กรุงศรือยุธยา

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ประวัติกรุงศรีอยุธยา

 "กรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักรไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาถึง 417 ปี
มีพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมือง 33 พระองค์
เริ่มจากพระเจ้าอู่ทอง พ.ศ.1893 จนถึงวาระสุดท้าย เสียกรุงแก่พม่า
เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310
รวมราชวงศ์ที่ทรงปกครองอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาถึง 5 ราชวงศ์ คือ
ราชวงศ์เชียงราย ราชวงศ์สุวรรณภูมิ ราชวงศ์พระร่วง
ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 


ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18แล้ว มีเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ ละโว้, อยุธยา, สุพรรณบุรี, นครปฐม เป็นต้น ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอม และสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทอง เจ้าเมืองอู่ทองซึ่งขณะนั้นเกิดโรคห่าระบาดและขาดแคลนน้ำ จึงทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ พร้อมกันนั้นต้องเป็นเมืองที่มีนำไหลเวียนอยู่ตลอด ครั้งแรกพระองค์ทรงประทับที่ตำบลเวียงเหล็กเพื่อดูชั้นเชิงเป็นเวลากว่า 3 ปี และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[1] ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[2] มีชื่อตามพงศาวดารว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน ด้วยบริเวณนั้นมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก และทิศใต้, แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ ต่อมาพระองค์ทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย กรุงศรีอยุธยาจึงมีน้ำเป็นปราการธรรมชาติให้ปลอดภัยจากข้าศึก นอกจากนี้ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังห่างจากปากแม่น้ำไม่มาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆอีกหลายเมืองในบริเวณเดียวกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าสู่ภูมิภาคอื่นๆในอาณาจักร รวมทั้งอาณาจักรใกล้เคียงอีกด้วย

การขยายตัวของอาณาจักร
กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธมได้อย่างเด็ดขาดในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร


หลักฐานทางโบราณคดี
หลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดที่สุดว่าพระเจ้าอู่ทองควรจะสืบเชื้อสายมาจากลพบุรี คือ งานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนตันที่มีอิทธิพลของศิลปะลพบุรีอยู่มาก เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะซึ่งมีลักษณะแผนผังของวัดและตัวปรางค์ คล้ายกับปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระพุทธรูปมีพระพักตร์คล้ายกับประติมากรรมขอม และระบบการปกครองก็มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรอย่างเห็นได้ชัด เช่น ระบบเทวราชา

นอกจากนี้บริเวณเมืองอยุธยา ยังมีแม่น้ำป่าสักที่มีไหลผ่านเมืองศรีเทพที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ และแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมกับเมืองที่มีความเจริญซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป เช่น อาณาจักรสุโขทัย หริภุญไชย ล้านนา และเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย จึงสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้คงเคยเจริญภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีมาก่อน

เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และจะมีน้ำจากทางเหนือท่วมไหลลงมาท่วมทุกปีซึ่งน้ำจะได้พัดเอาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ลงมาด้วย พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาจึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาคงเป็นเมืองท่าและจุดแวะพักสินค้าด้วย เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงสู่อ่าวไทยไหลผ่าน จึงทำให้ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญจนเริ่มมีความเป็นเมือง สันนิษฐานว่าคงเมืองอยุธยาอาจเจริญขึ้นในช่วงทวารวดีตอนปลายแล้วดังพบหลักฐานทางศิลปกรรมคือเจดีย์วัดขุนใจเมือง ซึ่งมีลักษณะศิลปะและการก่อสร้างแบบศิลปะทวารวดี คือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนองค์สูงใหญ่ เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บริเวณถนนใหญ่ในตัวเกาะอยุธยา

และเมืองอยุธยาในช่วงแรกคงเจริญภายใต้อิทธิพลอำนาจของเมืองลพบุรี โดยอาจเป็นเมืองลูกหลวงดังมีข้อความปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า “เมืองรามเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้” เมืองรามนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองอโยธยาหรืออยุธยานั่นเอง ต่อมาเมืองลพบุรีได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากอาณาจักรเขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือ พศว.ที่ 16-17 เมืองอยุธยาก็คงต้องได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรด้วยแน่นอน ถึงแม้ว่าใน พศว.ที่ 18 จะมีการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย กษัตริย์และผู้คนบริเวณเมืองลพบุรีก็คงมิได้หายไปไหน จึงอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์จากเมืองลพบุรี อาจย้ายศูนย์กลางเมืองจากลพบุรีมาอยู่บริเวณเมืองอยุธยาในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่าอาจเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยและอยากได้เมืองใหม่ที่มีชัยภูมิที่ดีกว่านี้

