ตำนานการเห่เรือ

 

Homeประวัติผู้จัดทำ..ผู้แต่งประเพณีการเห่เรือตำนานการเห่เรือเนื้อเรื่องลักษณะพิเศษการพิจารณาคุณค่าลักษณะการแต่งความรู้ประกอบชื่อเรือและชื่อสัตว์ในเรื่องความรู้ที่ได้จากเรื่อง

 

 

 ตำนานการเห่เรือ

     นับแต่โบราณกาลมานอกจากการเสด็จพระราชดำเนิน “ทางบก” ที่เรียกว่า “พยุหยาตราสถลมารค” แล้ว การเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือ “พยุหยาตราชลมารค” นับเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญยิ่งเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่อยู่คู่กับการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมาช้านานก็คือ “การเห่เรือ”
     หลายคนให้คำจำกัดความของ “การเห่เรือ” ไว้ว่า คือการร้องเพลงเพื่อเป็นจังหวะในการพาย และช่วยสร้างความเพลิดเพลินในการพายเรือ
     แท้จริงแล้ว การเห่เรือของไทย เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไร และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึง “ตำนานการเห่เรือ” ว่ามีมูลเหตุมาแต่การใช้เรือเป็นพาหนะ โดยมีฝีพายจำนวนมาก จึงต้องอาศัยเสียงเห่เรือเป็นสัญญาณในการพายให้เกิดความพร้อมเพรียงกันการเห่เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือที่เรียกว่า การเห่เรือหลวง
    ทรงสันนิษฐานว่า ... มีต้นกำเนิดขึ้นโดยพวกพราหมณ์จากอินเดีย และบทเห่ที่ใช้ในกระบวนเรือหลวงก็สันนิษฐานว่า เป็นคำสวดของพราหมณ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4จึงนำบทเห่เรือเล่นมาใช้ในการเห่เรือหลวง ซึ่งมีลักษณะบทประพันธ์เป็นบทร้อยกรอง ที่ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บทนำ กับมีบทร้อยกรอง เป็นกาพย์ยานี และเป็นบทพรรณนาตามอีกหลายบท
    สำหรับ “การเห่เรือเล่น” เป็นการเล่นอย่างหนึ่งในฤดูน้ำหลาก เช่นเดียวกับ เพลงเรือและดอกสร้อยสักวา ซึ่งมีบทเห่เป็นกลอนสดที่มีเนื้อความสนุกสนาน ส่วน “บทเห่เรือ” หรือ “กาพย์เห่เรือ” ที่ใช้สำหรับการเห่ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคนั้น ถือกันว่าเป็นศาสตร์แห่งภูมิปัญญาทางภาษาของไทยอย่างหนึ่ง และเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของกระบวนพยุหยาตราชลมารค ที่ได้รับสืบทอดเป็นมรดกอันสำคัญควบคู่กันมาแต่โบราณ
    ทั้งนี้ “กาพย์เห่เรือ” ที่ไพเราะซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้รับการยกย่องให้เป็นเอกแห่งกาพย์เห่เรือ คือ กาพย์เห่เรือ ชมกระบวนพยุหยาตราชลมารค พระนิพนธ์ใน เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือ “เจ้าฟ้ากุ้ง” พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีกาพย์เห่เรือซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในทั่วไป คือ กาพย์เห่เรือ ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นต้น

 

จัดทำโดย
นางสาวอุสุมา สิริอิทธิวงศ์
นางสาววนิดา แซ่ซื้อ
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย  กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2006 MissUsuma  Siriit-tiwong and MissVanida Sae-sue. All rights reseved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com