การกลืนชาติลาวและการทำลาย/ฟื้นฟูเมืองเวียงจันทน์

รูปภาพของ pornchokchai
การกลืนชาติลาวและการทำลาย/ฟื้นฟูเมืองเวียงจันทน์
  AREA แถลง ฉบับที่ 394/2566: วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

            การกลืนชาติ การต้อนผู้คนออกจากเมือง การย้ายเมือง สามารถเกิดขึ้นได้ในอดีต (แต่อาจไม่ใช่ในปัจจุบัน) มาดูกรณีศึกษาการย้ายประชากรและเมืองชาวลาวกัน

            ผมยังความแปลกใจเป็นอย่างมากที่ได้เห็นชื่อตลาดแห่งหนึ่งเขียนว่า “บ้านนาลาวอู่ทอง” ที่แถวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  ผมแปลกใจว่าทำไมมีคนลาวมาอยู่แถวนี้ด้วยหรือ ทั้งที่แถวนี้อยู่ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ถึง 609 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินนับเดือน ยิ่งถ้าพาครอบครัวมาด้วยคงใช้เวลาเดินทางนานน่าดู เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

            มีเรื่องเล่าว่า “ลาวเวียง บ้านดอนคา” (https://bit.ly/3L6O4Lf) โดยคำว่า “ลาวเวียง เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาว อพยพจากเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่บางคนเรียกว่า “ลาวตี้” เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีคำลงท้ายประโยคว่า “ตี้” เสมอ ลาวเวียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานปลูกบ้านสร้างเรือนในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”

            “สมัยเจ้าอนุวงศ์ จากนครเวียงจันทร์ คิดกบฏต่อแผ่นดินตั้งตนเป็นใหญ่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ไปปราบปรามที่ทุ่งสัมฤทธิ์ และได้กวาดต้อนผู้คนชาวลาวมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน แถบจังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และสุพรรณบุรี ฯลฯ เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา เวลาที่ล่วงเลยมานานทำให้คนไทยเชื้อสายลาวเหล่านี้ ไม่สามารถทราบได้ว่า บรรพบุรุษอพยพมากันตั้งแต่เมื่อใด และเพราะเหตุใด”

            ทั้งนี้ “การกินการอยู่ ส่วนมากจะชอบทานปลาร้า ปลาส้ม น้ำพริก ต้มผักจิ้ม ผักสวนครัวก็จะปลูกเองเป็ดไก่ ก็จะเลี้ยงไว้ ปูปลาก็หากินง่าย พอได้มาก็ใส่เกลือตากแดดไว้กินตอนหน้าแล้งประชากรมีน้อย ประเพณีที่สำคัญของบ้านดอนคา คือประเพณีบุญเดือน 10 ชาวบ้านทุกครัวเรือนจะกวนขนมกระยาสารท ประกอบไปด้วย น้ำตาล ถั่ว งา ข้าวตอกข้าวพอง นำมากวนผสมให้เข้ากันเพื่อนำมาถวายแด่พระสงฆ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะตั้งแต่สมัยอดีตกาลนั้น ช่วงฤดูเข้าพรรษา เป็นฤดูแห่งการทำนาและเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร จึงได้นำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้มาทำขนมกระยาสารทเป็นประเพณีสืบต่อกันมา. . .”

            ผลการศึกษา “พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย วรรณพร บุญญาสถิตย์ ฉันทัส เพียรธรรม และเทพธิดา ศิลปรรเลง (https://bit.ly/3YrrMqj) พบว่า “กลุ่มลาวเวียง ต.ดอนคำ อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านสมอลม อ.เมือง สุพรรณบุรี เพราะเห็นว่าภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อพยพมาไปตั้งบ้านเรือนที่ ต.ดอนคา”