กษัตริย์ลพบุรีองค์ที่คิดย้ายนี้ก็อาจเป็นต้นวงศ์พระเจ้าอู่ทอง โดยเมืองที่ย้ายมาระยะแรกกระจายตัวอยู่สองข้างของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่มีอายุก่อน พ.ศ. 1893 เช่น มีการสร้างพระเจ้าพนัญเชิงซึ่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปีพ.ศ. 1867 สามารถวิเคราะห์ได้ว่าวัดที่พระเจ้าพนัญเชิงประดิษฐานอยู่คงเป็นวัดขนาดใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการมีชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณนี้และคงเป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยก่อน ปี พ.ศ. 1893 แต่พื้นที่รอบบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าน้ำ จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ทำให้กษัตริย์พระองค์หนึ่งมีการคิดที่จะสร้างศูนย์กลางของเมืองใหม่ กษัตริย์พระองค์นั้นอาจเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งพระองค์ก็ได้เลือกพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้มาสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วสถาปนาตัวเองในชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาจักรอยุธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หากพิจารณาจากพื้นที่บริเวณที่เป็นเกาะเมืองอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลือกสร้างอาณาจักรอยุธยาที่มีความมั่นคงและใหญ่โต

ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดีเห็นว่า ควรมีการขุดค้นที่บริเวณสองข้างของแม่น้ำทั้ง 3 สายที่ไหลผ่านเมืองอยุธยา และบริเวณพื้นที่จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน เนื่องจากบริเวณนี้มีงานศิลปกรรมคือพระประธานที่วัดพนัญเชิงที่มีอายุการก่อสร้างปี พ.ศ. 1867 ซึ่งเก่ากว่าปีพ.ศ.ที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา เพื่อหาข้อมูลการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเพื่อมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานข้างต้นที่กล่าวมานี้

จึงอาจสรุปได้ว่า กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. 1893 แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 1893 คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวังดังความเห็นของอ.ศรีศักร วัลิโภดม ก็เป็นได้

 

พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
 สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี) อู่ทอง
5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี) อู่ทอง
6 สมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์ 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระอนุชาต่างมารดาพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 - 2077 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (โอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15 ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์) 2091 (42 วัน) อู่ทอง
16 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
18 สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ์) 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย
19 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย
20 สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2153 (5 ปี) สุโขทัย
21 สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2154 (1 ปี) สุโขทัย
22 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2154 - 2171 (17 ปี) สุโขทัย
23 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (8 เดือน) สุโขทัย
24 สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (28 วัน) สุโขทัย
25 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2199 (27 ปี) ปราสาททอง
26 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 - 4 วัน) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
29 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
34 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

 

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

 

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างไทย-พม่า โดยการเสียกรุงเกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 (จุลศักราช 1129) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่า

กองทัพพม่าอาศัยกำลังทหารที่เหนือกว่าโจมตีปล้นสะดมหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรอยุธยาทั้งทางเหนือและทางใต้ และเข้าปิดล้อมพระนคร ทหารอยุธยาป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองทัพพม่าไว้ได้ กองทัพพม่าจึงชนะศึก ภายหลังกองทัพพม่ายกทัพมาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้นานกว่า 1 ปี 2 เดือน

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้นเป็นการสูญเสียที่ใหญ่หลวงของไทย ทำให้ผู้คนถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ถูกฆ่าตายหรือไม่ก็หลบหนีไปตามป่าเขาเป็นจำนวนมาก ทรัพย์สมบัติถูกแย่งชิงหรือถูกทำลาย กรุงศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยมานานกว่า 400 ปีถูกทำลายเสียหายย่อยยับจนไม่สามารถฟื้นคืนได้

ในปีเดียวกันนั้นเอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของไทย และทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมืองจนทางการยกเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"


สาเหตุที่นำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยา


กองทัพอยุธยาได้เว้นจากการทำศึกสงครามมาเป็นเวลานาน ประกอบกับผู้นำอยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ คาดคะเนสถานการณ์และยุทธวิธีผิดไป ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแนวปะทะกันกองทัพพม่าเข้ามาถึงคูพระนคร หรือระบบการส่งกำลังบำรุงให้การสนับสนุน ก็ดูจะล่าช้ากว่าฝ่ายพม่ามาก และที่สำคัญที่สุดก็คือ ฝ่ายพม่าเองสามารถเอาชนะยุทธวิธีน้ำหลากที่ฝ่ายอยุธยามักใช้ได้ผลมาแล้วได้เป็นผลสำเร็จ

