ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รูปภาพของ bplphenkae
 
4. ประเทศมาเลเซีย (MALAYSIA)

มาเลเซีย  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก อยู่ห่างกันประมาณ 400 ไมล์โดยมีทะเลจีนใต้ขวางกั้น เดิมเป็นดินแดนที่มีการปกครองต่างหากจากกัน ได้มารวมเป็นประเทศเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2506มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 130,000 ตารางไมล์ มาเลเซียตะวันตก ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ในคาบสมุทรมลายูหรือมลายา ติดชายแดนทางใต้ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ50,800 ตารางไมล์ ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 11 รัฐ ตอนกลางเป็นที่ราบสูง มีภูเขาใหญ่หลายเทือกปกคลุมด้วยป่าทึบบริเวณกว้างขวาง แถบริมฝั่งทะเลทั้ง 2 ข้างเป็นที่ราบดินอุดมสมบูรณ์ ชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นหาดเลนยาวพื้นที่มีหล่มบึงมากส่วนด้านตะวันออกเป็นหาดทรายยาวเหยียด ไม่เหมาะแก่การเป็นท่าเรือ มาเลเซียตะวันออก ได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของเกาะบอร์เนียว มีเนื้อที่ประมาณ 70,200ตารางไมล์ ประกอบด้วยรัฐ 2 รัฐคือซาราวัก และซาบาห์ (บอร์เนียวเหนือ)พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่สูง ประกอบด้วยป่าทึบและภูเขาสูงใหญ่ บางยอดเขาสูงเกินกว่าหมื่นฟุตมีที่ราบขนาดย่อมอยูตามริมฝั่งทะเล แม่น้ำมักเป็นสายสั้นๆ และไหลเชี่ยวผ่านหุบเขาที่แคบและลาดชันไปออกทะเลทางทิศตะวันตก

ลักษณะภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุมมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ประมาณ 20องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วงอุณหภูมิที่สูงสุดอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ช่วงที่มีความแห้งแล้งที่สุด อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน

เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์
เมืองศูนย์กลางธุรกิจ อิโปห์ มาลักกา บูหารู คลาง ปีนัง กัวลาลัมเปอร์
เมืองท่า Port Klang และปีนัง

การเมืองการปกครอง
ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐและปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบการปกครองคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี

การแบ่งเขตการปกครองมาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan)เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง(ในวงเล็บ) ได้แก่
รัฐมาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมาเลย์)
• กลันตัน (โกตาบารู)
• เกดะห์ (ไทรบุรี) (อลอร์สตาร์)
• ตรังกานู (กัวลาตรังกานู)
• เนกรีเซมบีลัน (สเรมบัน)
• ปะหัง (กวนตัน)
• ปะลิส (กังการ์)
• ปีนัง (จอร์จทาวน์)
• เประ (อีโปห์)
• มะละกา (มะละกา)
• ยะโฮร์ (ยะโฮร์บาห์รู)
• สลังงอร์ (ชาห์อาลัม)

มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ)
• ซาบาห์ (โกตากินะบะลู)
• ซาราวัก (กูจิง)

ระบอบการปกครอง
มาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริยเป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศแบบสหพันธ์รัฐ(Federation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ คือ เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรีเคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค
รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดีอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนิติบัญญัติในแต่ละรัฐ รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม มีพรรคร่วมรัฐบาลที่เรียกว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional-BN) ซึ่งมีพรรค UMNO (United Malays National Organisation) เป็นแกนนำ ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ตวนกู จาฟา อัลมารุม ตวนกู อับดุล ราห์มาน (Tuanku Ja'afar AlmarhumTuanku Abdul Rahman, Yang Di Pertuan Agong ) เป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเลือกตั้งจากสุลต่านผู้ปกครองรัฐ ซึ่งมีใน 9 รัฐ (ยกเว้นปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก) ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี

นายกรัฐมนตรี Y.A.B. Dato' Seri Dr. Mahathir bin Mohammad ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2524
 
วันชาติ 31 สิงหาคม

ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำมันดิบ ก๊าสธรรมชาติ ดีบุก ไม้ ทองแดง เหล็ก บ็อกไซด์ ผลผลิตทางการเกษตร ยางพารา นำมันปาล์ม โกโก้ ข้าว พริกไทย สับปะรด อุตสาหกรรมหลัก เครื่องไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิกส์ สิ่งทอ ยางพารา รถยนต์ น้ำมัน ไม้

สินค้าเข้าสำคัญ
ไม้แปรรูป เครื่องยนต์และอุปกรณ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้ไฟฟ้า สัตว์น้ำมีชีวิต ผัก ส่วนประกอบโครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้าในการผลิต
และส่วนประกอบ ไม้หมอนหนุนรางรถไฟ ดอกไม้สด อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์ผลิตภัณฑ์พลาสติก หนังดิบและหนังฟอก