            “เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ เช่น บุญข้าวจี่ บุญบั้งไฟ สารทลาว ตักบาตรเทโว อย่างไรก็ตามชาวลาวเวียงได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตบางอย่างเพื่อให้สองคล้องกับท้องถิ่นและความเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น การกินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก สันนิษฐานว่าเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของภูมิประเทศที่เหมาะในการปลูกข้าวเจ้ามากกว่ากว่าข้าวเหนียว มีการนำแคนพัฒนาให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่กลายเป็นวงแคนประยุกต์ มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ การแต่งกายด้วยผ้าทอมือ การพูดภาษาลาวเวียงและมีความภาคภูมิใจในการเป็นชาวลาวเวียงแม้ว่าความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่จดจำจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการแพ้สงคราม การถูกกวาดต้อนก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกถึงความด้อยกว่าชุมชนอื่นๆ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้ชุมชนลาวเวียงแห่งนี้มีความเข้มแข็งพยายามรักษาและฟื้นฟู และสร้างอัตลักษณ์ลาวเวียงขึ้นเพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลง ความ

ทันสมัย รวมทั้งกระแสการท่องเที่ยวชุมชนที่กำลังได้รับความนิยม”

            ในการรบกับลาวในสมัยก่อน ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี กรุงเทพมหานคร (รัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 3) มีการเผาเมืองจนราบเรียบ กวาดต้อนผู้คนจนเวียงจันทน์กลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว  แต่ต่อมาก็มีผู้คนที่หลบหนีกลับเข้าไปอยู่ในเมืองอีกครั้งหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าเมืองที่มีชัยภูมิดีอย่างเวียงจันทน์และยังคงมีความผูกพันมากมายต่อผู้คน ถ้ามีโอกาส ก็ยังมีผู้คนที่จะกลับไปอยู่เมืองนั้นๆ แม้จะถูกเผาทำลายไปมากมายเท่าไรก็ตาม

            แต่เชื่อว่าประชากรส่วนใหญ่ของชาวและชาวเวียงจันทน์คงถูกกวาดต้อนไปอยู่ตามที่ต่างๆ แม้แต่ทางใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนืองของไทย เช่น สุรินทร์ ศรีษะเกษ ซึ่งเป็นถิ่นของคนเขมร คนส่วย ก็มีชาวลาวอพยพไปอยู่ เนื่องจากรัฐไทยในสมัยนั้นพยายามที่จะไม่ให้ชาวลาวได้มีโอกาสรวมตัวกัน “แข็งเมือง” ดังที่เคยเกิดขึ้นในสมัยเจ้าอนุวงศ์ เป็นต้น

            นอกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ชาวลาวหลายสายได้อพยพไปอยู่ในจังหวัดในภาคกลาง เช่นที่สระบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี เป็นต้น กรณีบ้านบ้านนาลาว บ้านดอนดา ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการอพยพผู้คน และด้วยระยะเวลานานนับถึงสองร้อยปี สำนึกในความเป็นคนลาวคงมีจำกัด ความคิดที่จะย้ายกลับไปลาวคงไม่มีอีกแล้ว และเป็นการทำให้ไทยมีประชากรเพิ่ม ทำให้เกิดกำลังผลิตมากขึ้น

            อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน การที่จะย้ายเมืองทั้งเมืองออกไปคงยาก เพราะในสมัยก่อนภาคประชาชนอาจไม่มีอำนาจมากนัก แต่ในปัจจุบัน สามัญชนมีอำนาจมากขึ้น การจะให้ทิ้งเมืองไปคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่กระบวนการกลืนชาติในลักษณะนี้ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในกรณีทิเบตและซินเกียงที่คนจีนแห่งกันไปทำมาหากินและกลืนชาติของชนกลุ่มน้อย

            ถ้าสังคมมีความเป็นประชาธิปไตย การส่งคนไปรบพุ่งเพื่ออำนาจของผู้ปกครองก็คงไม่เกิดขึ้น โศกนาฏกรรมการอพยพย้ายถิ่นแบบไม่เต็มใจก็คงไม่มี

 

 

 

 
 
 
 
 
 


ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 373 คน กำลังออนไลน์