อบเชย

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


      อบเชย

         อบเชย (อังกฤษ: Cinnamon) เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวณ เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสมลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นตัวต้นจะสูงประมาณ 4 - 10 เมตร ส่วนเปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน เส้นใบหยัก 3 เส้นเวลาออกดอกจะออกที่บริเวณซอกใบ หรือปลายกิ่ง โดยออกดอกย่อยสีเหลืองอ่อนรวมกันเป็นช่อ พืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับอบเชยได้เแก่ ชะเอม กะเพราต้น ข่าต้น สมุแว้ง การบูร เทพธาโรในการทำอาหารไทย มักใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกระหรี่ ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น                                                              ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรทส์เซลและนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วยเปลือกอบเชยอบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่นเป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลียแก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า6 ปี หรือใบกิ่งยังนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย (Essential oil) ซึ่งจะมีมากในอบเชยญวณที่ให้น้ำมันหอมระเหย 2.5%

สรรพคุณใหม่ล่าสุดของ "อบเชย" หรือที่เธอเรียกติดปากว่า "cinnamon"
สรรพคุณของ อบเชย แต่โบร่ำโบราณนั้นมีดังนี้                                                                                                    ส่วนของเปลือกต้น มีรสหวานหอม ใช้ปรุงเป็นเครื่องเทศ ใช้ปรุงเป็นยาหอม ยานัตถุ์ ช่วยทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดศีรษะ       ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง น้ำมันที่กลั่นได้จากเปลือกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและกันบูด

ส่วนรากและใบ ใช้ต้มดื่มแก้ไข้จากการอักเสบหลังคลอด ที่ทันสมัยขึ้นมาหน่อย ก็บอกว่าอบเชยนั้นต้านมะเร็งได้ดี เพราะมีสารกลีเซอรีนเข้มข้น เป็นสารต้านแบคทีเรีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ สามารถช่วยเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายไขมัน นอกจากนี้นักวิจัยญี่ปุ่นยังพบว่าอบเชยสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้                                                                        

วิธีใช้ ก็คือ ซื้อผงอบเชยที่มีขายตามซูเปอร์มาเกต หรือจะซื้อที่เป็นแท่งมาบดเองก็ได้ ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มเช้า เย็น ก่อนอาหาร

    แต่สรรพคุณของอบเชยที่จะกล่าวถึงในวันนี้ ก็คือ อบเชย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งน่าจะเป็นข่าวดีของผู้ป่วยเบาหวานเว็บไซต์ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ Newscientist.com ได้รายงานข่าวใหม่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยผลดีจากการกินอบเชย ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในข่าวเผยว่าการโรยผงอบเชยเพียงวันละ 1/4 ถึงครึ่งช้อนชาในอาหาร หรือจุ่มก้านอบเชยลงในชาหรือกาแฟ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมชวนดื่มนั้น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าคนคนนั้นจะมีปัญหาเป็นเบาหวานอยู่หรือไม่ก็ตาม การค้นพบนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ โดยริชาร์ด แอนเดอร์สัน จากศูนย์วิจัยด้านสารอาหารเพื่อมวลมนุษย์ ของกระทรวงเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา ที่เมืองเบลท์สวิลล์ รัฐแมรี่แลนด์ ที่กำลังวิจัยเรื่องผลของอาหารที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยเลือกเอาพายแอปเปิ้ล ซึ่งเป็นอาหารจานโปรดของคนอเมริกัน ซึ่งปกติแล้วจะมีการโรยผงอบเชยเพื่อเพิ่มความหอมอร่อย มาเป็นตัวอย่างในการวิจัย ปกติเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลและแป้งในอาหาร จะแตกตัวกลายเป็นกลูโคส และเข้าไปหมุนเวียนในระบบเลือด
ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินจะไปทำให้เซลล์ของร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้เป็นพลังงาน หรือเปลี่ยนให้กลายเป็นไขมัน ซึ่งในคนที่เป็นเบาหวานก็จะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือผลิตได้ แต่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ รวมทั้งในคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวานแต่มีน้ำหนักตัวมาก ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็มักจะมีกลูโคสในเลือดมาก ซึ่งถ้ามีมากติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต ประสาท ได้

    เมื่อแยกธาตุของอบเชยออกมา พบว่ามีสารประกอบโพลีฟีนอลชนิดละลายน้ำได้ตัวหนึ่ง เรียกว่า MHCP เมื่อทดสอบในหลอดทดลองพบว่า MHCP นี้ทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนอินซูลิน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกับอินซูลินในเซลล์มากขึ้น ทีมงานของแอนเดอร์สันได้ทำการศึกษากับอาสาสมัครชาวปากีสถานที่ป่วยเป็นเบาหวาน โดยให้กินผงอบเชยบรรจุแคปซูล ขนาด 1, 3 และ 6 กรัมต่อวัน หลังอาหาร ผลที่ปรากฏในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา พบว่าคนกลุ่มนี้มีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยต่ำกว่าคนในกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้กินอบเชย ประมาณ 20% บางคนถึงกับมีระดับน้ำตาลลดลงมาเป็นปกติ ซึ่งหากหยุดกินอบเชย ก็พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับสูงขึ้นมาเหมือนเดิม

    นอกจากนี้อบเชยยังช่วยเสริมการทำงานของอินซูลิน ในเรื่องการควบคุมระดับไขมันในเลือดและคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ให้มีระดับต่ำลง และผลที่ได้จากหลอดทดลองยังพบว่ามันช่วยทำลายอนุมูลอิสระ ที่มักจะเพิ่มจำนวนขึ้นในคนที่เป็นเบาหวานให้ลดลงด้วย มีข้อควรระวังเล็กน้อย ก็คือ งดใช้ในเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้ที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวง อุจจาระแห้งแข็ง และหญิงมีครรภ์ ไม่ควรกินอบเชย และห้ามกินน้ำมันอบเชย เพราะจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน และเป็นอันตรายต่อไตได้ น้ำมันอบเชยนั้น เขาไว้ใช้แต่งกลิ่นสบู่ ใช้เป็นส่วนผสมในยาทาถูนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย

สร้างโดย: 
นางภัททิรา เลิศปฤงคพ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 396 คน กำลังออนไลน์