ส่วนประกอบ และ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

รูปภาพของ pnp31237

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

 

คอมพิวเตอร์ คือ
         
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติและให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ  ตัว  เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ รวมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

 การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ

 1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

 2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

 3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

 4.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

 5.หน่วยแสดงผล (Output Unit)

กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ  เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน  เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน  ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล  แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก  ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า  การประมวลผล  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ  และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์  

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูล คือ
          เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่

     

  Keyboard                         Scanner                        Light Pen                                 Track Ball                   

             

     Touch Screen                     Mouse                                Joy Sticks                        Digital

                            

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

หน่วยประมวลผลกลาง คือ
          ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

หน่วยควบคุม (Control Unit)

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง

             

หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น

   การคำนวณทางคณิตศาสตร์  ได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร
 -   การกระทำทางตรรกะ (AND , OR) 

 - 
  การเปรียบเทียบ  เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน  มากกว่า  หรือน้อยกว่า  ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้
 - 
  การเลื่อนข้อมูล (Shift)
 -   การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)
 -   การตรวจสอบบิท (Test  Bit)
                        

                                       หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

    หน่วยความจำหลัก  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

              1. รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่
                        -  ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
                        -  เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
                        -  ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
                        -  เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
                        -  อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

              2. แรม (RAM : Random Access Memory)      

           ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อนำไปประมวลผล
              -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย  
              -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
              -  ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง
                 เพื่อใช้ในการประมวลผล
              -  เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
              -  สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
              -  การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

    หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

    หน่วยความจำสำรอง  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้   ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก

    อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่

    จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)

          

    ฮาร์ดิสก์

    จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access)  ได้แก่  ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป

จานแสง (Optical Disk)

          

     

     เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive)

    เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้

    หน่วยแสดงผล (Output Unit)

    หน่วยแสดงผล คือ
              อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล

    การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ

    การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด
     

    แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 

    การแสดงผลทางจอภาพ  หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer

    แหล่งอ้างอิง : http://www.punyisa.com/unit2/unit2_3-1.htm 

    องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ 

    ระบบคอมพิวเตอร์
               ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกัน ทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์
    เดียวกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้คือ
             
     1. ฮารด์แวร์ (Hardware) หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ต่อเข้ากับ
    เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสัมผัสและมองเห็นประกอบด้วย
                   1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อ ป้อนข้อมูล คำสั่ง และคำถามข้อสนเทศ ได้แก่
    แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องอ่านจานข้อมูล เป็นต้น
                  1.2 หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ รับข้อมูลและคำสั่งจาก
    อุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก แล้วนำไปคำนวณหรือเปรียบเทียบคำสั่งที่ หน่วยคำนวณ
    และตรรกะ จากนั้นส่งผลลัพธ์ ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักอีกครั้ง ก่อนจะนำออกแสดงทางอุปกรณ์ส่ง
    ข้อมูลออก
                   1.3 อุปกรณ์ส่งข้อมูลออก คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล
                   1.4 อุปกรณ์เก็บข้อมูล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งไว้เป็นการถาวร แต่ต่างจาก
    หน่วยความจำหลักที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดไปแม้ว่าจะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงหรือไม่

           
     2. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่ง ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เพื่อ
    ให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ โดยทั่วไปเรียกว่า โปแกรม สามารถแบ่งได้ 2 อย่างคือ
                  
    2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ
    ได้แก่ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ
    ของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ
                        
    ก. ซอฟต์แวร์จัดระบบงาน
    ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ และบังคับบัญชาให้ระบบฮาร์แวร์ของ
    คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ เช่น dos windows เป็นต้น
                        
    ข. ซอฟต์แวร์แปลภาษา
    คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่แแปลภาษาระดับสูงที่มนุษย์เขียนขึ้นมาและเข้าใจ
    ได้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจเพื่อจะได้ทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการได้ มีลักษณะที่ทำงานแตกต่างกัน
    2 ชนิดคือ             
     

                     - อินเตอร์พรีเตอร์ คือ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรม ทีละคำ เมื่อแปลเสร็จจะทำตาม
    คำสั่งนั้นทันที แล้วจึงแปลคำสั่งต่อไป
                     - คอมไเลอร์ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรมที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นก่อน แล้วจึงค่อยทำงานตามคำสั่ง
                   
    2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
    คือซอฟท์หรือโปรแกรมที่ไดรับการพัฒนาหรือขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์
    ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมระบบเงินเดือน ยังมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า
    โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นำไปประยุกต์ใช้งานของตน
    เช่น word exel เป็นต้น

