พันท้ายนรสิงห์

 

 

พันท้ายนรสิงห์นั้นนับเป็นเอกบุรษของชนชาติไทย โดยท่านเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ ทรงครองราช  ท่านมีคุณลักษณะเด่นในด้านเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตจงรักภักดี และรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต เป็นแบบอย่างที่ผู้ใหญ่บิดามารดาไว้ใช้อบรมสั่งสอนลูกหลานเป็นเวลาช้านาน เรื่องของท่านได้มีการเล่าขานเป็นที่จดจำกันต่อๆมารวมกว่า ๓๐๐ ปี

               

                เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในปีพ.ศ. ๒๒๔๗ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี(ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชยมีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ จนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชกาลรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิด

 

 การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่าความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราช ประเพณี

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาทจึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตนแม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียง ตานำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล

 

 ภายหลังเหตุการณ์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงโปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพ และพระราชทานเงินทองสิ่งของแก่บุตรภรรยาพันท้ายนรสิงห์เป็นจำนวนมากแล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่งสมควรจะขุดลัดตัดตรง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี และจะนำความเสื่อมเสียมาให้พระมหากษัตริย์จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้กะเกณฑ์เลกหัวเมืองจำนวนสามหมื่นคนไป ขุดคลองโคกขามให้ลัดตรงกำหนดให้ลึก ๖ ศอก ปากคลองกว้าง ๘ วา พื้นคลองกว้าง ๕ วาให้พระราชสงครามเป็นแม่กองอำนวย การขุดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม พระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ในชุมนุมพระนิพนธ์ว่าพระราช-สงครามให้ขุดแต่ปากคลองทางลำน้ำท่าจีนมาจนถึงตำบลโคกขามแต่การขุดค้างอยู่มาสำเร็จลงในรัชกาลต่อมา ปรากฎเป็นคลองตรงและกว้างใหญ่เรียกว่าคลองมหาชัยอยู่ตราบเท่าอยู่ทุกวันนี้

เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ยังปรากฏอยู่ในโคลงพระราชพงศาวดาร  ซึ่งแต่เดิมโคลงพระราชพงศาวดาร  นั้นมีจำนวน ๒๗๖ บท มีภาพประกอบเรื่องพงศาวดาร๙๒ แผ่น พระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าฯโปรดให้ช่างเขียนตามเรื่องในพระราชพงศาวดารทรงคัดเลือกเป็นตอนๆ รูปขนาดใหญ่มีจำนวนโคลงประกอบรูปละ๖ บท รูปขนาดกลาง และขนาดเล็กมีโคลงประกอบ รูปละ ๔ บท ทรงพระราชนิพนธ์บ้างโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งสันทัดบทกลอนแต่ถวายบ้าง ได้สร้างสำเร็จและได้โปรดให้นำไปประดับพระเมรุท้องสนามหลวงให้ประชาชนชม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ทั้งยังได้พิมพ์บทโคลงเป็นเล่มพระราชทานเป็นของแจกในงานพระเมรุคราวนั้นด้วย ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้วจึงโปรดให้แบ่งรูปภาพและเรื่องพระราชพงศาวดารไปประดับไว้ ณพระที่นั่งอัมพรวินิจฉัยบ้าง ส่งไปประดับพระที่นั่งวโรกาสพิมาน ณพระราชวังบางปะอินบ้าง  เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์อยู่ในรูปที่ รูปที่ ๕๖ ที่มีชื่อว่า แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต  โดยโคลงประกอบภาพนั้น ผู้ทรงพระราชนิพนธ์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พระเจ้าน้องเธอพระ เจ้าวรวรรณากร)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๒    โดยมีจุดประสงค์ของการนิพนธ์   เพื่อสดุดีวีรกรรมของข้าราชการเช่น พันท้ายนรสิงห์ ผู้มีความรับผิดชอบสูงและสละชีวิตเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ ของกฎหมายไว้

 

 โดยมีรายละเอียดของโคลงกลอนดังต่อไปนี้

    สรรเพชญที่แปดเจ้า

อยุธยา

เสด็จประพาสทรงปลา

ปากน้ำ

ล่องเรือเอกไชยมา

ถึงโคก ขามพ่อ

คลองคดโขนเรือค้ำ

ขัดไม้หักสลาย

 

    พันท้ายตกประหม่าสิ้น

สติคิด

โดดจากเรือทูลอุทิศ

โทษร้อง

พันท้ายนรสิงห์ผิด

บทฆ่า เสียเทอญ

หัวกับโขนเรือต้อง

คู่เส้นทำศาล

 