พม่าได้ปรับยุทธศาสตร์การตีพระนครใหม่ โดยไม่ยอมให้สภาพธรรมชาติมาเป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการทางทหาร เมื่อน้ำหลากมาแล้วพม่ายังไม่ยอมถอย ทั้งยังล้อมกรุงอยู่อย่างเหนียวแน่น ทำให้ฝ่ายอยุธยาต้องเผชิญกับภาวะอดอยาก และมีอันต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียกรุงมาจาก "คนทรยศ" ตามคำให้การของชาวกรุงเก่า หน้า 174 บอกว่า "...มีคนไทยชื่อ พระยาพลเทพ ข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเอาใจออกห่าง ลอบส่งศาสตราวุธเสบียงอาหารให้แก่พม่า สัญญาว่าจะเปิดประตูคอยรับเมื่อพม่าเข้าโจมตี และประตูที่พระยาพลเทพ เปิดให้ก็เป็นประตูเมืองทางทิศตะวันออกเข้าใจว่าคงเป็นบริเวณหัวรอ หรือจะห่างจากบริเวณนี้ก็ไม่เท่าใด ซึ่งพม่าก็ได้ระดมเข้าตีปล้นกรุงศรีอยุธยามาทางนี้ ตามที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้ โดยเข้าไปได้ในเวลากลางคืน ส่วนวันตามคำบอกของชาวกรุงเก่านั้น ตรงกับวันที่กรุงแตกดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เชลยไทยได้เห็นในขณะนั้น..."

พงศาวดารหลายฉบับได้กล่าวไว้ว่า

"...เมื่อกรุงใกล้จะแตก ไทยได้เกิดมุมานะต่อสู้อย่างเข้มแข็ง รบจนพม่าแตกกลับไปทุกครั้ง จนพม่าต้องตั้งล้อมนิ่งอยู่คราวหนึ่ง และเมื่อเวลากรุงแตกนั้น คนไทยที่สู้รบตายคาแผ่นดินอยู่บนกำแพงเมือง และตามที่ต่างๆ คงจะเห็นการกระทำของพระยาพลเทพได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายที่ภายหลังต่อมา เราไม่ทราบชะตากรรมของพระยาผู้ทรยศต่อชาติคนนี้..."

 

วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

สมเด็จพระสุริโยไท

 

สมเด็จพระสุริโยไท หรือ พระสุริโยไท วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีใน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหรือพระเฑียรราชา พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิ

พระราชประวัติ

พระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยทัยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีจุลศักราช ๙๑๐ ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๐๙๒ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)

วีรกรรม

ความเป็นมาของสงครามระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนั้น มีเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ได้รู้ข่าวกรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระแก้วฟ้า พระราชโอรส และขุนวรวงศาธิราช และอัญเชิญพระราชอนุชาต่างพระชนนีในสมเด็จพระไชยราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่า “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงหงสาวดียกมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกออกไป กองทัพฝ่ายกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีสมเด็จพระสุริโยไท พระอัครมเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จมาในทัพด้วยนี้ ได้ปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ทรงเข้าชนช้างกัน ความในพงศาวดารไทยรบพม่าพรรณนาไว้ว่า

“...ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที สมเด็จพระสุริโยไทเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางช้างข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยไท ด้วยสำคัญว่าเป็นชายสิ้นพระชนม์ซบลงกับคอช้าง…”

การสู้รบหลังจากสมเด็จพระสุริโยไทสิ้นพระชนม์แล้ว พระราเมศวรกับพระมหินทราธิราชพระราชโอรส ทรงขับช้างเข้าต่อสู้กับพระเจ้าแปรและกันพระศพสมเด็จพระราชชนนีกลับเข้าพระนคร โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญประดิษฐานไว้ในสวนหลวงเป็นการชั่วคราว จนเมื่อกองทัพพระเจ้าหงสาวดีได้ข่าวว่า กองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย อันมีสมเด็จพระมหาธรรมราชา นำกำลังยกลงมาช่วยกรุงศรีอยุธยา ประจวบกับเสบียงอาหารเริ่มขาดแคลนลง จึงเลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี ส่วนการพระศพสมเด็จพระสุริโยไทนั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ สวนหลวง และให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงเป็นพระอารามเพื่ออุทิศ พระราชกุศลพระราชทาน แด่สมเด็จพระอัครมเหสี ประกอบด้วยพระเจดีย์ พระวิหาร แล้วพระราชทานนามพระอารามอันเป็นพระราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระสุริโยไทแห่งนี้ว่า วัดสบสวรรค์ ในปัจจุบันชื่อวัดสวนหลวงสบสวรรค์

