ต้นตะแบก ที่มีอยู่ในบริเวณโรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม
ต้นตะแบก
ชื่อสามัญ Cananga
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata
ตระกูล ANNONACEAE
ลักษณะทั่วไป
ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ
ลักษณะวิสัย
ที่มาของภาพ:https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTPz_3s3OdRwY9e2b_lqTVUH6fevf3Opi0s18SBDBmkt3fXkawY
ไม้ต้น ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โคนต้นเป็นพูพอนสูง เปลือกต้นเรียบเป็นมันสีเทาหรือสีเทาอ่อนอมขาว มีแผลเป็นหลุมตื้น ๆ ตลอดลำต้น
ใบ (Foliage) =ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ชอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา ใบเเก่เกลี้ยง ใบอ่อนสีชมพูหรือแดง มีขนสั้น
ที่มาของภาพ:http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/181050.jpg
ดอก (Flower) = สีชมพูอ่อนหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อเเยกแขนงตามซอกใบปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านช่อดอก และดอกตูมมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม กลีบเลี้ยงมี 10-12 สัน ปลายแยก 5-6 กลีบ มีขนสีน้ำตาลด้านนอกและปลายกลีบด้านใน กลีบดอก 6 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร
ที่มาของภาพ:http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-173033-5.jpg
ผล (Fruit) =ผลแห้งแตก รูปไข่สีน้ำตาล เเตกเป็น 5-6 พู เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีปีก
ประโยชน์
รากเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ มีไข่เปลือกชงดื่มแก้ท้องร่วง แก้พิษ เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ขอบคุณค่ะ