            
      3. บุคลากร หมายถึง บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
                   
    1. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
    หมายถึงบุคคลที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ตนต้องการ
                   
    2. นักคอมพิวเตอร
    หมายถึงกลุ่มที่ทำหน้าที่โดยตรงกับการออกแบบระบบและพัฒนาเทคโนโลยี
    คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
                        2.1 ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่ที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบงานของศูนย์
    คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
                        2.2 นักวิเคราะห์ระบบ หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความ
    ต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่
                        2.3 โปรแกรมเมอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ ตามรายละเอียดที่นักวิเคราะห์
    ระบบได้ออกแบบไว้
                        2.4 โปรแกรมเมอร์ระบบ หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ระบบ จึงต้องมีบุคคลที่
    มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะต้องให้คำปรึกษาต่าง ๆ
                       2.5 พนักงานเตรียมข้อมูล หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในสือาข้อมูลที่สามารถจะ
    นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้
                       2.6 พนักงานควบคุมเครีองคอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคที่มีหน้าที่รับผิดชอบการทำงานของคอมพิวเตอร์
    ทั่ว ๆ ไป

1. ส่วนประกอบภายนอกและการใช้งาน

      

จอภาพ (Monitor)  

เคส (Case)  

คีย์บอร์ด (Keyboard)  

เมาส์ (Mouse)  

ลำโพง(Speaker)

เครื่องสำรองไฟ (UPS)

 2. ส่วนประกอบภายในและการทำงาน

หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit ; CPU)  

หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)  

เมนบอร์ด   (Mainboard)

ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk )

ซีดีรอมไดร์ฟ  (CD-ROM Drive)

ฟล๊อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive )

ช่องขยาย (Slot)  

แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply    

           3. อุปกรณ์ต่อพ่วง

    เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ  (Printer)

    เครื่องสแกนภาพ  (Scanner)

    โมเด็ม (Modem)

 แหล่งอ้างอิง : http://www.punyisa.com/unit2/unit2_4.htm

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า
"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่ ่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
 ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

                  คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล
    ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป   นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม
    ขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์
    การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
     

    แหล่งอ้างอิง : http://www.punyisa.com/unit2/unit2_1.htm

ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์คืออะไร
              ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง

              คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง


เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน


             1. สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
             2. สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
             3. สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
             4. สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
             5. สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
             6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
             7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
             8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
             9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
           10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
           11. การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
           12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 

แหล่งอ่างอิง : http://www.lcc.rtaf.mi.th/trainning/detail0101.htm

 

      ชนิดของคอมพิวเตอร์ 


    สามารถแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ที่มีในปัจจุบันได้ 3 จำพวกใหญ่ตามลักษณะข้อมูลที่ใช้ใน การประมวลผลตามลักษณะการใช้งาน  และตามขนาดของคอมพิวเตอร์  ได้ดังนี้


    1. แบ่งตามลักษณะข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้


                    1.1  แอนะล็อกคอมพิวเตอร์  เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ  แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทนไม้บรรทัดคำนวณ  อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์  ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ  โดยไม้บรรทัดคำนวณจะ
    มีขีดตัวเลขกำกับอยู่  เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมาประกบรวมกัน  การคำนวณผล  เช่น การคูณ  จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง  แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่ง  แอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด    

        
                        แอนะล็อกคอมพิวเตอร์    จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์  จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ   ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา 

        
                        ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น


                         สรุป  คอมพิวเตอร์แบบแอนะลอก (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการวัดข้อมูลแบบต่อเนื่อง   (Continuous Data) เช่น  ข้อมูลอุณหภูมิ  ความเร็ว หรือความดัน  ซึ่งข้อมูลประเภทนี้จะไม่มีค่าที่สามารถนับได้ทีละ 1 ได้  แต่จะออกมาเป็นทศนิยม  ซึ่งไม่สามารถวัดให้ถูกต้องตรงทีเดียวได้  คอมพิวเตอร์แบบนี้จะใช้กับงานเฉพาะด้าน  เช่นคอมพิวเตอร์ตรวจคลื่นสมอง หรือหัวใจ  เป็นต้น


