พื้นฐานการร้องเพลง

                พื้นฐานการร้องเพลง

การวอร์มเสียง   

                การวอร์มเสียงที่ถูกต้อง เพื่อให้เส้นเสียงได้วอร์มก่อนที่จะร้องเพลงเหมือนนักกีฬาได้อุ่นเครื่องเบา ๆ ก่อนที่จะออกวิ่งจริงทำให้กล้ามเนื้อไม่ฉีกขาดหรือถูกกระชากอย่างรุนแรง

 

  การหายใจ   

                การหายใจและการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้อง ทำให้สามารถร้องเพลงยากๆ ได้สบายขึ้น ช่วยลดความเพื้ยนและสามารถใช้เสียงได้สูงขึ้น ร้องเพลงได้ไม่เหนื่อยรู้สึกสนุกกับการร้องเพลงได้นานขึ้นสามารถ ถ่ายทอดอารมณ์เพลงออกมาได้เต็มที

 

  เสียงเพี้ยน   

                แก้ไขเสียงเพี้ยน  บางคนร้องเพลงเพี้ยนต่ำนิด ๆ เสียงสูงผิดหน่อย ๆ ฟังผ่านๆ จะไม่รู้ว่าเพี้ยน แต่จะรู้สึกว่าเพลงที่ร้องอยู่นี้ไม่ค่อยเพราะ ฟังไปนานๆ จะรู้สึกหงุดหงิด ได้เราจะต้องแก้ไขจุดบอกพร่องเหล่านี้เสีย เพราะถ้าฟังนานๆ จะพาลให้คนที่ฟังร้องเพี้ยนตามไปด้วย

 

จังหวะ   

                ร้องไม่คร่อม หรือเร่งจังหวะ บางคนร้องเพลงไม่เพี้ยนเลยแต่ร้องเพลงไม่ลงจังหวะ คร่อมหรือเร่งจังหวะ ก็ทำให้ลดความไพเราะลดลงไปได้เช่นกัน ถ้าร้องเพลงให้ตรงจังหวะแต่เพี้ยนนิดหน่อยยังน่าฟังกว่าร้องตรงโน๊ตแต่คร่อมจังหวะ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรจะทั้งลงจังหวะและไม่เพี้ยนด้วยจึงจะทำให้ฟังแล้วไพเราะรื่นหู ไม่ใช่ฟังไปสะดุ้งไป

 

  ความชัดเจน   

                ความชัดเจนของคำร้อง   ภาษาที่ชัดเจนฟังแล้วไม่สับสน สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน ประกอบกับท่วงทำนองของเพลง ทำให้การร้องที่ชัดเจนสามารถผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์เพลงตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่สร้างสรรค์เพลง

 

  ความดัง-เบา   

                ควบคุมการเปล่งเสียงดัง-เบา ทำให้สามารถร้องเพลงยากๆ ได้สบายขึ้น ช่วยลด ความเพื้ยนและสามารถใช้เสียงได้สูงขึ้น ร้องเพลงได้ไม่เหนื่อยรู้สึกสนุกกับการร้องเพลงได้นานขึ้นเพราะสามารถถ่ายทอดอารมณ์เพลงออกมาได้เต็มที่การใช้เทคนิคนี้จะช่วยให้เพลงมีมิติมากขึ้น ฟังแล้วไพเราะ และเคลิบเคลิ้มตามอารมณ์ของผู้ที่กำลังขับร้อง เรียกว่า "สื่อความหมายอารมณ์ของเพลงได้ดี" นั่นเอง