เด็กเก่งคอมฯ กับเด็กติดเกมฯ ต่างกันตรงไหน?
ปัญหาเด็กติดเกมหรือหมกมุ่นอยู่กับการ chat ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเริ่มสร้างปัญหาให้กับครอบครัวและสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เห็น ได้จากโรงเรียน คลินิกเด็กของโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง ที่เต็มไปด้วยผู้ปกครองมายื่นรอเข้าคิวเพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาเหล่า นี้ไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งปัญหาที่พบก็มีมากบ้างน้อยมากตามระยะเวลาที่เล่น แต่ล้วนเป็นปัญหาที่น่าขบคิดเป็นอย่างยิ่ง
ปัญหาอยู่ตรงไหนแน่
สาเหตุ หนึ่งก็คือ ความต้องการที่จะพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ให้กับเด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ผิดก็คือ เราเกิดไปเข้าใจแบบผิดๆ ว่าการส่งเสริมให้เด็กได้ “เล่น” กับคอมพิวเตอร์ คือ วิธีพัฒนาเรื่องนี้
ความเข้าใจผิดตรงนี้ก็ทำให้ครูและพ่อแม่ส่วนหนึ่งพยายามให้ลูกได้ “เล่น” คอมพิวเตอร์ผ่านเกม ผ่านการท่องอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใหญ่ไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งที่ลูก “เล่น” ต่าง คิดว่านี่คือการเรียนรู้ที่สำคัญ คือทักษะที่จำเป็น เมื่อเด็กๆ มีทักษะเหล่านี้และมักจะส่งผลให้พวกเขามีความสามารถ มีความเก่งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะแข่งขันกับใครๆ ก็ได้
ความ เข้าใจผิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะว่าการได้เล่นหรือได้สัมผัสกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แม้จะเก่งกาจแค่ไหนเราก็เป็นได้แค่ผู้ใช้หรือผู้บริโภคโปรแกรมที่เขาผลิตมา ขายให้เราแค่นั้นเอง เราไม่สามารถที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้ด้วยพื้นฐานเพียงแค่การเป็นผู้ใช้หรือผู้บริโภคโปรแกรมที่ชำนาญเท่านั้น เพราะการที่จะเป็นคนเก่งเรื่องคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแท้ จริงนั้นพื้นฐานที่สำคัญอยู่ที่ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์
อยาก ให้ผู้อ่านศึกษากรณีของประเทศอินเดียดูสักนิด หลายปีก่อนมีการสำรวจความสามารถทางคณิตศาสตร์ของคนอินเดียพบว่า ผู้คนทางแถบภาคใต้ของอินเดียมีคนที่เก่งคณิตศาสตร์ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนใน แถบอื่นๆ ขอวงประเทศ
แน่นอนครับ Srinivasa Ramanujan สุด ยอดอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ของโลกก็มีพื้นเพอยู่ทางภาคใต้ของอินเดียนี่เอง นี่คือคำตอบว่าทำไมเขาถึงเลือกเมืองบังกาลอร์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ อินเดียให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของเขา จากพื้นฐานความสามารถของคนในแถบนี้ อินเดียใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี พัฒนาบังกาลอร์จนกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกไปเรียบร้อยแล้ว
และไม่กี่ปีมานี้เอง Bill Gates เจ้าพ่อแห่ง Microsoft ได้บริจาคเงินจำนวนกว่า 1,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ให้กับรัฐบาลอินเดียเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ จนองค์การอนามัยโลกสำนักงานประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุง นิวเดลีต้องถามว่าทำไมจึงต้องบริจาคมากมายถึงปานนั้น
สิ่งที่ Bill Gates ตอบ ก็คือ ไมโครซอฟท์จะไม่มีวันนี้เลยหากไม่มีวิศวกรคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเมอร์ผู้ เก่งกาจจากอินเดียเรียกได้ว่าไมโครซอฟท์เป็นหนี้บุญคุณของคนเก่งชาวอินเดีย
และก็ไม่ต้องตกใจนะครับถ้าพบว่าพนักงานไมโครซอฟท์เกินครึ่งเป็นคนอินเดีย
ประเทศ อินเดียพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้คนของเขาจากพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ครับ ไม่ใช่ส่งเสริมให้คนของเขาเล่นเกมคอมพิวเตอร์
เกมคอมพิวเตอร์ให้โทษมากกว่าคุณ
เมื่อ ไม่นานมานี้ นักวิจัยสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งได้ทำการศึกษาเด็กชั้นประถมและมัธยมของเขาที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ พบว่าเกมทุกเกมที่ผลิตออกมาขายจะมีการออกแบบเกมให้มีความท้าทาย น่าสนใจ น่าติดตาม และสุดท้ายเด็กที่ชอบเล่นเกมส่วนใหญ่ก็จะติดเกมไม่ว่าจะเป็นเกมที่บอกว่า เป็นเกมสร้างสรรค์หรือเกมประเภทที่เต็มไปด้วยความรุนแรง สรุปได้ว่า ไม่ว่าเด็กจะเล่นเกมแบบไหนก็มีโอกาสติดได้ทั้งนั้น
และ เมื่อศึกษาลึกลงไปอีกเขาก็พบว่า ทั้งเกมสร้างสรรค์และเกมรุนแรงต่างก็ทำให้การเรียนของเด็กที่ติดเกมแย่ลง ทำให้เด็กมีสังคมแคบลง แยกตัว ไม่มีเพื่อน แต่เกมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงจะน่ากลัวกว่าตรงที่มันทำให้เด็กมีพฤติกรรม ก้าวร้าวมากขึ้นชอบเถียงครู ชอบใช้กำลัง มีความคิดว่าการใช้ความรุนแรงคือความถูกต้องชอบธัรรมและเป็นทางออกของการ แก้ไขปัญหา
