การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อเรื่อง      :  การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ
                    ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้วิจัย        :  ภัสร์จิราภา  กองเงิน

ปีการศึกษา :  2564 

บทคัดย่อ 

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อศึกษาผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะการเก็บข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (R1) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 7 คน ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (D1) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน และครูผู้สอน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (R2) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (3-4 ปี) จำนวน 40 คน เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) จำนวน 26 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) จำนวน 26 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 92 คน และระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (D2) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูผู้สอนจำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา 2) แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่ 2 แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview) 3) แบบประเมิน ฉบับที่ 3 แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ (ร่าง) รูปแบบการบริหารจัดการ 4) แบบประเมิน ฉบับที่ 4 แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี และ 5) แบบประเมิน ฉบับที่ 5 แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 4 การจัดสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีปัญหามากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 รองลงมาข้อ 3 การวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็ก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 ในขณะที่ข้อ 5 การนิเทศและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีปัญหาน้อยที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview) พบว่า การพัฒนาและการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีการพัฒนา ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและด้านสติปัญญา เพราะมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบันอยู่ในสังคมที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การพัฒนาเด็กในแต่ละด้านจะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ทุกด้าน และบูรณาการให้เหมาะสมกับช่วงอายุหรือวัยของเด็ก จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ การพัฒนาโรงเรียนควรสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันกับวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ พันธกิจ และเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ ครูทุกคนใช้ระบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดหางบประมาณ หาสื่อสำหรับการเรียนการสอนให้เพียงพอ จัดหาแหล่งงบประมาณมาทำการปรับปรุงพัฒนาอาคารเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมให้บุคลากรได้เรียนรู้ อบรม แสวงหาความรู้มาพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดหาครูให้เพียงพอแก่เด็ก รวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและเรียนรู้อย่างมีความสุข

2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การบริหารจัดการการวางแผน การใช้กลยุทธ์ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 2 การบริหารจัดการโครงสร้างของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 3 การบริหารจัดการการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 4 การบริหารจัดการพัฒนาทีมงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 5 การบริหารจัดการการสร้างเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 6 การบริหารจัดการสื่อการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และขั้นที่ 7 การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 4) การวัดผลและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมเด็กมีพัฒนาการ
ดีมากตามเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 2.71 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 รองลงมาข้อ 3 เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 ในขณะที่ข้อ 6 เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 2.42 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53

4. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้

4.1 รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 4 การวัดผลและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.75 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 รองลงมาองค์ประกอบที่ 1 หลักการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ในขณะที่องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 4.30 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61

4.2 ความคิดเห็นการปรับปรุง แก้ไข รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 221 คน กำลังออนไลน์