    ภูบาลบำเหน็จให้

โทษถนอม ใจนอ

พันไม่ยอมอยู่ยอม

มอดม้วย

พระโปรดเปลี่ยนโทษปลอม

ฟันรูป แทนพ่อ

พันกราบทูลทัดด้วย

ท่านทิ้งประเพณี

 

    ภูมีปลอบกลับตั้ง

ขอบรร ลัยพ่อ

จำสั่งเพชฌฆาตฟัน

ฟาดเกล้า

โขนเรือกับหัวพัน

เซ่นที่ ศาลแล

 ศาลสืบกฤติคุณเค้า

คติไว้ในสยาม

 
 
 ความหมายของโคลงทั้ง๔ บท มีดังต่อไปนี้

โคลงบทที่ ๑  ความว่า พระเจ้าสรรเพชญ์ที่แปดกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จประพาสทรงตกปลาที่ปากน้ำโดยล่องเรือพระที่นั่งเอกไชยมาถึงตำบลโคกขามลำคลองที่คดเคี้ยวทำให้หัวเรือพระที่นั่งขัดเข้ากับกิ่งไม้หักลง

โคลงบทที่๒  ความว่าพันท้ายนรสิงห์ตกประหม่าจนขาดสติคิดทรงโดดลงจากเรือทูลขอพระราชทานโทษประหารชีวิตตามความผิดในกฎมนเทียรบาล ให้ตัดศีรษะตั้งคู่กับโขนเรือไว้ที่ศาลเพียงตา

       โคลงบทที่ ๓  ความว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชทานอภัยโทษให้แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมรับจะยอมตายแม้นพระองค์จะโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์แล้วฟันรูปปั้นแทนแต่พันท้ายนรสิงห์ทัดทานว่าจะผิดพระราชประเพณี

       โคลงบทที่ ๔  ความว่า สมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อได้ฟังเหตุผลของพันท้ายนรสิงห์เช่นนั้นจึง จำพระทัยรับสั่งให้เพชฌฆาตประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ แล้วนำโขนเรือกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ ไปตั้งบวง สรวงไว้ที่ศาลเพียงตาเพื่อเป็นการประกาศคุณความดีของพันท้ายนรสิงห์ให้คนได้เห็นเป็นแบบอย่างต่อไป 

ศัพท์ที่ควรทราบในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

        ทรงปลา      =              ตกปลา

        โขนเรือ       =              ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป

        กฤติคุณ       =              กิตติคุณ  หมายถึง  ชื่อเสียงโดยคุณงามความ

 

 

 ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง

        พันท้ายนรสิงห์เป็นตัวอย่างของข้าราชการที่มีความรับผิดชอบอย่างสูงได้สละชีวิตเพื่อ รักษาความศักดิ์สิทธ์ของกฎหมายไว้ วีรกรรมเช่นนี้จะช่วยปลุกสำนึกให้เยาวชนเห็นคุณค่าของการเสียสละเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเด่นชัด

        บทร้อยกรองในโครงพระราชพงศาวดาร  ใช้ถ้อยคำสั้น กระชับ แต่ได้ใจความมากทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน

        วีรกรรมในเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต)   จะช่วยปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนรับผิดชอบในหน้าที่เพื่อชีวิตความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย

 

ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่อง

        ผู้ที่ทำหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่อย่างเต็มความสามารถ  เมื่อมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นจะได้รับความเห็นใจและการให้อภัยจากผู้อื่น

        ชื่อเสียงและคุณงามความดีเป็นสิ่งยั่งยืนยิ่งกว่าชีวิตดังคำกล่าวที่ว่า ตัวแทนแต่ชื่อยัง

        ผู้ที่สำนึกผิดเป็นผู้ที่ควรได้รับการอภัย

        ผู้ที่ปฏิบัติยึดถือกฎระเบียบนับว่าเป็นผู้ประเสริฐ

 

 

 

เก่งอ้ะ ทำได้ไง

Laughing

(ขอบคุนสำหรับเนื้อหาค่ะ)

ได้ความรู้ดี ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะครับ ;')

กำลังหาอยู่พอดีเลย เปนแหล่งอ้างอิง เขียนได้ดีมากครับ ขอบคุณมั้กๆๆ

ได้ความรู้มากๆเลยครับ

 ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ


ได้ความรู้มากครับ ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 400 คน กำลังออนไลน์