สำหรับ บ้านเรายังไม่มีการศึกษาที่ลึกแบบนี้ มีแค่การศึกษาถึงความชุกของปัญหา ซึ่งพบว่าบ้านเราก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้ไม่น้อยเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเด็กติดเกม เด็กที่มีปัญหาการเรียนจากปัญหาติดเกม รวมทั้งการหนีเรียนไปเล่นเกม ถึงแม้จะยังไม่มีข้อมูลผลกระทบต่างๆ แบบของสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้แปลว่าบ้านเราจะไม่มีปัญหาแบบของเขา เพราะไม่ว่าเกมประเภทฆ่าฟันกันอย่างไร้กฎเกณฑ์ ไร้ศีลธรรม เกมลามกทุกรูปแบบที่เด็กอเมริกันได้สัมผัส ลูกหลานของเราก็สามารถที่จะสัมผัสได้ไม่ต่างกัน จะไปซื้อแผ่นเกมมาเล่น ไปเล่นตามร้าน หรือเล่นออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตลูกหลานของเราทำได้ทั้งนั้น
พ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง ต้องตื่นตัวและมีมุมมองใหม่
การ ที่เราอยากจะพัฒนาความสามารถของลูกหลานในเรื่องคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยี สารสนเทศเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่เราต้องมีวิธีที่ถูกต้อง การให้เด็กเล่นเกมแล้วคิดว่ามันจะช่วยให้ลูกหลานเราเก่งเป็นความเข้าใจผิด ภายในเกมคอมพิวเตอร์ ภายในเว็บไซต์ต่างๆ ที่เด็กของเราท่องไป มันมีหลุมพรางมากมายที่จะดักล่อให้ลูกหลานของเราไปติดกับ
เพราะ ฉะนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ใหม่ ต้องคอยดูแลลูกหลานของเราอย่างใกล้ชิด หากเราใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าและเพื่อการเรียนรู้ นั่นคือ สิ่งที่เราต้องสนับสนุน แต่หากเขาใช้เพื่อเล่นเกมหรือเพื่อการเข้าไปข้องแวะกับเว็บไซต์ที่อาจจะเป็น อันตรายกับเขา เราต้องพูดคุยและตักเตือน
นอก จากนี้ การดูแลและควบคุมเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมก็จำเป็นเพื่อป้องกันการ ติด เพราะเมื่อไรพวกเขาติดเกมหรือติดคอมพิวเตอร์แล้ว การแก้ไขมันยากมากทีเดียว
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ใบงานที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมกับเขียนคำถาม
1. ให้บอกความแตกต่างของหน่วยความจำหลักรอมและหน่วยความจำหลักแรม
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของตัวเลขเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าหน่วยความจำหลัก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อน จึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2. ให้บอกหน้าที่ของหน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง
หน่วยความจำหลัก
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง
จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่างเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วย
3. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับเข้า พร้อมอธิบาย
หน่วยรับเข้า เป็นอุปกรณ์ ที่นำข้อมูล หรือโปรแกรม เข้าไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำ และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูล มีหลายประเภท
4. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยส่งออก พร้อมอธิบาย
หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจ อุปกรณ์ส่งออก ที่ใช้ใน ระบบคอมพิวเตอร์ ที่นิยมทั่วไปคือ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) อุปกรณ์ส่งออก
ของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมาก
ใบงานที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมกับเขียนคำถาม
1. ให้บอกความแตกต่างของหน่วยความจำหลักรอมและหน่วยความจำหลักแรม
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของตัวเลขเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าหน่วยความจำหลัก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อน จึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2. ให้บอกหน้าที่ของหน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง
หน่วยความจำหลัก
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง
จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่างเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วย
3. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับเข้า พร้อมอธิบาย
หน่วยรับเข้า เป็นอุปกรณ์ ที่นำข้อมูล หรือโปรแกรม เข้าไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำ และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูล มีหลายประเภท
4. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยส่งออก พร้อมอธิบาย
หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจ อุปกรณ์ส่งออก ที่ใช้ใน ระบบคอมพิวเตอร์ ที่นิยมทั่วไปคือ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) อุปกรณ์ส่งออก
ของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมาก
ใบงานที่ 1 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมกับเขียนคำถาม
1. ให้บอกจุดเด่นของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการประมวลผลข้อมูล
หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ให้บอกส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่
3. หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกได้เป็นกี่หน่วย อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU แบ่งออกเป็น 3 หน่วยคะ ได้แก่
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
4. ให้บอกหน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง (อังกฤษ: central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s
หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