พระวิสุทธิกษัตรีย์

พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนามเดิมของพระนางคือ พระสวัสดิราชธิดา เป็นอัครวีรกษัตรีย์ที่สืบเชื้อสายสองพระราชวงศ์ ทางด้านพระราชมารดานั้นสมเด็จพระสุริโยทัยเป็นเจ้านายฝ่ายราชวงศ์พระร่วงเจ้า สุโขทัยศรีสัชนาลัย ส่วนพระราชบิดาคือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ

พระนางได้อภิเษกสมรสกับหรือขุนพิเรนทรเทพ เจ้านายฝ่ายพระร่วง ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระมหาธรรมราชา รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก พระนางจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ รั้งตำแหน่งพระอัครมเหสีแห่งเมืองพิษณุโลก พระนางทรงเป็นพระราชมารดาของ พระสุพรรณกัลยา(องค์ทอง) พระนเรศวร (องค์ดำ) และ พระเอกาทศรถ (องค์ขาว) แม้พระนางจะกินตำแหน่งสูงศักดิ์ถึงพระอัครมเหสี แต่ความทุกข์โทมนัสในใจนั้นแสนสาหัส ยากที่ผู้ใดจะรับรู้ หลังจากสูญเสียพระราชมารดา สมเด็จพระสุริโยทัย และ พระน้องนางเธอ สมเด็จพระบรมดิลก ในสงครามพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้แล้ว พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เสวยราช ได้ยกกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตั้งแต่เมืองตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร จนกระทั่งเมืองพิษณุโลกโดยได้ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ได้ทุกด้าน อาณาประชาราษฎรเดือดร้อนหนีภัยสงครามมาอยู่ในเมืองเกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารอย่างหนักเนื่องจากข้าศึกล้อมเมืองไว้ทุกด้านไม่สามารถทำนาได้ ประกอบทั้งกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองข้างฝ่ายพระราชบิดาติดแต่จะตกแต่งพระนครรับข้าศึกอย่างเดียวไม่คิดจะยกกองทัพมาขึ้นช่วย กลับปล่อยให้พระนางกับพระมหาธรรมราชา ตั้งรับศึกพม่าแต่เพียงลำพัง โดยไม่คิดถึงความสัมพันธ์พ่อลูกแม้แต่น้อย สุดท้ายพระมหาธรรมราชาเห็นว่าบ้านเมืองขาดเสบียงอาหารประกอบทั้งทหารหาญที่ส่งไปรบก็ล้มตายลงเป็นอันมากฯลฯ เป็นการยากยิ่งที่จะรักษาเมืองพิษณุโลกจากข้าศึกซึ่งล้อมเมืองไว้ทุกด้านได้ จึงยอมเป็นไมตรีกับพระเจ้ากรุงหงสาวดี โดยส่งตัวพระองค์ดำ พระนเรศวร ไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี

กาลต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แต่งพระราชสาสน์ไปยังพระมหาจักรพรรดิ กรุงศรีอยุธยา เพื่อสู่ขอพระน้องนางเธอ พระเทพกษัตรีย์ ไปเป็นอัครมเหสีแห่งกรุงล้านช้างจะได้เป็นสุวรรณปฐพีกับกรุงศรีอยุธยา ข้างฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เมื่อทราบเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จึงให้พระมหาธรรมราชา แต่งทัพชิงตัวพระเทพกษัตรีย์ไปให้พระเจ้าบุเรงนอง ทางพระเทพกษัตรีย์นั้นไม่ได้มีความยินดีที่จะเป็นชายาของพระเจ้าบุเรงนองจึงได้ปลิดชีพองค์เอง ณ กรุงหงสาวดี นำความโศกเศร้าพระทัยมาถึงพระวิสุทธิกษัตรีย์อย่างที่สุด ทรงตัดพ้อถึงตัวเองเสมอว่าส่งตัวพระน้องนางไปสิ้นพระชนม์ เวลาต่อมากองทัพพระเจ้าล้านช้างได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาแต่งสาสน์ไปยังอยุธยาเพื่อขอให้มาช่วยรบ พระมหาจักรพรรดิได้ให้พระมหินทร์ พระอนุชาธิราชของพระนาง นำกองทัพมาช่วยแต่พอมาเมืองพิษณุโลก กับเห็นความสำคัญของสายพระโลหิตในพระพี่นางข้นน้อยกว่าข้าศึก กลับลำยกทัพสนับสนุนกับพระเจ้าล้านช้างตีเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาจึงหันไปขอกำลังสนับสนุนพระเจ้าบุเรงนองแทน พระเจ้าบุเรงนองได้ให้ยกกองทัพพม่ามาช่วยขับไล่ทัพพระเจ้าล้านช้างจนหนีแตกพ่าย

