กำลังไฟฟ้า

 

Homeผู้จัดทำสอบก่อนเรียนเครื่องใช้ให้พลังงานความร้อนเครื่องใช้ให้พลังงานกลเครื่องใช้พลังงานเสียง เครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างพลังงานหลายรูปสอบหลังเรียน

 

กำลังไฟฟ้า 

              กำลังไฟฟ้า(Electric Power)

              บนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดจะมีตัวเลขกำกับไว้เสมอ เกี่ยวกับกำลังไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ เช่น หม้อหุงข้าว ขนาด "220 V 800 W"  200 V หมายถึง หม้อหุงข้าวใบนี้ใช้กับไฟที่มีความต่างศักย์ 220 โวลต์  ส่วน 800 W หมายถึง ค่าพลังงานที่หม้อหุงข้าวนี้ใช้ใน เวลา 1 วินาที หรือ เรียกว่ากำลังไฟฟ้า  ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไปในเวลา 1 วินาที  เช่น เตารีด 1,000 วัตต์ คือ  เมื่อใช้เตารีดนี้จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 1,000 จูลต่อวินาที หรือวัตต์
             กำลังไฟฟ้า จะมีค่าขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยกำลังไฟฟ้ามีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างความต่างศักย์กับกระแสไฟฟ้า เขียนสมการได้ดังนี้
                                          P    =        VI
           เมื่อกำหนดให้    P    แทน กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์
                                   V    แทน ความต่างศักย์ที่ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์
                                    I    แทนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นแอมแปร์    

           พลังงานไฟฟ้า(จูล)        =         กำลังไฟฟ้า(วัตต์)      X    เวลา(วินาที)      

             เมื่อกำหนดให้    P    แทน กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์
                                      W  แทน พลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็นจูล 
                                       t    แทน เวลา มีหน่วยเป็น วินาที

          หรือ                 W       =      P  X t 

          ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงๆ ถ้าใช้เป็นเวลานานจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก  ซึ่งในการคิดค่าพลังงนไฟฟ้าจะคิดเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าจูล คือกิโลวัตต์ และคิเวลาเวลาเป็นชั่วโมง ดังนั้น หน่วยของพลังงานไฟฟ้าจึงเป็น กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ หน่วย หรือยูนิต  ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

            พลังงานไฟฟ้า(หน่วย)   =    กำลังไฟฟ้า(กิโลวัตต์)    X    เวลา (ชั่วโมง)

        พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านอ่านได้จากเครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้าที่เรียกว่า มาตรไฟฟ้า ซึ่งวัดพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือหน่วย มาตรไฟฟ้ามีหลายขนาดกำหนดตามปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ผ่านมาตรไฟฟ้า

 

   

จัดทำโดยครูสุดารัตน์  ณัฎฐ์มีบุญ
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เขตทวีวัฒนา กทม.

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail : webmaster@thaigoodview.com
ICQ : 82032264

Copyright (c) 2004.Mrs.Sudarat Natmebun.com. All rights reserved