สินค้าออกสำคัญ
นำมันปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางพาราไม้แปรรูป สิ่งทอ ดีบุก แก๊สธรรมชาติ นำมันปาล์ม สัตว์น้ำมีชีวิต อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป
ผักสดผลไม้ ปลาป่น รถยนต์ ขนสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สายเคเบิ้ล อิฐ

เงินสกุล
มาเลเซีย ใช้เงินสกุล ริงกิต ชื่ออักษรย่อว่า RM (MYR) เงินที่ใช้จ่ายในมาเลย์เซียมีทั้งเหรียญ และธนบัตร อัตราแลกเปลี่ยน จะขึ้นๆลงๆอยู่ประมาณที่ 10-12 บาท ค่อ 1 ริงกิต (เดือน มค. 45)เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม
ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน

การทำเหมืองแร่
แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ

การทำป่าไม้
ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)

วัฒนธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลาม
ได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ
25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4%
แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐ
จะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลาม
เป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงิน
อุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพ
ตามนโยบาย "ภูมิบุตร"
ปกครองแบบประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข

จำนวนประชากร ประมาณ 23.8 ล้านคน

พื้นที่ 330,434 ตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ พลเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อชาติมลายู (58%) นอกนั้นเป็นชาวจีน (26%) ชาวอินเดีย(7%) ชาวเขาเผ่าต่างๆ (9%) เลือดผสมมลายูกับโปรตุเกส มลายูกับฮอลันดา มลายูกับอังกฤษ

ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม(58%) พุทธ (30%) ฮินดู (8%) คริสต์เตียน เต๋า และศาสนา ประจำเผ่าของชนเผ่าส่วนน้อยในประเทศ เช่น ศาสนาของกลุ่มชาวเงาะป่าซาไก เป็นต้น

ภาษา   ที่ใช้ ภาษามาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่า ส่วนน้อยในประเทศ

ดอกไม้ประจำชาติ ดอกชบา

เขตเวลา GMT / UTC+8
 

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ      
ตึกเปโตรนาส (Petronas Twin Tower) เป็นตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงถึง 452 เมตร มีชั้นทั้งหมด 88 ชั้น โดยทางการใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของตึกนี้เป็นเจ้าของผู้ผลิตน้ำมันยี่ห้อเปโตรนาส ชื่อเดียวกับตึกนั่นเอง การออกแบบตึกได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของเสาหินทั้ง 5 ของอิสลาม นอกจากความสวยงามและความสูงของตึก ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงแล้ว ภายในตึกยังเป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี บันเทิงและแหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่อีกด้วย ขณะที่ ชั้น 4 ของตึกแห่งนี้ เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง เรียกว่า เปโตรซายน์ส (Petrosains) ที่นี่คุณจะได้ชมธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยจำลองเป็นป่า โดยการใช้ภาพสไลด์มัลติวิชั่นฉายประกอบ
 
จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square) บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นธงชาติประจำชาติมาเลเซีย ที่ได้รับการชักขึ้นสู่ยอดเสา เมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1957 เมื่อได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ส่วนฝั่งตรงข้ามกับจัตุรัสฯ เป็นอาคารสุลต่านอับดุล ซาหมัด ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซียไปแล้ว อาคารแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบ มูริส อินเดียผสมผสานกับศิลปะแบบอาหรับ ความสูงของยอดโดมมีขนาดเท่ากับ 40 เมตร และหอนาฬิกาที่ตั้งตระหง่านอวดความสวยงามของตัวตึกและในเวลากลางคืน จะมีการติดไฟระยิบระยับ
เต็มไปหมด ยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับอาคารแห่งนี้

สถานีรถไฟ KL ซึ่งจัดว่าเป็นสถานีรถไฟที่มีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ตั้งตระหง่าน
อยู่บนถนนฮาชามัดดิน (Jalan Hashamuddin) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1911 ภายนอก
สถานีสร้างแบบมูริส มีลักษณะเป็นหอสูงคล้ายมัสยิด แต่ภายในสร้างและตกแต่ง
เหมือนสถานีรถไฟวิกตอเรีย ในประเทศอังกฤษ

Wink  ขอบคุณมากคะ

รูปภาพของ bplphenkae

SmileTongue outขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชม....และขอบคุณท่านอาจารย์พูนศักดิ์  ที่ได้ให้การอบรมกับคณะครูที่โรงเรียนบ้านดอยคำลำพูนเมื่อวันที่14-15ม.ค.54  เอาไปใช้สอนนักเรียนได้สบายเลยค่าา...

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 342 คน กำลังออนไลน์