สิ้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้กรีฑาทัพหลวงหมายจะมาเอากรุงศรีอยุธยาและได้ให้พระมหาธรรมราชายกทัพหัวเมืองเหนือมาร่วมทัพด้วย พระนางในฐานะอัครมเหสีเมืองพิษณุโลกนั้นมีความทุกข์ในพระทัยเหนือผู้ใด ครั้นจะยกทัพเอาชัยเหนือเมืองพระราชบิดาก็จะเป็นการอกกัญญูภาพ ครั้นจะไม่ให้พระราชสวามียกทัพไปร่วมบ้านเมืองก็จักเดือดร้อน ในที่สุดทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ทำศึกมีชัยเหนือกรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้ต้องนำตัวพระมหินทราธิราช พระอนุชาไปเป็นตัวประกันยังกรุงหงสาวดี แล้วสถาปนาพระมหาธรรมราชาขึ้นเป็นเจ้าเหนือหัวกรุงศรีอยุธยาแทน พระนางจึงได้ย้ายมากินตำแหน่งพระอัครมเหสีแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้าบุเรงนองแล้วพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงเมืองประเทศราชต่างก็ได้แข็งเมือง จากพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครงแล้วก็ได้เทครัวเชลยศึกครั้งเสียกรุงที่อยู่กรุงหงสาวดี กลับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง

พระสุพรรณกัลยา

พระสุพรรณกัลยา ทรงเป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่นางใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติที่เมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2095 เชื่อว่าพระนามเดิม คือ "องค์ทอง" ได้รับการกล่าวขานว่าทรงมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เป็นองค์ประกันแทน พระอนุชา ในคราวสงครามครั้งเสียกรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 โดยได้ถวายตัวเป็นพระมเหสีใน พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (พระเจ้าบุเรงนอง) ในยศมีพะยาเง มีพระนามในภาษาพม่าว่า "อเมี๊ยวโหย่ว" แปลว่า ผู้จงรักภักดีในเผ่าพันธุ์ตน และมีพระธิดา 1 องค์ทรงพระนามคือ "เมงอทเว" เชื่อว่าเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปราน โดยทรงจัดให้สร้างวังไทยขึ้นในพระราชวังที่หงสาวดี ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคต พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นครองราชย์แทน พระนางจึงกลายเป็นพระมเหสีในพระเจ้านันทบุเรงตามประเพณี และมีพระโอรส 1 พระองค์(ไม่ปรากฏพระนาม)ภายหลังจากที่มหาอุปราชามังกะยอฉะวาสิ้นพระชนม์ขาดคอช้างในปี พ.ศ. 2135 จากการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้านันทบุเรงมีความพิโรธมาก จึงใช้พระแสงขรรค์สังหารพระนางและพระโอรสสิ้นพระชนม์ ขณะที่พระโอรสพระชนมได้ 8 เดือน

พระสุพรรณกัลยา ถูกกล่าวถึงเป็นข่าวในปี พ.ศ. 2541 โดย พ.ญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานบริษัทกิฟฟารีน มีศรัทธาในพระนางโดยอ้างว่าได้ปฏิธรรม และนั่งสมาธิระลึกเห็นพระนาง จนเป็นที่กล่าวขานอย่างกว้างขวางในคราวนั้น และได้มีการวิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์ว่าพระนางมีจริงหรือไม่ และมีรูปลักษณ์อย่างไร เพราะหลักฐานบางพงศาวดารก็มิได้มีการกล่าวถึงแต่ประการใด

สร้างโดย: 
รัชนี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 502 คน กำลังออนไลน์