  MS-DOS  ของบริษัทไมโครซอฟต์ที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า ๆ ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้งานจำเป็นต้องรู้จักและใช้คำสั่งต่าง ๆ  เป็น  เนื่องจากต้องป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์โดยตรงจากแป้นพิมพ์  ถ้าผู้ใช้ไม่รู้จักคำสั่งหรือจำไม่ได้  ก็ไม่สามารถใช้งานได้เลย
             คำสั่งของ  DOS 
             คำสั่งที่สามารถใช้ในระบบปฏิบัติการ  DOS  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
            1. คำสั่งภายใน  (Internal  Command)  เป็นคำสั่งที่อยู่ในระบบของ  DOS  อยู่แล้ว  โดยหลังจากที่โปรแกรมเริ่มทำงานแล้วหรือเริ่มจากที่เราเปิดเครื่อง  คำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักของเครื่อง
            2. คำสั่งภายนอก(External  Command)  เป็นคำสั่งที่อยู่นอกระบบ  DOS  โดยจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของไฟล์คำสั่งในดิสก์  ถ้าต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้  จำเป็นต้องมีคำสั่งต่าง ๆ  เหล่านี้อยู่ในดิสก์ด้วย  เช่น  คำสั่ง
                FORMAT คือ คำสั่งที่ใช้สำหรับจัดเตรียมดิสก์ใหม่ให้ถูกต้องตามระบบก่อนนำไปใช้งาน (บันทึกข้อมูลใหม่)
                DISKCOPY คือ คำสั่งที่ใช้สำหรับคัดลอกข้อมูลทั้งหมดจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งไปยังอีกแผ่นหนึ่ง
                CHKDSK คือ คำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบดิสก์เก็บข้อมูล  และให้รายงานความผิดพลาดออกมาทางจอภาพ



รูปแสดงการทำ้งานระบบปฏิบัติการ Ms-DOS


          2. ระบบปฏิบัติการวินโดร์ (Windows)
              ระบบปฏิบัติการวินโดร์เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปภาพ  สัญลักษณ์  ในการติต่อกับผู้ใช้งาน  (Graphics  User Interface  :  GUI)  ผู้ใช้สามารใช้งานผ่านรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ  โดยใช้เมาส์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  ทำให้มีความสะดวกต่อการใช้งานระบบปฏิบัติการนี้จะกล่าวถึงโดยละเอียดในบทต่อไป
          3. ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix)
              ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีการทำงานกับผู้ใช้หลายคนกับข้อมูลหลายไฟล์ในเวลาเดียวกัน  (Multitasking / Multi  User)  ซึ่งนิยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย  (Work  Station)  ในระบบเครือข่าย
          4. ระบบปฏิบัติการ  OS / 2
              ระบบปฏิบัติการ  OS /  2  พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มกับบริษัทไมโครซอฟต์  เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง  PS/2  ของบริษัท  IBM
          5. ระบบปฏิบัติการ  Apple OS  หรือ  Multifinder
              ระบบปฏิบัติการ  Apple OS  หรือ  Multifinder  ใช้กับเครื่องแมคอินทอชของบริษัท  Apple  ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมนำมาใช้ในงานด้านออกแบบสิ่งพิมพ์
          6. ระบบปฏิบัติการ  MVS
              ระบบปฏิบัติการ  MVS  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม  ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัท  IBM
          7. ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)
              ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนำต้นแบบมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์โดยนายลีนัส  โทรวัลด์ส  (Linus  Trovalds)  ชาวฟินแลนด์  ซึ่งเขาต้องการพัฒนาให้มีความสามารถมากกว่าระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่เขาเคยใช้อยู่
              ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันโดยเฉพาะในระบบเครือข่าย  (Networking)  เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยชอร์สโค้ด (Open  Sourcw  Code)  ซึ่งผู้ใช้สามารถนำมาใช้และพัฒนาได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
              ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทยแล้ว  และคงจะเป็นที่แพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้
              คุณสมบัติของลีนุกซ์  ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มีคุณสมบัติที่เด่นกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ดังนี้
              1. มัลติทาสกิ้ง  (Multi-tasking)  เป็นคุณสมบัติที่สามารถใช้งานหรือทำงานหลายงานในเวลาเดียวกันได้อย่างดี
              2. มัลติยูสเซอร์  (Multi-user)  เป็นคุณสมบัติที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้พร้อม ๆ กัน หลาย ๆ คนได้
 
 
 
ที่มา  :  หนังสือคอมพิวเตอร์ เพื่องานอาชีพ 2001-0001 สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ จำักัด  
        :  http://www.ssbas.ac.th/Download/Work%20Project/Dos.Htm
Created by : Srinakarindra the princess mother school, roi-et
best preview 1024 x 768 pixels