ท่องเที่ยวเมืองจันท์

 

Homeเรื่องราวผู้จัดทำท่องเที่ยวเมืองจันท์เพลงพื้นบ้านการละเล่นพื้นบ้านประเพณีชักพระบาท
ระบำทอเสื่อ 
ระบำควนคราบุรี 
ระบำเก็บพริกไทย 

นาฏกเมืองจันท์

สภาพทั่วไปของจังหวัดจันทบุร                

ที่ตั้ง  ขนาด  และอาณาเขต

           จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวัน    ออกเฉียงใต้  245  กิโลเมตร          อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่  12 – 13  องศาเหนือ  และเส้นแวงที่  101 – 102  องศาตะวันออก  มีพื้นที่ทั้งหมด  6,338  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  3,961,250  ไร่  โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ  มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชลบุรี  ฉะเชิงเทรา  และสระแก้ว
  • ทิศใต้  ติดต่อกับอ่าวไทย
  • ทิศตะวันออก  มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดตราด  และประเทศกัมพูชา
  • ทิศตะวันตก  มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชลบุรี  และระยอง

อาชีพ

        ชาวจันทบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำบ่อพลอยและเกษตรกรรม  ทำสวนผลไม้  สวนยางพารา  ทำนา  ประมง  คิดเป็นร้อยละ  80  ของประชากรทั้งจังหวัด  ประกอบอาชีพธุรกิจภาคเอกชนร้อยละ  14  และรับราชการร้อยละ  6  รายได้ของประชากร  /  หัว  /  ปี  53,978  บาท  (สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี  ปี 2546)

ภาษา

        “  จันท์ฮิ  ” เป็นคำที่คนภาคอื่นมักนำมาใช้ล้อเลียนชาวจันทบุรี  เพราะประโยคที่เป็นคำถาม  หรือ      คำตอบของชาวจันท์มักจะต้องมี  “   ฮิ  ”  ลงท้ายอยู่เสมอ  แต่เมื่อถูกล้อเลียนเข้ามากๆ  คนจันท์รุ่นใหม่ก็เลิกพูดฮิกันไปบ้างแล้ว  (ปาริชาติ   เรืองวิเศษ. 2538 : 117.)

        ภาษาพูดของชาวจันทบุรีจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทยตะวันออก  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็คล้ายคลึงกับ   ภาษาไทยกลาง  จะต่างกันบ้างก็ตรงวิธีการออกเสียง  ซึ่งฟังดูหนักแน่น  จริงจัง  และมีศัพท์บางคำที่ใช้กันเฉพาะในท้องถิ่น  สำเนียงพูดฟังเข้าใจได้ไม่ยากนัก  แต่การเลียนเสียงให้เหมือนไม่ใช่ของง่าย     เพราะการออกเสียงสูงต่ำหลายคำแตกต่างไปจากสำเนียงกรุงเทพฯ  เช่น  คำตายที่สะกดด้วยแม่กกและกด  ที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง  หรืออักษรสูง  เช่น  บก  จบ  หรือ  ขด  ทางกรุงเทพฯจะออกเสียงเอก  สำเนียงจันทบุรีจะออกเป็นเสียงสามัญ  ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ  เช่น  ครก  ทางกรุงเทพฯ  ออกเสียงตรี  แต่คนท้องถิ่นจะออกเสียงโทเป็นต้น  (ปาริชาติ   เรืองวิเศษ. 2538 : 117 - 119.)

        นอกจากนี้สำเนียงในท้องถิ่นต่างๆ  ยังมีระดับเสียงต่างกันอีก  เช่น  สำเนียงท่าใหม่  สำเนียงขลุง  สำเนียงแหลมสิงห์  และกลุ่มหมู่บ้านตะกาดเง้า  บางกะไชย  ชำห้าน  จะออกสำเนียงคล้ายคลึงกับสำเนียงทางภาคใต้

  

จัดทำโดยครูหยาดพิรุณ  พวงสุวรรณ์
โรงเรียนบุญสมวิทยา  จันทบุรี
copyright(c)2006Ms.Yatphirun Phuangsuwan.all rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.