เทศกาลในฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย.-พ.ย.)

http://sobre-japon.com/wp-content/uploads/yabusame-2.jpg

16 ก.ย. เทศกาลขี่ม้ายิงธนู (Yabusame)
 ที่ศาลเจ้าทซึรุหงะโอกะ ฮะจิมังงู ในเมืองคะมะคุระ

กลาง ก.ย. เทศกาลแข่งซูโม่ ครั้งที่ 5 ในโตเกียว

 

http://www.kyushu-tourist.com/nagasaki1111.jpg

7-9 ต.ค. เทศกาลคุนจิ (Kunchi Festival)
 ของศาลเจ้าซูวะในเมืองนางาซะกิ มีระบำมังกรจีนดั้งเดิม

 

http://www.tourtooktee.com/database/upload_files/news_happy/เทศกาลทะคะยามะ.jpg

9-10 ต.ค. เทศกาลทะคะยะมะ
 แห่งศาลเจ้าฮาจิมังงุ ซึ่งมีขบวนรถสีสรรต่างๆ

กลาง ต.ค. เทศกาลนาโงย่า
 มีขบวนพาเหรดซามูไรตามถนนในเมือง

กลาง ต.ค.- พ.ย. เทศกาลชมดอกเบญจมาศ
ที่ศาลเจ้าเมหยิ และวัดอะซะคุซะในโตเกียว

17 ต.ค. เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง
ของศาลเจ้าโทโซหงุ ในเมืองนิกโก้ มีขบวนพาเหรดนักรบโบราณใส่ชุดเสื้อเกราะ

 

http://web-japan.org/kidsweb/explore/calendar/october/images/jidai1.gif

22 ต.ค. เทศกาลจิไดมัตสึริ (Jidai matsuri)
 เป็นเทศกาลของศาลเจ้าเฮอันในเกียวโต ซึ่งเป็นสุดยอดเทศกาลแฟนซี คนที่มาร่วมงานนับพันคน
จะแต่งกายเลียนแบบคนในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เดินขบวนพาเหรดไปทั่วเมืองเกียวโต

 

http://www.tourtooktee.com/database/upload_files/news_happy/เทศกาลโอคุนจิ.jpg
2

-4 พ.ย. เทศกาลโอคุนจิ
ของศาลเจ้าคะระทจึในซะหงะ ซึ่งมีขบวนพาเหรดที่มีสีสรรตระการตา

http://blogs.princeton.edu/pia/personal/kkerner/daimyo.jpg

3 พ.ย. ขบวนแห่ซามูไร (Daimyo Gyoretsu) ในเมืองฮะโกเน่

กลาง พ.ย. เทศกาลแข่งขันซูโม่ ครั้งที่ 6 ในเมืองฟุคุโอกะ

 

http://chikochoki.com/blog/wp-content/uploads/2009/12/girls-dressed-in-kimono-shichi-go-san-festival-festival-for-three-five-seven-year-old-children.jpg

15 พ.ย. เทศกาลชิจิโงซัง (Shichi-Go-San)
เป็นเทศกาลฉลองให้กับเด็กชายวัย 3 และ 5 ขวบ เด็กหญิงวัย 3 และ 7 ขวบ
ซึ่งผู้ปกครองจะพาเด็กๆที่แต่งกายด้วยชุดกิโมโนหรือชุดที่สวยงามที่สุดไปไหว้พระที่ศาลเจ้าชินโต
 ประเพณีนี้แพร่หลายมาจากสังคมของชาวซามูไรในสมัยเอะโดะ ซึ่งในสมัยนั้นลูกชายหญิงของ
ครอบครัวซามูไรจะเริ่มไว้ผมยาวตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ซึ่งจะทำพิธีที่เรียกว่า"พิธีไว้ผม"
จากนั้นเมื่อเด็กชายอายุ 5 ขวบ ก็จะทำพิธีสวมกางเกงฮะคะมะ(hakama)
สำหรับชุดกิโมโน ส่วนเด็กผู้หญิงเมื่ออายุครบ 7 ขวบจะเริ่มคาดผ้าคาดอกที่เป็นทางการครั้งแรก
 จึงมีพิธีถอดผ้าคาดอกซึ่งเป็นผ้าคาดอกที่ใช้แต่เดิมออก