องค์ประกอบ

 

Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนความหมายองค์ประกอบกระบวนการเทคนิคการโต้วาทีแบบทดสอบหลังเรียน

 

 

องค์ประกอบของการโต้วาที

    องค์ประกอบของการโต้วาทีมี 5 ประการ คือ ญัตติ ประธานในการโต้วาที ผู้โต้วาที กรรมการ และผู้ฟัง

    เวลาที่ใช้ในการโต้วาทีมี 4 แบบคือ 533 644 755 866 ตัวเลขตัวแรกเป็นเวลาที่หัวหน้าฝ่ายทั้งสองฝ่ายใช้พูดช่วงแรก ตัวเลขตัวกลางเป็นเวลาของผู้สนับสนุนทั้ง 4 คน และตัวเลขตัวท้ายเป็นเวลาของหัวหน้าฝ่ายใช้สรุป

        1.ญัตติ หรือหัวข้อเรื่องที่ใช้ในการโต้วาที  เป็นการเสนอความคิด  เห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องเดียวกัน  การเลือกญัตติควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

            1.1 ควรเป็นญัตติที่คนทั่วไปสนใจ
            1.2 มีประโยชน์ต่อผู้โต้วาทีและคนฟัง
            1.3 เป็นญัตติที่ทั้งสองฝ่ายสามารถหาเหตุผลมาหักล้างกันได้ไม่เป็นภัยต่อสังคม

    ลักษณะของญัตติที่ดี
    1.1 เป็นญัตติที่มีข้อความไม่ตายตัว สามารถคัดค้านได้ หรือไม่ใช่ข้อความที่เป็นจริง เช่นโรคเอดส์รักษาไม่หาย
    1.2 เป็นญัตติที่ก่อให้เกิดความคิดได้หลายทางที่ก่อให้เกิดความคิดเห็นได้หลายทาง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่น "ผู้หญิงไม่ควรเป็นนักปกครอง" "ข้าวขึ้นราคาชาวนามั่งมี" "ควรสอนเพศศึกษาในโรงเรียนมัธยม" เป็นต้น
    1.3 เป็นญัตติที่คนส่วนใหญ่สนใจ
    1.4 เป็นญัตติที่ช่วยให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ มีสาระและช่วยผู้ฟังเกิดความคิดที่กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม
    1.5 เป็นญัตติที่ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก หรือลบหลู่สถาบันใด ๆ เช่น รักกันหนาต้องพากันหนี

        ตัวอย่างญัตติ  

                - ผู้ชายร้ายกว่าผู้หญิง
                - รวยน้ำใจมีค่ากว่ารวยเงิน
                - ความสวยความหล่อเป็นต่อคารม

        2. คณะบุคคลที่ดำเนินการโต้วาที

           2.1 ประธานในการโต้วาที (หรือผู้ดำเนินการโต้วาที)  มีหน้าที่กล่าวเปิดการโต้วาที ประกาศญัตติ  ระเบียบการโต้ให้ผู้โต้และผู้ฟังได้ทราบ กล่าวแนะนำผู้โต้ทั้งสองฝ่าย เชิญผู้โต้ขึ้นโต้ตามลำดับ ประธานควรระวังในเรื่องต่อไปนี้

    ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เผลอกล่าวสนับสนุนผู้โต้วาทีคนใดคนหนึ่งเป็นอันขาด
    ต้องพูดให้น้อยที่สุด เพราะผู้ฟังเน้นมาฟังผู้โต้วาทีมากกว่า
    ต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องกำหนดการ ข้อมูลเกี่ยวกับญัตติ กรรมการ และผู้โต้วาที

          2.2  ผู้โต้วาที  ซึ่งประกอบด้วยบุคคล  2  ฝ่าย  คือ

                -ฝ่ายเสนอ ประกอบด้วย หัวหน้าและผู้สนับสนุน 2 - 3 คน
                -ฝ่ายค้าน  ประกอบด้วย หัวหน้าและผู้สนับสนุน 2 - 3 คน

         2.3   กรรมการตัดสิน  มักจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจในกระบวนการโต้วาทีและเชื่อถือได้  กรรมการมีหน้าที่ให้คะแนน ปกติมักมีจำนวนเป็นคี่ ประมาณ 3-5 คน  ในการโต้วาทีที่ไม่เป็นทางการ เพื่อความสนุกสนานหรือเชื่อมความสามัคคี มักให้ผู้ดำเนินการขอเสียงปรบมือจากผู้ฟัง โดยตัดสินจาก

    ประเด็นในการโต้
    เหตุผล
    การหักล้าง
    วาทศิลป์
    มารยาท คือท่าทาง เนื้อหาที่พูด การใช้ถ้อยคำ และการตรงต่อเวลา
    ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นน้ำเสียง วิธีพูด และท่าทาง

     3. ผู้ฟัง ควรรู้จักพิจารณาถ้อยคำที่โต้ ตอนใดผู้โต้วาทีพูดดีเป็นที่ประทับใจควรปรบมือให้

จัดทำโดย ครูภาวณี สุคนธชาติ
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Coopy (c) 2008 Mrs.Pawanee sukontachat. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com