การจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft Access 2003

ฐานข้อมูลคืออะไร

ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือจุดประสงค์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถเข้าไปเพื่อทำการนำข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดที่ต้องการมาใช้งานหรือแม้แต่การเข้าไปแก้ไขได้ เช่น การติดตามการสั่งซื้อของลูกค้า
การเก็บข้อมูลเพลงที่สะสมไว้ หรือการสืบค้นหาข้อมูลลูกค้า เป็นต้น
ฐานข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องมีเพียงแหล่งที่เก็บเพียงแหล่งเดียวถ้าไม่ได้เก็บฐานข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์หรือเก็บไว้เพียงบางส่วนเราอาจกำลังติดตามข้อมูลจากหลายแหล่งซึ่งเราจำเป็นต้องประสานงานหรือจัดระเบียบด้วยตนเองตัวอย่าง เช่นสมมติว่าได้เก็บหมายเลขโทรศัพท์ผู้ขายของเราไว้หลายแห่งอาทิเช่นแฟ้มนามบัตรที่มีหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ขายในแฟ้มข้อมูลสินค้าที่อยู่ในตู้เก็บแฟ้มและในกระดาษคำนวณที่มีข้อมูลการสั่งซื้อถ้าหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ขายมีการเปลี่ยนแปลงเราอาจจะต้องปรับปรุงข้อมูลนั้นทั้งสามแห่งไป(กรณีที่ไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์จัดการ)หากใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการบริหารข้อมูลด้วยความสามารถของโปรแกรม เราจะปรับปรุงข้อมูลนั้นเพียงหนึ่งแห่งเท่านั้นและข้อมูลที่เป็นหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ขายจะถูกปรับปรุงโดยอัตโนมัติทุกแห่งที่เราใช้ในฐานข้อมูล อย่างอัตโนมัติทันที
สรุปแล้ว ฐานข้อมูลก็คือแหล่งที่เก็บข้อมูลดิบอาจจะจัดเก็บในรูปคอมพิวเตอร์หรือเป็นเพียงแฟ้มเอกสารก็ได้แต่ถ้าจัดเก็บในรูปแบบคอมพิวเตอร์จะมีความได้เปรียบในเรื่องเวลาของการค้นหาและการแก้ไข ที่การจัดเก็บด้วยมือไม่อาจจะเทียบประสิทธิภาพได้เลย
ประสิทธิถาพของการค้นหาข้อมูลจะขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบของการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลักดังนั้นการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดีจะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็บ และแม่นยำ

ระบบแฟ้มข้อมูล(File System)
    

หมายถึง สิ่งที่ผู้ใช้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มักไม่รู้ตัวเนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกโดยระบบปฏิบัติการอย่างอัตโนมัติ
ระบบแฟ้มเป็นฐานที่ทำให้เกิดการจัดการโปรแกรม และข้อมูลในทุกการดำเนินงานของระบบซอฟท์แวร์ที่เข้าควบคุมสื่อเก็บข้อมูล
ระบบแฟ้มประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1)รวมรวมแฟ้ม (Collection of
Files) เก็บข้อมูลที่สัมพันธ์ให้ถูกอ้างอิงได้ในรูปแฟ้มข้อมูล
2)โครงสร้างแฟ้ม (Directory Structure)
จัดการอำนวยการเข้าถึงแฟ้มและจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ
3)พาทิชัน (Partitions) ซึ่งแยกเป็นทางกายภาพ (Physically) หรือทางตรรก
(Logically) ของระบบไดเรกทรอรี่ (Directory)
โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงแฟ้ม และโครงสร้างไดเรกทรอรี่
รวมถึงการป้องกันแฟ้ม จากการเข้าถึงในระบบ Multiple users และระบบ File
sharing
วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้กันใน OS ทุกตัวคือ
จัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ (file)
ไฟล์คือสิ่งที่บรรจุข้อมูล,โปรแกรมหรืออะไรก็ได้ที่ผู้ใช้ต้องการรวบรวมไว้
เป็นชุดเดียวกัน การอ้างถึงไฟล์หรือข้อมูลต่าง ๆ ภายในไฟล์ของโปรแกรม
จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับแอดเดรสของโปรแกรมใด ๆ ทั้งสิ้น OS
มีโอเปอร์เรชั่นพิเศษที่เรียกว่า system call ไว้ให้โปรแกรมเรียกใช้
เพื่อให้สามารถจัดการงานที่เกี่ยวกับไฟล์ได้

 

 

หมดหน้า 1

สร้างโดย: 
สุริชัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 566 คน กำลังออนไลน์