จริยธรรมในโลกของข้อมูล
2.5 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
คำว่าจริยธรรมเป็นคำที่มีความหมายกว้างแม้กระทั้งในด้านคอมพิวเตอร์ ก็มีการกล่าวถึงในเรื่องจริยธรรมเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงจริยธรรม ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศประเด็นต่างๆดังนี้
รูปที่ 2.18 การรบกวนความเป็นส่วนตัวโดยใช้โทรศัพท์มือถือ http://www.apecthai.org/apec/upload/virus.jpg
2.5.1 ความเป็นส่วนตัว เมื่อข้อมูลปรากกอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้การรวบรวมข้อมูลการเข้าถึง การค้นหา และการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้น ทำให้ข้อมูลบางประเภทที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น เลขประจำตัวประชาชน
วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลประวัติการรักษา อาจรั่วไหลไปสู่สาธรณะได้ บางครั้งข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของเจ้าของ ข้อมูล เช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์มือถือซึ่งถูกเก็บไว้โดยสถานพยาบาล อาจรั่วไหลไปสู่บริษัท
ที่มีการประชาสัมพันธ์การขายผ่านโทรศัพทืมือถืออาจทำให้เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์นั้น ถูกรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังรูปที่ 2.18
ก่อนจะเเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้ง ต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว ผลเสียจากการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ อาจย้อนกลับมาสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ในอนาคต เช่น นักเรียนโพสต์รูปของตนเองและเพื่อนไว้ในเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม แต่เพื่อนของนักเรียน
อาจได้รับผลกระทบจากรูปนั้นก็ได้
รูปที่ 2.19 ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม http://www.scc.ac.th/info/work/comsystem/changepasswd/chgpwd002.jpg
ในบางกรณีการไม่เปิดเผยข้อมูลอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้ เช่น ในการปรึกษาเกี่ยวกับการแพทย์ เรื่องความผิดปกติทางเพศ หรือการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากต้องเปิดเผยข้อมูลจริงเหล่านี้ การใช้นามแฝงแทนจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
แต่กรณีเหล่านี้จะไม่สามารถทำได้ในเว็บไซต์ที่กำหนดให้กรอกข้อมูลจริง เพื่อสมัครใช้บริการ
2.5.2 สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ในการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจะมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้าง
หรือไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง ตัวอย่างเช่น พนักงานแผนกการเงินซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลเงินเดือน ไม่ควรได้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลประวัติส่วนตัวของพนักงานทั่วไปได้ เป็นต้น ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ดังรูปที่ 2.19
หากการเข้าใช้ระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องสิทธิ์ในการเข้า ถึงข้อมูล ดังนั้นสิทธิ์ในการเข้าระบบก็จะจัดอยู่ในเกณฑ์ข้อนี้ด้วย โดยปกติแล้วการเข้าถึงระบบใดๆนั้น ผู้ใช้จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ (system administrator) ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแล บำรุงรักษาระบบ
ให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ การเขาถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2550เป็นต้นมา มีความผิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหลายข้อ ยกตัวอย่างเช่น
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดย เฉพาะและมาตตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ
นอกจากนี้ยังมีการระบุความผิดที่เกี่ยวข้องกับการดักรับข้อมูลซึ่งเดิน ทางอยู่ในระบบเครือข่ายโดยการดักรับนี้ไม่ได้รับอนุญาต ก็มีความผิดเช่นกัน
มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั้วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่า จากตัวอย่างของพระราชบัญญติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดทั้งจำคุกและปรับ ดังนั้นทุกคนต้องพึงระวังการใช้คอมพิวเตอร์และการเข้าใช้งานเครือข่าย แม้ว่าการกระทำบางอย่างอาจไม่ใช่ความผิดขั้นร้ายแรงถึงกับมีโทษจำคุกหรือ ปรับเงิน แต่การกระทำการใดๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น อาจก่อความรำคาญหรือรบกวนการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นได้เช่นกัน
2.5.3 ทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการผลิตโปรแกรม ระบบปฎิบัติการ รูปภาพ เพลง หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฎอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล ผู้ใช้คนอื่นๆสามารถทำซ้ำและนำไปใช้โดยไม่ได้จ่ายเงินให้กับผู้ผลิต
ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจกับเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงต้องพิจารณาขอบเขตของสิทธิ์ที่ตนเองได้รับในข้อมูลดังกล่าว และเป็นการสมควรหรือไม่ที่จะดาวน์โหลดและแจกจ่ายข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้
นอกจากนี้การนำข้อความหรือรูปภาพจากสื่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การคัดลอกข้อความหรือรูปภาพจากเว็บประกอบในการทำรายงาน โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา ดังรูปที่ 2.20 ถือว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงตามหลักจริยธรรมสากลของการนำข้อมูลไปใช้
รูปที่ 2.20 ตัวอย่างการคัดลอกข้อความ หรือภาพประกอบการทำรายงานโดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มาhttp://www.junjaowka.com /verse/3.3.50/01.jpg
จะเห็นว่า ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีมูลค่า ถึงแม้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ จะไม่ได้รับการตีราคาออกมาเป็นจำนวนเงิน แต่ผู้ที่มีข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ รวมถึงวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้ดีกว่า ย่อมสามารถบริหารงานภายในองค์กร และสามารถแช่งขันกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เป็นสื่งที่ควรรู้ และเป็นทักษาะที่ต้องฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือทางด้านสารสนเทศเพื่อการเก็บรวบรวม ประมวลผล รวมถึงแสดงข้อมูลและสารสานเทศเหล่านี้ มีให้ใช้ได้อย่างหลากหลาย ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง และมีจริยธรรม ควรพิจารราให้ดีว่า การใช้เครื่องมือ ข้อความ รูปภาพใดๆที่ได้มาควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกกฏหมาย และจริยธรรม รวมทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน รำคาญให้แก่ผู้อื่น จากการใช้สื่งเหล่านั้น
เกร็ดน่ารู้
ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
ลิขสิทธิ์ (copyright) หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่กฏหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆเกี่ยวกับงาน ที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิ์ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้ด้วย สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ถือเป็นงานที่เข้าข่ายมีลิขสิทธิ์
เครื่องหมายการค้า (trademark) หมายถึงเครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อ แสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น โดยสัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ
สิทธิบัตร (patent) หมายถึง สิทธิ์พิเศษที่กฏหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิ บัตรนั้น เช่น การผลิตและจำหน่ายเป็นต้น สำหรับการละเมิดสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกหรือ ผลิตซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้ง 3 ประเภทนี้ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฏหมายตามหระราชบัญญัติ
เกร็ดน่ารู้
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons :CC)
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การใช้และเผยแพร่สื่อต่างๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การใช้สื่อมีอิสระโดยยังคงรักษาสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน บุคคลอื่นสามารถใช้และเผยแพร่สื่อได้ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผลงานกำหนด เช่น ต้องระบุที่มาของสื่อ (Attribution:by) ห้ามใช้ทางการค้า (Noncommercial:nc) ห้ามแก้ไขต้นฉบับ
(No Derivative work:nd) ถ้ามีการแก้ไขต้นฉบับต้องอ้างถึงสัญญาเดิม (ShareAlike: sa)