ดาวศุกร์

Homeแบบทดสอบก่อนเรียนแหล่งก่อเกิดพลังงานระบบสุริยะนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมนุษย์ในอวกาศแบบทดสอบหลังเรียน

 

ดวงอาทิตย์ 
ดาวพุธ 
ดาวศุกร์ 
โลก 
ดาวอังคาร 
ดาวพฤหัสบดี 
ดาวเสาร์ 
ดาวยูเรนัส 
ดาวเนปจูน 
ดาวพลูโต 

 ดาวศุกร์ (Venus)


ภาพที่ 1 ดาวศุกร์

          ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 และไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต

          ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปดาวศุกร์คือ มาริเนอร์ 2 ใน พ.ศ.2505  หลังจากนั้นก็มีอีกหลายลำ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 ยานอวกาศแมกเจลแลน ได้ใช้เรดาร์ในการสำรวจผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์ เพื่อทำแผนที่พื้นผิวของดาว การสำรวจโดยใช้สัญญาณเรดาร์ ทำให้ทราบถึงความสูงต่ำของพื้นผิวดาวศุกร์ได้ และพบว่าพื้นผิวดาวศุกร์ปกคลุมไปด้วย ที่ราบที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ และภูเขาไฟขนาดใหญ่หลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นผิวดาวศุกร์ไม่มีหลุมอุกกาบาตขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับดาวพุธ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า อุกกาบาตจะถูกเผาไหม้ไปจนหมด ในระหว่างที่เดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์

          ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์นั้นมีความหนาแน่นมาก ความดันบรรยากาศที่พื้นผิวดาวศุกร์มีค่าประมาณ 90 เท่า ของความดันบรรยากาศที่พื้นผิวโลก หรือมีค่าเท่ากับความดันที่ใต้ทะเลลึก 1 กิโลเมตร บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ และมีชั้นเมฆอยู่หลายชั้นที่ประกอบไปด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (กรดกำมะถัน) ซึ่งมีความหนาหลายกิโลเมตร ทำให้เราไม่สามารถสังเกตเห็นพื้นผิวดาวศุกร์ได้

          ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบนี้ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก กักเก็บความร้อนไว้ภายใต้ชั้นบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 600-900 องศาเซลเซียส จะเห็นว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่าก็ตาม

โครงสร้างของดาวศุกร์ (STRUCTURE OF THE PLANET)
           ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีเนื้อแข็ง  ส่วนแก่น (core)  มีลักษณะคล้ายโลหะ  ล้อมด้วยชั้นของเนื้อดาว (mantle) ที่มีลักษณะเป็นหินหนามาก  โดยมีเปลือกนอ (crust) บาง ๆ อยู่บนชั้นเนื้อดาวอีกทีหนึ่ง  จากการสำรวจอวกาศ   (space probe) ที่ประสบความสำเร็จในการลงสู่พื้นดาวศุกร์ พบว่าดาวศุกร์มีพื้นที่ราบกว้างขวางหลายแห่ง  มีหุบเขามากมาย และมีภูเขาที่มีความสูงกว่า 32,800  ฟุต (10,000  กิโลเมตร)  อยู่หลายลูก  ส่วนบริเวณที่เห็นลึกลงไปนั้นในอดีตน่าจะเป็นทะเลต่าง ๆ  ซึ่งมีมาก่อนการก่อเกิดขึ้นของบรรยากาศ

จัดทำโดย ครูอรพิน  สีแก้ว
โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม   พะเยา
Copyright(c)2006 Ms.Oraphin Seekaew. All right reserved.
Email  :   miyugi99@hotmail.com

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.