ขอต้อนรับเข้าสู่ บทเรียน เรื่อง โครงสร้างอะตอม สาระวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  Learn / แบบจำลองอะตอมบบกลุ่มหมอก  / หน้า 1                                                              
 

                                                                         แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

         แบบจำลองอะตอมของโบร์ใช้ได้ดีกับอะตอมที่มีอิเล็กตรอนน้อยๆ คือไฮโดรเจนเท่านั้น แต่เมื่อนำไปใข้กับอะตอมของธาตุอื่นๆ ที่มีอิเล็กตรอนหลายตัว ปรากฎว่าไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงมีการแก้ไขแบบจำลองอะตอมอีก เพื่ออธิบายผลการทดอลงใหม่ๆได้
         จากการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานภายในอะตอมอย่างละเอียด ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอิเล็กตรอนไม่ได้เคลื่อที่เป็นวงๆดังที่โบร์เสนอไว้ โดยเฉพาะเมื่อมีการศึกษาระดับพลังงานย่อยทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบๆนิวเคลียสมีหลายแบบ และมีพลังงานต่างๆกัน อาจเป็นทรงกลมหรือรูปอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่ว่าอิเล็กตรอนนั้นจัอยู่ในระดับพลังงานใด ทำให้แบบจำลองอะตอมเปลี่ยนแปลงไป
         นักวิทยาศาสตร์พบว่าเนื่องจากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆนิวเคลียส ได้หลายอย่าง แล้วแต่ระดับพลังงานจึงทำให้ดูเหมือนว่าอิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่อย่างรวด เร็วนั้น มีการเคลื่อนที่ไปทั่วอะตอมตลอดเวลาไม่ได้เคลื่อนที่อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่อิเล็กตรอนไม่ได้ แต่โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณต่างๆของอะตอมจะมีได้ไม่เท่ากันคือ อิเล็กตรอนมีโอกาสจะอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งมากกว่าบริเวณอื่นๆ บางแห่งของอะตอมมีโอกาสพบอิเล็กตรอนมาก แต่บางแห่งมีโอกาสพบอิเล็กตรอนน้อย จากการศึกษาพบว่าส่วนที่มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนมากกว่าที่อื่นหรือส่วน ที่มีโอกาสพบอิเล็กตรอนมากกว่าที่อื่น ได้แก่บริเวณใกล้ๆนิวเคลียส และโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในระยะห่างออกไปจะค่อยๆน้อยลง ทำให้เกิดมโนภาพเกี่ยวกับอะตอมเป็นแบบกลุ่มหมอก คือบริเวณรอบๆนิวเคลียสจะมีลักษณะเป็นทรงกลมที่ประกอบด้วยกลุ่มหมอก อิเล็กตรอน ใกล้ๆนิวเคลียสกลุ่มหมอกจะทึบและห่างจากนิวเคลียสออกไปกลุ่มหมอกจะจางลง นั้นคือบริเวณที่กลุ่มหมอกทึบมีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนมากกว่าบริเวณที่ กลุ่มหมอกจาง
            ดังนั้นแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกจึงประกอบด้วยนิวเคลียสซึ่ง อยู่ตรงกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบๆนิวเคลียสทั่วทั้งอะตอม  โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ไม่แน่นอน ทำให้โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณต่างๆของอะตอมมีได้ไม่เท่ากัน บริเวณที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีโอกาสพบอิเล็กตรอนมากกว่าบริเวณที่อยู่ห่าง ออกไป

รูป แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.