ต้นไม้ประจำโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย

รูปภาพของ nbrkunthon

ต้นทองกวาว   ต้นไม้ประจำโรงเรียน นมร.บร.

     สวัสดีครับผู้เข้าเยี่ยมชม blog นี้

     สำหรับต้นทองกวาว เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย  ต้นเดิมเริ่มปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 หลังจากที่ย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ มาเรียนที่โรงเรียนปัจจุบัน ซึ่งปลูกโดย นายบรรจง  พงษ์ศาสตร์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาและท่านผู้อำนวยการสุรเทพ  ตั๊นประเสริฐ โดยปลูกไว้บริเวณมุมลานเสาธงด้านทิศตะวันตก ข้างสนามเปตองเดิม และเจริญเติบโตเป็นลำดับ จนถึงปีพ.ศ. 2555 ได้เกิดพายุใหญ่พัดเอากิ่งแขนงใหญ่แขนงหนึ่งหักลง(จากการตรวจสอบเกิดจากปลวกกัดกินบริเวณกิ่งที่ตาย) และกิ่งหลักที่เหลือก็เกิดความเสียหายจากปลวก ท่านผู้อำนวยการบรรลือชัยผิวสานต์จึงให้นักการช่วยกันตัดลง เพราะเกรงจะเกืดอันตรายกับนักเรียน ปัจจุบันจึงเหลือแต่ต้นตอกับแขนงใหม่ที่เกิดขึ้น และได้มีการปลูกต้นทองกวาวเพิ่มเติมในโรงเรียนจนบัจจุบันมีต้นทองกวาวในโรงเรียนกว่า 20 ต้นตามบริเวณต่างๆ คราวนี้เรามาทำความรู้จักกับต้นทองกวาวกันดีกว่า

 

ที่มาของภาพ http://i466.photobucket.com/albums/rr29/akitiablog/Blog4/Butea-monosperma-014.jpg

 

          ต้นทองกวาว ชื่อสามัญ Bastard Teak, Bengal Kino, Kino Tree, Flame of the Forest ทองกวาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub จัดอยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย PAPILIONOIDEAE สมุนไพรทองกวาว ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น จาน (อุบลราชธานี), จ้า (สุรินทร์), ทองต้น (ราชบุรี), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ (ภาคกลาง), กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), ดอกจาน (ภาคอีสาน) จอมทอง (ภาคใต้) เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย และในแถบทางภาคตะวันตกของอินโดนีเซีย

 

 

     ทองกวาว ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นทองกวาว จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 12-18 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา ลักษณะของการแตกกิ่งก้านจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนเปลือกต้นจะเป็นปุ่มปม ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการใช้กิ่งปักชำ
ใบทองกวาว ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีความกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร และขอบใบเรียบ

 

 

ใบทองกวาว ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีความกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร และขอบใบเรียบ

 

 

              ดอกทองกวาว ออกดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกมีสีแดงส้มหรือแสด มีความยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะกันเป็นกลุ่ม เมื่อดอกบานจะมีกลีบ 5 กลีบ และจะออกดอกมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

 

 

ผลทองกวาว ลักษณะของผลเป็นฝักแบน ฝักมีสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ ที่ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน ฝักโค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ส่วนด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก ในฝักมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักมีความยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร

        สรรพคุณของทองกวาว รากทองกวาว สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ (ราก) รากทองกวาว ใช้ต้มรักษาโรคประสาท (ราก) ดอกทองกวาว ใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิษไข้ได้ (ดอก) ช่วยแก้กระหายน้ำ (ดอก) ช่วยสมานแผลปากเปื่อย (ดอก) แก่น สามารถใช้ทาแก้อาการปวดฟันได้ (แก่น) ดอกใช้ภายนอกใช้หยอดตาแก้อาการตาแดง เจ็บตา ปวดตาระเคืองตา ตามัว ตาแฉะ ตาฝาง (ดอก) ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ยาง) ทองกวาว สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องขึ้น (อาการท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น) (ใบ) ฝักหรือใบหรือเมล็ด นำมาต้มเอาแต่น้ำใช้เป็นยาขับพยาธิ หรือพยาธิตัวกลม (ฝัก,ใบ,เมล็ด) ใช้บำบัดพยาธิภายใน (เมล็ด) ดอก ใช้ต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ (ดอก) สรรพคุณทองกวาว ใบช่วยรักษาริดสีดวง (ใบ) ดอกหรือใบ ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวดได้ (ดอก,ใบ) เมล็ดนำมาบดผสมกับมะนาว นำมาบริเวณที่เป็นผดผื่นแดง อักเสบ คันและแสบร้อน (เมล็ด) ใบใช้ตำพอกฝีและสิว แก้อาการปวด และช่วยถอนพิษได้ (ใบ) สรรพคุณของทองกวาว ดอกช่วยแก้พิษฝี (ดอก) รากทองกวาว นำมาใช้ประคบบริเวณที่เป็นตะคริวได้ (ราก) ช่วยลดกำหนด (ดอก) สารสกัดจากเปลือกทองกวาว สามารถช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นได้ แต่จะทำให้จำนวนอสุจิลดลง (เปลือก)

ประโยชน์ของทองกวาว ดอกใช้ย้อมสีผ้า โดยจะให้สีแดง ลำต้นเมื่อนำมาสับเป็นแผลจะมียางไหลออกมา สามารถนำมาใช้แทน Kimo ได้ หรือที่เรียกว่า Bengal Kino เส้นใยจากเปลือกสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกหลวมๆได้ และกระดาษได้ ประโยชน์ทองกวาว ใบสดนำมาใช้ห่อของ ใบทองกวาว ใช้ตากมะม่วงกวน ใบใช้เป็นอาหารสำหรับช้างและวัวควายได้ ในอินเดียใช้ใบนำมาปั้นเป็นถ้วยไว้ใส่อาหารและขนมแทนการใช้พลาสติก เนื้อไม้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องมือทางการเกษตรได้ เนื้อไม้เมื่อแห้งจะมีน้ำหนักเบาและหดตัวมาก จึงสามารถใช้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ทำเรือขุด หรือเรือโปงใช้ชั่วคราว หรือใช้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำและกังหันน้ำได้ ทองกวางจัดเป็นไม้มงคลนาม คนไทยสมัยก่อนเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก คือสามารถมีทองได้ตามชาติหรือมีทองมากมายนั่นเอง นอกจากนี้ดอกทองกวาวยังมีความสวยงามเรืองรองเหมือนทองธรรมชาติอีกด้วย โดยตำแหน่งที่ปลูกก็คือทิศใต้ และถ้าปลูกในวันเสาร์ก็จะยิ่งเป็นมงคลขึ้นไปอีก หรือถ้าจะให้เป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

รูปภาพของ ssspoonsak

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 287 คน กำลังออนไลน์