3. การจับเสียงและเข้าจังหวะ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

3.1 นึกเสียงที่จะร้องในใจ หมายถึงระดับเสียง เสียงสระ ความดังเบา

3.2 หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เตรียมพร้อมที่จะเปล่งเสียงออกมา

3.3 ริมฝีปาก แก้ม และขากรรไกรปล่อยตามสบาย

3.4 ลิ้นไม่กระดกหรือเกร็ง ปล่อยตามสบาย ให้ปลายลิ้นแตะกับฐานฟันล่างเล็กน้อย

3.5 การส่งลม การปรับหลอดเสียง การบังคับปากและการร้องจะเกิดขึ้นวินาทีเดียวกัน

                4. คุณภาพของเสียง ขึ้นอยู่กับหลอดเสียง กล่องเสียง ลำคอ กระพุ้งปาก ลิ้นและศรีษะ เมื่อสูดอากาศออก อากาศจะผ่านหลอดเสียงทำให้หลอดเสียงสั่นเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงก็จะผ่านลำคอและปาก ดังนั้นทั้งในปากและในศรีษะจะทำหน้าที่เป็นช่องขยายเสียง

                ในขณะที่ร้องเพลงจะรู้สึกเสียงพุ่งไปข้างหน้า และมี “จุด” ที่เสียงรวมกันอยู่ที่หนึ่งที่ใดบนใบหน้า พยายามให้ “จุด” นี้ อยู่ที่แถวฟันเหนือปลายลิ้น ไม่ควรให้ “จุด” นี้อยู่ในลำคอหรือโคนลิ้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแถวนั้นเกร็งและเสียงที่ออกมาจะไม่น่าฟัง การร้องเพลงควรคิดถึงบรรยากาศที่สวยงามเบิกบานใจ อย่าเกร็งคอหรือหน้า อย่าเกร็งลิ้นหรือกระดกลิ้นขึ้นเพราะจะไปบังลำคอ ทำให้เสียงที่ออกมาเกร็ง ฟังไม่ชัดและไม่ไพเราะ คือเสียงไม่มีคุณภาพนั่นเอง

                5. การออกเสียงของสระและพยัญชนะ ในการร้องเพลงผู้ร้องต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสอง คือการออกเสียงสระและพยัญชนะ ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดจะร้องเพลงไม่ได้ดีถึงแม้จะมีเสียงไพเราะก็ตาม