History

 

HomeAbout Usว่าด้วยประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์ไทยประวัติศาสตร์สากลบทความที่น่าสนใจ

  

การเลิกไพร่และทาส 
การจัดการศึกษา* 
การเมืองการปกครอง* 
สภาพเศรษฐกิจ* 

 

การจัดระเบียบสังคมไทย

        สมัยอยุธยา การจัดลำดับชั้นในสังคมชัดเจนขึ้น โดยจัดลำดับชั้นตาม "ระบบศักดินา"

  • ศักดินาเป็นเครื่องกำหนดฐานะของคนในสังคม หรือ การแบ่งลำดับชนชั้นในสังคม
  • เป็นเครื่องกำหนดจำนวนไพร่พลที่สังกัดมูลนาย หรือ ความพยายามควบคุมกำลังคนให้รวมเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกในการเกณฑ์แรงงานไปใช้ประโยชน์
  • กำหนดบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของคนในสังคมมากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่ง บรรดาศักดิ์และราชทินนามโดยถือกฎหมายที่ประกาศใช้ในสมัยพระบรม
    ไตรโลกนาถ คือ "พระไอยการตำแหน่งพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งทหารหัวเมือง" เพื่อให้ระบบศักดินารัดกุมและมั่นคงขึ้น กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้
    ทุกคนมีศักดินาเพื่อกำหนดหน้าที่ที่มีต่อรัฐตามชาติกำเนิด ศักดินาจึงครอบคลุมถึงระบบการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการจัดระเบียบคนในสังคม
  • เป็นสิ่งกำหนดการลงโทษความผิดทางกฎหมาย เรียกว่า การปรับไหม หรือ กำหนดการใช้เครื่องยศของชนชั้นสูง
  • ศักดิจึงครอบคลุมทั้งระบบการปกครอง เศรษฐกิจ การจัดระเบียบของคนในสังคมและวัฒนธรรม
     

การควบคุมกำลังคนเช่นนี้ ทำให้สังคมอยู่ได้เพราะมีลักษณะ 2 ประการ คือ

1. ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์
2. อิทธิพลจากพระพุทธศาสนา

การเลื่อนฐานะของคนในสังคม

1. บวช
2. ทำความดีความชอบทางราชการ
3. ทาสสามารถไถ่ตนเองได้ 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

จัดทำโดย
นางสาว ชนันดา ปานเนตร นางสาว วิภาดา สุทธิโรจน์
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
copyright(c) 2006 Ms.Chananda Pannate Ms.Wipada Sutthiroj. All rights reserved.