สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Media)  
 

เมื่อพูดถึงตัวกลางนำข้อมูลในระบบเครือข่าย ก็อาจเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial, UTP, คลื่นวิทยุแบบที่ใช้กับ Wireless LAN หรือแม้แต่ Fiber Optic ซึ่งใช้ในระบบ LAN ไปจนถึงเครือข่ายสื่อสารระยะไกล เช่น เครือข่ายโทรศัพท์, ระบบ ISD, เครือข่าย Packet Switching ของผู้ให้บริการโดยเฉพาะอย่างเช่น การสื่อสารฯ เป็นต้น

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือเรียกกันว่าแบนด์วิดท์ (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวนบิตข้อมูลต่อวินาที (bit per second : bps)

 แบนด์วิดท์ (Bandwidth)คือแถบความถี่ของช่องสัญญาณ ซึ่งหากมีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้ภายในหน่วยเวลาจะสามารถเคลื่อนย้ายปริมาณข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลนั้น แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
1.) สื่อกลางประเภทมีสาย
2.) สื่อกลางประเภทไร้สาย

 
อ้างอิง
http://www.student.chula.ac.th/~49438788/index.html
http://it.benchama.ac.th/ebook/files/menu/ls7.htm
http://www.phusang.ac.th/elearning/html.file/teacher/occu/learnonline/p7.htm
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=10&gblog=14
http://61.19.202.164/resource/ebook/bm-it4/l07.htm
http://home.kku.ac.th/regis/student/Network%20System/Page6.html
http://comschool.site40.net/data2.htm
 
ไปบนสุด