ข้อมูลสารสนเทศ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ในแต่ละวันมีการผลิตข้อมูลขึ้นมาจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนจะถูกนำมาประมวลผลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่นข้อมูลจากเว็บไซต์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้เพียงค้นหาข้อความ รูปภาพ หรือวีดิทัศน์ ที่ตรงกับความสนใจเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลและแสดงความรู้ที่แฝงอยู่ได้อย่างมี ประสิทธิผล
หรือการสำรวจด้วยการแทนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น บันทึกไว้เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ และสัญลักษณ์
ตัวอย่างของข้อมูลต่างๆ ที่นักเรียนสามารถพบเห็นได้เป็นประจำ เช่น เกรดที่รักเรียนได้รับในแต่ละวิชา ราคาของสินค้าชนิดต่างๆ ในห้างสรรพสินค้า
รูปภาพและข้อความต่างๆ ที่ปรากฏในเว็บไซต์ ดังรูปที่ 2.1
รูปที่ 2.1 ตัวอย่างข้อมูลที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน (http://pirun.ku.ac.th/~g4986065/MyJournal/Image/0806255001.PNG)
สารสนเทศ (information) คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้งานมากขึ้น
เช่น ส่วนสูงนักเรียนหญิงนักเรียนชายแต่ละคนในชั้นเรียนเป็นข้อมูล จะสามารถสร้างสารสนเทศจากข้อมูลเหล่านี้ได้หลายแบบ เพื่อนำไปใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลเหล่านี้เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย หรือการหาค่าเฉลี่ยของส่วนสูงของนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้เห็นความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศอย่างชัดเจนมากขึ้น จึงได้แสดงตัวอย่างของการเปลี่ยนข้อมูลมาเป็นสารสนเทศอย่างง่าย ไว้ในตัวอย่างที่ 2.1
ตัวอย่างที่ 2.1 ถ้าเราต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญเติบโตของต้นถั่วเพื่อเฟรียบ เทียบส่วนสูงกันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรดังรูปที่ 2.2
รูปที่ 2.2 แสดงตัวอย่างการเจริญเติบโตของต้นถั่ว( https://fj6tgw.blu.livefilestore.com/.jpg)
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าการสร้างสารสนเทศ ซึ่งในที่นี้คือ ส่วนสูงเฉลี่ยของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะสามารถถูกนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์และตอบคำถามว่า ส่วนสูงของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงอย่าไงรตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่นๆ เช่น การตัดสินใจด้านโภชนาการ หรือการจัดหลักสูตรวิชาพลานามัย เพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียนในปัจจุบัน ดังรูปที่ 2.3
รูปที่ 2.3 การนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจ (http://www.thaiwbi.com/course/ICT/Techno1.gif)
ข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกส่งเข้ากระบวนการต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อเปลี่ยนให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสิน ใจต่างๆ ได้ ตัวอย่างดังรูปที่ 2.3
ความรู้ (knowledge) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และใช้กันโดยทั่วไป ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กล่าวถึงความรู้ไว้ในหลาย แง่มุม แต่ความหมายในแง่มุมหนึ่งที่สอดคล้องกับข้อมูลและสารสนเทศ
ความรู้ คือ สิ่งที่ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อนำไป ประยุกต์ใช้ในปัญหาที่ต้องการนำข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ไปแก้ไข
นอกจากนี้ยังมีนิยามของความรู้อีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ ข้อมูลและสารสนเทศคือ ความรู้ที่แฝงอยู่ในข้อมูล เป็นสื่งที่สามารถสกัดจากสารสนเทศที่มีรูปแบบน่าสนใจ เป็นจริงสำหรับข้อมูลใหม่หรือข้อมูลที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เป็นรูปแบบใหม่ที่มนุษย์ไม่เคยเห็นกันมาก่อน ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายจาการวิเคราะห์สารสนเทศจะได้เป็นความรู้ที่เป้นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้
เราเรียกกระบวนการที่สามารถสกัดความรู้จากข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้เป็น อย่างดีในฐานข้อมูลว่า การค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล (knowledge discovery in databases) ดังรูปที่ 2.4 ซึ่งตัวอย่างของการค้นพบความรู้นี้ แสดงไว้ในตัวอย่างที่ 2.2
รูปที่ 2.4 การค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล (http://www.numsai.com/picture/machine/database.png)
ตัวอย่างที่ 2.2 สมมติว่าเราไม่เคยมีความรู้มาก่อนเลยว่าเพราะเหตุใดนักเรียนบางคน จึงสูงกว่านักเรียนคนอื่น เราสามารถนำส่วนสูงของนักเรียนแต่ละคนมาจับคู่กับคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ลักษณะนิสับการรับประทานอาหาร (รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำหรือไม่)
และความถี่ในการออกกำลังกาย ( ทุกวัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง สัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง หรือน้อยมาก)
เมื่อเราใช้กระบวนการค้นพบความรู้ในบานข้อมูลชุดนี้ ความรู้ที่เราอาจจะพบได้จากข้อมูล ได้แก่ รูปแบบความสัมพันธ์บางอย่าง เช่น
1. นักเรียนที่ออกกำลังกายทุกวัน และรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เป็นประจำ จะมีส่วนสูงสูงกว่านักเรียนที่ออกกำลังกายวันเว้นวัน แต่ไม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เป็นประจำ
2. นักเรียนที่ออกกำลังกายน้อยมาก และไม่รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เป็นประจำ จะมีส่วนสูงน้อยที่สุดในห้อง