รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดแล้ว แต่อย่าเพิ่งดีใจ

รูปภาพของ pornchokchai
รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดแล้ว แต่อย่าเพิ่งดีใจ
  AREA แถลง ฉบับที่ 438/2566: วันพุธที่ 07 มิถุนายน 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

            เป็นเรื่องน่ายินดีที่รถไฟฟ้าสายสีเหลืองแล้วเสร็จ แต่ใช่ว่าเราจะดีใจจนเกินไป เพราะผู้ใช้บริการอาจไม่มาก ทำให้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจมีข้อจำกัด

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวถึงรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว - สำโรง ว่าโครงการนี้เป็นระบบขนส่งมวลชนรองในทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ดำเนินการในรูปแบบโมโนเรล (รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)เริ่มต้นทางที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ไปตามถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์ และตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรง อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท รวมระยะทาง 30.4 กิโลเมตร

            โครงการนี้เริ่มคิดในปี พ.ศ. 2543 ในสมัยนายชวน หลีกภัย แต่ได้นำมาปรับปรุงแผนแม่บทปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2549 (ในสมัย ดร.ทักษิณ  ชินวัตร) โดยครั้งแรก ๆ ว่าจะเป็นรถไฟฟ้ารางหนักในช่วงศรีนครินทร์ แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ก็ลดเส้นทางเหลือเพียงช่วงลาดพร้าว - สำโรง และให้ดำเนินการเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย และเริ่มทดสอบการเดินรถเสมือนจริงในสถานีบางส่วน ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จำนวน 13 สถานี ตั้งแต่สถานีหัวหมาก - สถานีสำโรง

            สำหรับค่าโดยสาร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท รถไฟฟ้าสายนี้สามารถทำความเร็วได้ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (แต่ปกติรถประเภทนี้จะวิ่งแบบ  “หวานเย็น” โดยจะเปิดให้บริการ 4 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มตู้โดยสารได้สูงสุดถึง 7 ตู้ต่อขบวน ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 28,000 คนต่อขบวนต่อทิศทาง

            ดร.โสภณให้ความเห็นว่ารถไฟฟ้าสายนี้อาจจะไม่ได้มีประโยชน์มากนัก เพราะการติดต่อสัญจรระหว่างลาดพร้าวไปศรีนครินทร์และสำโรง คงมีจำกัด ไม่ใช่รถไฟฟ้าที่วิ่งเข้าเมืองโดยตรง ทั้งนี้ยกเว้นช่วงลาดพร้าวถึงบางกะปิ อาจจะเหมาะสมกว่าเพราะสามารถหลีกเลี่ยงการจราจรได้แต่ทั้งนี้ต้องรอให้รถไฟฟ้าสายสีส้มแล้วเสร็จก่อน จึงจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่  ส่วนช่วงศรีนครินทร์-สำโรง การจราจรอาจไม่ติดขัดนัก และประชาชนก็ใช้ถนนมากกว่า  การใช้รถไฟฟ้าอาจไม่มีความจำเป็นมากนักทั้งนี้อาจยกเว้นช่วงเร่งด่วน

            ในด้านราคาที่ดินเฉพาะบางสถานี ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส  ได้แสดงข้อมูลโดยสังเขปไว้ดังนี้:

 

ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง  (บางสถานี)

สถานี         ราคาที่ดิน (บาท/ตรว)        อัตราเพิ่ม

รัชดา                           820,000              3.8%

บางกะปิ                       380,000              8.6%

ลำสาลี                         390,000            11.4%

ศรีลาซาล                     300,000            11.1%

ศรีแบริ่ง                       300,000            11.1%

ศรีด่าน                        290,000              7.4%

ศรีเทพา                       230,000              9.5%

ทิพวัลย์                        230,000              9.5%

สำโรง                          500,000            13.6%

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส

 

            ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้คงไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากนักในอนาคตยกเว้นบริเวณจุดตัดซึ่งสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ดีกว่าในเชิง Transit Oriented Development นั่นเอง  แต่บริเวณสถานีอื่นๆ  อาจไม่ได้รับอานิสงส์มากนัก  ทั้งนี้ทางราชการก็คงเล็งเห็นถึงความหนาแน่นของประชากรที่ไม่สูงมากนัก จึงพัฒนาโครงการรถไฟฟ้านี้เป็นในรูปแบบรถไฟฟ้ามวลเบาที่เป็นระบบโมโนเรลนั่นเอง

            การแห่ลงทุนในรูปแบบอาคารชุดพักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้านี้อาจต้องระวังเพราะอาจมีผู้ซื้อ แต่ไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยจริงมากนักในอนาคต  ทางออกหนึ่งก็คือรัฐบาลควรกระตุ้นการพัฒนาด้วยการให้มีสัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) สูงขึ้น เพื่อกระตุ้นการพัฒนาตามแนวรถไฟฟ้านี้
 


ที่มา: https://www.facebook.com/photo/?fbid=570210098630554&set=pcb.570210431963854
 

หมายเหตุ: บทความนี้ลงในมติชน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 https://www.matichon.co.th/economy/news_4012482

 

 


ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 183 คน กำลังออนไลน์