การให้เหตุผล ------->ความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัย
นักวิทยาศาสตร์ชอบค้นหาความจริงในธรรมชาติโดยจะเริ่มสังเกตธรรมชาติก่อนและจะเชื่อเมื่อได้ทดสอบหลายๆ ครั้งจนมั่นใจ
ในขณะที่สังเกตหรือทดสอบ นักวิทยาศาสตร์อาจค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่ตนไม่เคยพบมาก่อน และจะนำข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เหล่านี้มาพิจารณาหาความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงเดิมที่มีอยู่ก่อนเมื่อผ่านขั้นการทดลองแล้วนักวิทยาศาสตร์อาจจะประมวลสรุปเป็นความรู้ในรูปทั่ว ๆ
ไป เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่อไป
วิธีการสรุปผลค้นหาความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลาย ๆ ครั้ง จากกรณีย่อย ๆ แล้วสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป เช่นนี้เราเรียกว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Deductive Reasoning) ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ความรู้ที่ได้มาด้วยวิธีการดังกล่าวหากมีผู้พบว่าไม่เป็นไปตามที่สรุปไว้ นักวิทยาศาสตร์จะพยายามเปลี่ยนหรือแก้ไขข้อสรุปเดิม เพื่อให้ได้ข้อใหม่ที่เหมาะสมกว่า และถ้าหากว่าข้อสรุปนั้นสอดคล้องกับทุกกรณีที่เป็นไปได้ และอาจใช้พยากรณ์ข้อเท็จจริงอื่น ๆ ได้อีกข้อสรุปนั้นจะกลายเป็นกฏหรือทฤษฏี กฏหรือทฤษฏีนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้อีก ถ้ามีผู้พบข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดแย้งกับข้อที่ได้ตั้งไว้แล้วซึ่งสอดคล้องกับระบบคณิตศาสตร์
แหล่งอ้างอิง:
http://www.thai-mathpaper.net/documents/nut_reasoning.pdf