สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย

สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
สุภาษิต ความหมาย
ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน ความหมาย
ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคลกับเรื่องหรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย ความหมาย
ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
ตัวอย่าง
1.กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง หวังในสิ่งที่เกินตัว

2. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด หมายถึง ความชั่ว หรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้จักกันทั่วแล้ว จะปิดยังไงก็ปิดไม่มิด

3. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หมายถึง ประเทศหรือคนที่มีอำนาจ หรือ ผู้ใหญ่ ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย

ขอโทษนะคะ อันนี้ไม่ได้ว่าแต่หนูอยากบอกว่าความรู้ที่คุณพี่หรือคุณครูเขียนน่ะคะน้อยเกินไปอยากให้เขียนเยอะกว่านี้และหนูหาเกือบทุกเว็บหนูไม่เจอคำทีหนูหาเลย เช่น ไม่กินเส้น เข้าด้ายเข้าเข็ม จับให้มั่นคั้นให้ตาย ขอให้เขียนเยอะกว่านี้หน่อยนะคะ คุณพี่หรือคุณครูชื่อเหมือนหนูเลยค่ะอิอิ
แวะมาอ่านครับ เป็นสาระความรู้
ได้ความรู้มากๆมายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย ป.ล.จากเด็กเก่งที่สุดในโลก