ของตกแต่ง

    

Homeคณะผู้จัดทำอาหารของตกแต่งท่องเที่ยว ๔ ภาคประเพณีไทย ๔ ภาคการละเล่นไทย
เครื่องจักรสาน 
การลงยา 
ลงรักปิดทอง 
พวงหรีด, ตุ๊กตาชาววัง 
เครื่องเคลือบ 
ครกหิน 
เครื่องปั้นดินเผา 
ศิลาดล 
เครื่องเบญจรงค์ 

  

                  

    นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว มาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและประโยชน์ใช้สอย  จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาจนปัจจุบัน     กรรมวิธีดังกล่าว ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า   หัตถกรรม   อันหมายถึง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ  เครื่องมือ  ภูมิปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้สอย โดยรวมความงาม เน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ ประณีตงดงามเป็นความละเอียดอ่อนในทางศิลปะ เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า   หัตถกรรมศิลป์ เครื่องจักสานถือได้ว่าเป็นแขนงหนึ่งในงานหัตถกรรมและหัตถกรรมศิลป์  ที่ได้ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์มานานนับพันปีเช่นเดียวกัน จนปัจจุบันเครื่องจักสานก็ยังคงทำหน้าที่ไม่น้อยกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา พร้อมกับการพัฒนาวิธีการผลิต รูปแบบและการตลาด จนสามารถกระจายแพร่หลายอย่างทั่วถึงทั้งในและต่างประเทศ จนสามารถเป็นสินค้าออกที่เชิดหน้าชูตาได้ดีประเภทหนึ่ง เช่นการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์  การนำเอาเสื่อจันทบูร มาตัดเย็บเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นของชำร่วย จนถึงของใช้ เช่นกระเป๋าถือ และแฟ้มใส่เอกสาร รวมถึงงานที่ประณีตด้วยฝีมือ อย่างย่านลิเภา

     ลักษณะของเครื่องจักสานแต่ละประเภทนั้น มักจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนแต่ละท้องถิ่นเป้นสำคัญ ฉะนั้นจึงมีความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย รูปร่าง ลวดลาย และวัสดุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้เครื่องจักสานพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

จัดทำโดย
นางสาวอุษา เอื้อจิตราเจริญ
นางสาวณัฎฐา พลพละวัฒน์
นางสาวมยุรี สวนประเสริฐ
นางสาววรพร แสนจันดี
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพฯ
Copyright(c) 2006 Usa Aujittracharoen Natta Ponparawat Mayuree Suanprasert Woraporn Sanjandee All rights reserved

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com