                     1.2  ดิจิทัลคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน       

        
                        ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย 


                            สรุป คอมพิวเตอร์แบบดิจิตัล (Digital Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลแบบ ไม่ต่อเนื่อง (Discret Data) หรือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการนับข้อมูลที่เป็นตัวเลข  โดยจะนับทีละ 1 หน่วยได้ 
    เช่น จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจำนวนประชากรในประเทศไทยหรือใช้คำนวณ  ซึ่งจะได้รับความถูกต้องแม่นยำมากกว่าข้อมูลที่มาจากการวัด


                    1.3 ไฮบริกคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)   เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รวมเอาความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 แบบแรกเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของระบบประเภทนี้  ได้แก่  การใช้แอนะลอกในการวัดการทำงานของหัวใจ  อุณหภูมิ  และความดันต่างๆของคนไข้  ข้อมูลที่ได้รับก็จะถูกแปลงออกเป็นตัวเลข  เพื่อส่ง
    ไปให้คอมพิวเตอร์แบบดิจิตัลทำการประมวลผลและให้ผลลัพธ์ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ภายในคอมพิวเตอร์  เช่น 
    ถ้าหัวใจเต้นเร็ว  หรือช้ากว่าที่กำหนด  ก็ให้ระบบทำการส่งสัญญาณเตือนให้ทราบ เป็นต้น


    2. แบ่งตามลักษณะการใช้งานสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้


                          2.1 คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ (General purpose Computer) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบ  ให้ประยุกต์ใช้งานได้อย่างไม่ถ้วน  นั่นคือ  ระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา  และยังสามารถเก็บโปรแกรมทางด้านต่างๆไว้ในเครื่องเดียวกันได้  เช่น  โปรแกรมทางด้านระบบเงินเดือน โปรแกรมทางด้านบัญชีลูกหนี้ ฯลฯ และเมื่อเราต้องการใช้เครื่องทำอะไร  ก็เพียงแต่ทำการเรียกโปรแกรมทางด้านนั้นขึ้นมาทำงาน   

                      
                          2.2 คอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ (Special Purpose Computer) จะถูกออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะอย่างเท่านั้น  โดยไม่สามารถนำไปใช้งานด้านอื่นได้  เช่น  คอมพิวเตอร์ที่ใช้การควบคุมระบบการนำวิถีของจรวด  เป็นต้น
    3. แบ่งตามขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์   


                            มักจะวัดกันตามขนาดความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้งาน (Main Memory) ซึ่งหน่วยวัดความจุอาจอยู่ในเทอมของกิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB) โดย 1 KB จะมีค่า =  ไบต์  หรือ 1024 ตัวอักขระ (1 ไบต์ มีค่าเท่ากับ 1 ตัวอักขระ) ดังนั้น ถ้าคอมพิวเตอร์มีความจุ 10 K จะมีความหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักได้ ไบต์ หรือเท่ากับ 10,240 ตัวอักขระ
              นอกจากนี้ขนาดหน่วยความจำยังอาจมีหน่วยวัดอยู่ในเทอมของเมกะไบต์ (Megabyte หรือ MB หรือ M ) โดย 1 MB = 1024 KB = 1024 X 1024 =1,048,576 ไบต์ (ตัวอักขระ)
              หรืออาจอยู่ในเทอมของจิกะไบต์ (Gigabyte หรือ GB) โดย 1 = 1024 MB = 1024  X 1024 X 1024 =
    1,073,741,824 ไบต์(ตัวอักขระ) เป็นต้น   


                         3.1  ไมโครคอมพิวเตอร์     เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่ายอาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


    3.1.1  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)   เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ  มีการแยกชิ้นส่วน  ประกอบเป็นซีพียู  จอภาพ  และแผงแป้นอักขระ


    3.1.2 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้  จอภาพที่ใช้เป็นแบบราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display :LCD) น้ำหนักของ
    เครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม


    3.1.3 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์  (notebook Computer)     เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและเบากว่าแล็ปท็อป  นำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแสดงผลสีเดียว  หรือแบบหลายสี  โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป


    3.1.4 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะ อย่าง 
    เช่น เป็นพจนานุกรม  เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน  บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะ บางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก


    3.2 มินิคอมพิวเตอร์    เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร


    3.3 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์   เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมากเมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี   บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลงทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้นราคาถูกลงขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม 


     3.4 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์   เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

    แหล่งอ้างอิง : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/techno/WEB%20_JAN/p4.html

     

    หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


    แม้คอมพิวเตอร์ดูเหมือนว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงไรแต่เราสามารถแบ่งการทำงานของเครื่องได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
     รับข้อมูล (Input) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่องโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น คีบอร์ด เมาส์ จอยสติ๊ก เป็นต้น
     ประมวลผล จะทำการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ โดยหน่วยประมวลผลที่มีชื่อเรียกว่า ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
          นั้นเปรียบได้เหมือนป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสมรรถนะของเครื่องจะขึ้นกับความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผล
         
          สำหรับชุดคำสั่งที่ป้อนให้หน่วยประมวลผลนั้นเรียกว่าโปรแกรม ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่บางอย่างเฉพาะเจาะจง
     แสดงผล เป็นส่วนที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ จอภาพ (แสดงภาพหรือข้อความ)
          ลำโพง(ส่งเสียง) เป็นต้น

          นอกจากการทำงานของเครื่อง 3 ขั้นตอน ยังมีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ หน่วยความจำ (Memory) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมี
    หน่วยความจำสำหรับพักข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการประมวลผล โดยรูปแบบการเก็บข้อมูลในเครื่องนั้นมีหน่วยเป็นบิต ที่มีค่าได้เพียง 2 ค่าคือ
    0 หรือ 1 เท่านั้น เมื่อเรานำข้อมูลมาเรียงต่อกันหลายบิต ก็จะทำให้เราสามารถแทนค่าได้มากขึ้น โดยข้อมูลที่มีขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกว่า ไบต์
          เราใช้หน่วยไบต์ในการวัดขนาดของหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรามักได้ยินคำ เช่น กิโลไบต์ ,เมกะไบต์และกิกะไบต์

    เราสามารถแสดงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นผังแบบง่ายๆได้ดังรูป

     

     

    แหล่งอ้างอิง : http://www.modify.in.th/computer-Article/computer-id142.aspx

     

     

    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    1. ประโยชน์ทางตรง

            ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรง
    มนุษย์ ในด้านต่าง ๆเช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน
    หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ เช่น
             - ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
             - ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้าง
        ด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
             - เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
             - ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
             - ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
             - ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม

    2. ประโยชน์ทางอ้อม

            คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนา
    งานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น

    1. เพื่อสร้างงานเอกสารทั่วไป
     
              เป็นการนําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพิมพ์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การพิมพ์จดหมาย
    การพิมพ์ใบปลิว  การพิมพ์หนังสือแบบเรียน  เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานในด้าน
    การพิมพ์นี้ทําให้เอกสารต่างๆ มีความสวยงาม และรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงงานพิมพ์มีความผิดพลาด
    น้อยมาก และมีการใช้แบบฟอร์มเดียวกัน จึงทำให้งานด้านการพิมพ์เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น
     
    2. เพื่อความบันเทิง
     
              คอมพิวเตอร์ปัจจุบันสามารถสร้างความบันเทิง ให้กับผู้เป็นเจ้าของได้หลายรูปแบบไม่ว่า
    จะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ร้องคาราโอเกะ นับว่าเป็นแหล่งความบันเทิงครบชุดที่หาได้
    ไม่ยาก
     
    3. เพื่อการสื่อสารและค้นหาข้อมูล
     
              เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน  มักจะมีการเชื่อมต่อกับโลกแห่งเครือข่ายนั่น คือ
    อินเทอร์เน็ตนั่นเอง  ซึ่งอินเทอร์เน็ตนับว่าเป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ  ที่ใหญ่ที่สุด และรวมเอาเนื้อหา
    ความรู้ในโลกไว้มากที่สุด  เราสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างมากมาย

     

    แหล่งอ้างอิง : http://www.punyisa.com/unit2/unit2_5.htm

    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

    จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

    1.งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย

    2.งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น

    3.งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน

    4.งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

    5.งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

    6.การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

      แหล่งอ้างอิง : http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page14.htm

       

      ลักษณะเด่นคอมพิวเตอร์

      เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้

      1. หน่วยเก็บ (Storage)

      หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
      จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย

      2. ความเร็ว (Speed)

      หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) 
      โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด 
      เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน

      3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)

      หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น

      4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)

      หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

      แหล่งอ้างอิง : http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page13.htm

       

      การทำงานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output   ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
       

       

       

      ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

      เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

      ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

      เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
      ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม 
      นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

      ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

      เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

       

      แหล่งอ้างอิง : http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page12.htm

      สรุป

      คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output  

       ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

      เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป

      ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

      เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
      ต้องการ  

      ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

      เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 421 คน กำลังออนไลน์